Page 16 - รายงานการสำรวจดินพื้นที่ดำเนินการบ้านแม่จว้าปันเจิง หมู่ที่ 7 ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ และบ้านใหม่นคร หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำน้ำแม่อิงเขตที่ 2 (หนองเล็งทราย) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำอิงตอนบน (รหัส 0204) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำโขง (รหัส 02)
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                      8





                  แผนที่ที่ใช้ในการส้ารวจดินในสนามมีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:2,000  ถึง 1:10,000  แผนที่ดินที่พิมพ์

                  ออกเผยแพร่มีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:5,000  ถึง 1:10,000  หรือมาตราส่วนใหญ่กว่า ขึ้นอยู่กับขนาด
                  ของพื้นที่ที่ท้าการส้ารวจ ขอบเขตของดินจะเน้นการตรวจสอบดินในสนามให้มากขึ้น แต่จะอาศัย
                  ภาพถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียมช่วยในการเขียนขอบเขตดิน ระยะในการตรวจสอบสมบัติ

                  ของดินไม่ควรห่างกันเกิน 100 เมตรต่อ 1 จุดตรวจสอบดิน (3-10 ไร่/1 จุด)
                             การจ าแนกดิน (soil classification) หมายถึง การจัดดินเป็นกลุ่มหรือเป็นขั้นการจ้าแนก
                  อย่างมีระบบบนพื้นฐานลักษณะเฉพาะของดินนั้น การจัดดินเป็นกลุ่มแบบกว้างๆ จะใช้สมบัติเฉพาะ
                  ทั่วๆ ไป เมื่อแบ่งย่อยลงไปจะใช้สมบัติที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น (คณะกรรมการจัดท้าพจนานุกรม
                  ปฐพีวิทยา, 2551) ในโครงการนี้ใช้ระบบอนุกรมวิธานดินของ USDA (United States Department

                  of Agriculture) (Soil Survey Staff, 2014)
                             อนุกรมวิธานดิน (soil  taxonomy) ระบบการจ้าแนกดินของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา
                  ที่ใช้สมบัติของดินซึ่งเป็นลักษณะประจ้าตัวของดินเป็นพื้นฐานในการจ้าแนก มีเกณฑ์เชิงปริมาณที่

                  ตรวจสอบได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และให้ชื่อดินที่มีลักษณะเฉพาะ (คณะกรรมการจัดท้า
                  พจนานุกรมปฐพีวิทยา, 2551) ซึ่งเป็นระบบหนึ่งของการจ้าแนกดินที่มีความละเอียด และมีหลักการเชิง
                  วิทยาศาสตร์มากที่สุด และเป็นระบบที่นักวิทยาศาสตร์ทางดินในประเทศไทยใช้ในการจ้าแนกดิน (เอิบ, 2548)
                                อนุกรมวิธานดินเป็นระบบการจ้าแนกดินแบบหลายขั้น (multicategorical

                  classification system) และแบ่งกลุ่มของชั้นต่างๆ ออกเป็นขั้นสูงและขั้นต่้าตามกฎเกณฑ์ โดยในการ
                  จ้าแนกขั้นสูงนั้นจะใช้ข้อจ้ากัดเด่นที่ครอบคลุมลักษณะปลีกย่อยในชั้นของการจ้าแนกขั้นต่้าไว้อย่าง
                  ชัดเจน ขั้นการจ้าแนกทั้งหมดในระบบมีอยู่ 6 ขั้น โครงสร้างของระบบหรือความเกี่ยวข้องกันของขั้นการ
                  จ้าแนกจากขั้นสูงไปจนถึงขั้นต่้า คือ

                                  ขั้นของการจ้าแนกขั้นสูง (higher categories)
                                     อันดับ (order)
                                       อันดับย่อย (suborder)
                                         กลุ่มดินใหญ่ (great group)

                                           กลุ่มดินย่อย (subgroup)
                                   ขั้นของการจ้าแนกขั้นต่้า (lower categories)
                                     วงศ์ดิน (family)

                                       ชุดดิน (series)
                             กลุ่มชุดดิน (groups of soil series) เป็นหน่วยของแผนที่ดินที่กรมพัฒนาที่ดินพัฒนาขึ้นมา
                  โดยการรวมชุดดินที่มีลักษณะ สมบัติดินที่มีศักยภาพคล้ายคลึงกันในด้านที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและ
                  ให้ผลผลิตของพืชที่ปลูก เพื่อประโยชน์ในการให้ค้าแนะน้า การตรวจสอบลักษณะดิน  การใช้ที่ดินและ
                  การจัดการดินที่เหมาะสม โดยกลุ่มชุดดินแต่ละกลุ่มจะมีสมบัติดินที่เฉพาะ ตามปัจจัยการเกิดดินและ

                  การสร้างดิน ได้จัดจ้าแนกเป็น  62  กลุ่มชุดดิน โดยแบ่งตามสภาพที่พบออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 3  กลุ่ม
                  ได้แก่  กลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่น้้าขัง  กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนและกลุ่มชุดดินที่มีความลาดชันสูง
                  (ส้านักส้ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2548)
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21