Page 23 - รายงานการสำรวจดินพื้นที่ดำเนินการบ้านแม่จว้าปันเจิง หมู่ที่ 7 ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ และบ้านใหม่นคร หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำน้ำแม่อิงเขตที่ 2 (หนองเล็งทราย) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำอิงตอนบน (รหัส 0204) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำโขง (รหัส 02)
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                     15





                  มากเขียนน้าหน้า และมีเครื่องหมาย “/” คั่น และต้องแสดงสัดส่วนของดินหรือที่ดินอื่นๆ ที่พบใน

                  ขอบเขตนั้นๆ ด้วย เช่น Li/Ws 60/40
                                3) หน่วยเชิงซ้อน (complexes) เป็นหน่วยแผนที่ที่ภายในขอบเขตนั้นๆ มีดินตั้งแต่ 2
                  ชนิดขึ้นไปหรือดินกับพื้นที่เบ็ดเตล็ด เช่นเดียวกับหน่วยสัมพันธ์ แม้ว่ามาตราส่วนของแผนที่จะใหญ่ขึ้น

                  (1:24,000 หรือมาตราส่วนใหญ่กว่า) ก็ยังไม่สามารถแยกของเขตของดินหรือพื้นที่เบ็ดเตล็ดเหล่านั้นออก
                  จากกันได้ อาจเนื่องจากการเกิดความซับซ้อนของพื้นที่ การให้ชื่อหน่วยแผนที่จะใช้ชื่อของดินหรือพื้นที่
                  เบ็ดเตล็ดทั้งหมดที่พบ โดยดินหรือพื้นที่เบ็ดเตล็ดที่มีเนื้อที่มากจะเขียนน้าหน้าและเรียงกันไปตามล้าดับ
                  โดยมีเครื่องหมาย “-” คั่น และต้องแสดงสัดส่วนของดินหรือที่ดินอื่นๆ ที่พบในขอบเขตนั้นๆ ด้วย เช่น
                  Li-Ws 70-30

                                4) หน่วยศักย์เสมอ (undifferentiated group) เป็นหน่วยแผนที่ที่ภายในขอบเขตนั้นๆ
                  มีดินตั้งแต่ 2  ชนิดขึ้นไป แต่ดินทั้งหมดนั้นไม่มีความแตกต่างในด้านของการน้าไปใช้ประโยชน์และการ
                  จัดการดิน จึงไม่มีความจ้าเป็นที่จะต้องแยกขอบเขตออกจากกัน การให้ชื่อหน่วยแผนที่ดินจะใช้ชื่อของ

                  ดินทั้งหมด โดยดินที่มีเนื้อที่มากจะเขียนน้าหน้าและเรียงกันไปตามล้าดับ โดยมีเครื่องหมาย “&”  คั่น
                  และต้องแสดงสัดส่วนของดินหรือที่ดินอื่นๆ ที่พบในขอบเขตนั้นๆ ด้วย เช่น Li&Ml 70&30
                             การเขียนหน่วยแผนที่ดิน (soil  map  units)  หมายถึง หน่วยหรือชื่อที่แสดงถึงลักษณะ
                  และสมบัติของขอบเขตที่แสดงในแผนที่

                                1) การเขียนและอธิบายหน่วยแผนที่ดิน จะเขียนด้วยสัญลักษณ์แทน ดังนี้

                                     ชื่อชุดดิน   -     เนื้อดินบน - ความลาดชัน
                                                        ความลึกของดิน, การกร่อนของดิน


                                     ตัวอย่างหน่วยแผนที่ดิน เช่น   Skt - clA  หรือ  Skt - clA/d ,E
                                                                                           5 0
                                                                       d , E
                                                                     5
                                                                         0

                                         อธิบายได้ คือ ชุดดินสุโขทัย มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียว ความลาดชัน
                  0-2 เปอร์เซ็นต์ ลึกมาก ไม่มีการกร่อน

                                         อย่างไรก็ตามประเภทดินอื่นๆ ก็สามารถน้ามาเขียนได้ หากเห็นว่ามีผลต่อ
                  การใช้ประโยชน์ที่ดินและการจัดการดิน แต่ไม่ใช้มากเกินไปและมีความหมายไม่ซับซ้อน
                                2) การเขียนและอธิบายหน่วยแผนที่กลุ่มชุดดิน
                                   สัญลักษณ์ : กลุ่มชุดดินหรือหน่วยรวมของกลุ่มชุดดิน, ความลาดชัน, สัดส่วนของ

                  เนื้อที่ ตัวอย่างแผนที่กลุ่มชุดดิน เช่น
                                   หน่วยแผนที่ 15 : กลุ่มชุดดินที่ 15 มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์
                                  หน่วยแผนที่ 55B : กลุ่มชุดดินที่ 55 มีความลาดชัน 2-5 เปอร์เซ็นต์
                                   หน่วยแผนที่ 47C/55C  :  หน่วยรวมของกลุ่มชุดดินที่ 47 มีความลาดชัน 5-12

                  เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มชุดดินที่ 55 มีความลาดชัน 5-12 เปอร์เซ็นต์ สัดส่วน 50:50
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28