Page 19 - รายงานการสำรวจดินพื้นที่ดำเนินการบ้านแม่จว้าปันเจิง หมู่ที่ 7 ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ และบ้านใหม่นคร หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำน้ำแม่อิงเขตที่ 2 (หนองเล็งทราย) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำอิงตอนบน (รหัส 0204) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำโขง (รหัส 02)
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                     11





                               2) ชิ้นส่วนเนื้อหยาบ (coarse fragments) ชิ้นส่วนที่มีขนาด 2 มิลลิเมตร หรือใหญ่กว่า

                  ที่ปะปนอยู่ในเนื้อดินตามชั้นดินต่างๆ และที่กระจัดกระจายบนผิวดิน ซึ่งจะกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช
                  ปริมาณความชื้น ธาตุอาหาร การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว และการใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรกล
                  พิจารณาได้ 2 ลักษณะ ดังนี้

                                 - ชิ้นส่วนหยาบที่อยู่ปะปนกับเนื้อดินภายในชั้นดิน ใช้พิจารณาร่วมกับเนื้อดินที่มีขนาด
                  เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร มีหน่วยเป็นร้อยละโดยปริมาตร โดยเป็นค้าคุณศัพท์ขยายเนื้อดิน แบ่งออกเป็น 5 ชั้น
                  (ตารางที่ 1)

                  ตารางที่ 1 ชั้นของก้อนกรวด เศษหินหรือลูกรัง

                                                                               ปริมาณก้อนกรวด
                                   ชื่อชั้น                  ตัวย่อ
                                                                             (ร้อยละโดยปริมาตร)

                  ไม่มีกรวด (non gravelly)                     -                     <5
                  ปนกรวดเล็กน้อย (slightly gravelly)           sg                  ≥5-<15
                  ปนกรวด (gravelly)                            g                  ≥15-<35

                  ปนกรวดมาก (very gravelly)                    vg                 ≥35-<60
                  ปนกรวดมากที่สุด (extremely gravelly)         xg                 ≥60-<90


                                 - ชิ้นส่วนเนื้อหยาบกระจัดกระจายบนผิวดิน โดยพิจารณาวัสดุที่มีขนาด 2-250 มิลลิเมตร
                  ได้แก่ ก้อนหินมนเล็ก (cobble) ก้อนหิน (stone) และก้อนหินมนใหญ่ (boulder) มีหน่วยวัดเป็นร้อยละ
                  ของพื้นที่ แบ่งออกเป็น 6 ชั้น (ตารางที่ 2)

                  ตารางที่ 2 การกระจายของชิ้นส่วนเนื้อหยาบบนผิวดิน

                                                                               ปริมาณชิ้นส่วนหยาบ
                                          ชื่อชั้น
                                                                                (ร้อยละของพื้นที่)

                  ก้อนหินหรือก้อนหินมนใหญ่กระจัดกระจายบนผิวดิน                     0.01-0.10
                  (stony : st หรือ boulder : by)
                  ก้อนหินหรือก้อนหินมนใหญ่กระจัดกระจายบนผิวดินมาก                  0.1-3.0

                  (very stony : vst หรือ very bouldery : vby)
                  ก้อนหินหรือก้อนหินมนใหญ่กระจัดกระจายบนผิวดินมากที่สุด            3.0-15.0
                  (extremely stony : xst หรือ extremely bouldery : xby)
                  หินดาดกระจัดกระจายบนผิวดิน                                       15-50
                  (rubbly : rb)

                  หินดาดกระจัดกระจายบนผิวดินมาก                                    50-90
                  (very rubbly : vrb)
                  พื้นที่ดาดหินหรือที่ดินที่เต็มไปด้วยก้อนหิน                      >90

                  (rubble land : RL)
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24