Page 22 - รายงานการสำรวจดินพื้นที่ดำเนินการบ้านแม่จว้าปันเจิง หมู่ที่ 7 ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ และบ้านใหม่นคร หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำน้ำแม่อิงเขตที่ 2 (หนองเล็งทราย) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำอิงตอนบน (รหัส 0204) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำโขง (รหัส 02)
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                     14





                                   - การระบายน้้ามากเกินไป (excessively drained : ex) น้้าเคลื่อนที่ออกจาก

                  ดินเร็วมาก มักไม่พบน้้าอิสระภายในดินหรือพบเฉพาะในระดับลึกมาก ดินมักมีเนื้อหยาบและมีการน้าน้้า
                  สูงมากหรือเป็นดินตื้นมาก
                                 (2) ค่าอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบส (base saturation)

                                   - ค่าอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบสสูง (high base saturation : hb) หมายถึง มีค่า
                  อัตราร้อยละความอิ่มตัวเบสมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 35
                                   - ค่าอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบสต่้า (low base saturation : lb) หมายถึง มีค่า
                  อัตราร้อยละความอิ่มตัวเบสน้อยกว่าร้อยละ 35
                                 (3) สภาพของดินตอนล่าง (substratum) เป็นชั้นของวัตถุต้นก้าเนิดดินและชั้นหิน

                  พื้นที่อยู่ตอนล่าง ใช้ในกรณีที่ชั้นตอนบนและชั้นตอนล่างมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในระดับการ
                  จ้าแนกดินตั้งแต่วงศ์ดิน (family) และชุดดิน (series) เช่น
                                   - ชั้นดินล่างที่เป็นดินเหนียว (clayey substratum : csub)

                                   - ชั้นดินล่างที่เป็นหินทราย (sandstone substratum : sssub)
                                 (4) สภาพพื้นที่หรือสภาพภูมิสัณฐานของดิน (physiography)  อาจน้ามาใช้เป็น
                  บรรทัดฐานในการแบ่งแยกหน่วยแผนที่ดินเดียวกันออกจากกันได้ เพื่อชี้ให้เห็นถึงสภาพภูมิประเทศหรือ
                  ลักษณะพื้นที่ที่แตกต่างไปจากสภาพพื้นที่ปกติ (typical physiography) ของดินนั้นๆ เช่น

                                   - ที่ดอน (high phase : hi)
                                   - ที่ต่้า (low phase : l)
                                   - คันนา (bunded phase : b)
                             หน่วยแผนที่ (map units) หน่วยหรือชื่อที่แสดงถึงลักษณะและสมบัติของขอบเขตที่แสดง

                  ในแผนที่ ซึ่งอาจแสดงลักษณะของดินหรือพื้นที่เบ็ดเตล็ด เป็นหน่วยเดี่ยวหรือปะปนกันก็ได้ โดยแบ่ง
                  ออกเป็น 4 ประเภท (ส้านักส้ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2551) ได้แก่
                                1) หน่วยเดี่ยว (consociations) เป็นหน่วยแผนที่ที่ประกอบด้วยหน่วยจ้าแนกดินเดี่ยว
                  หรือหน่วยพื้นที่เบ็ดเตล็ด (miscellaneous  areas)  เป็นส่วนใหญ่ โดยอย่างน้อยที่สุดจะต้องมีปริมาณ

                  เนื้อที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ปรากฏอยู่บนแผนที่ในแต่ละขอบเขตหน่วยปะปน (inclusions) ที่เหลือ
                  จะเป็นดินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันและมีศักยภาพในการใช้ประโยชน์เท่าเทียมกับหน่วยดินหลักหรือที่
                  เราเรียกว่าดินคล้ายคลึงกันหรือเหมือนกัน (similar soils) กรณีที่ได้รวมเอาดินที่ไม่คล้ายคลึงกันหรือไม่

                  เหมือนกัน (dissimilar soils) มาไว้ในหน่วยแผนที่ดังกล่าว ถ้าลักษณะที่แตกต่างกันนั้นเป็นข้อจ้ากัดใน
                  การใช้ประโยชน์ที่ดินจะต้องมีพื้นที่รวมกันไม่เกินร้อยละ 15 ของพื้นที่หน่วยดินหลัก หรือถ้าลักษณะที่
                  แตกต่างกันนั้นไม่เป็นข้อจ้ากัดในการใช้ประโยชน์ที่ดินจะต้องมีพื้นที่รวมไม่เกินร้อยละ 25 ของพื้นที่
                  หน่วยดินหลัก
                                2) หน่วยสัมพันธ์ (associations) เป็นหน่วยแผนที่ที่ภายในขอบเขตนั้นๆ มีดินตั้งแต่ 2

                  ชนิดขึ้นไปหรือดินกับพื้นที่เบ็ดเตล็ด ซึ่งจะเกิดควบคู่กันเสมอและมีความสัมพันธ์กันในทางสภาพพื้นที่
                  แต่เนื่องจากข้อจ้ากัดเรื่องของมาตราส่วนแผนที่จึงไม่สามารถแยกขอบเขตออกจากกันได้ โดยปกติจะ
                  ก้าหนดไว้ที่มาตราส่วน 1:24,000 หรือมาตราส่วนเล็กกว่า การให้ชื่อหน่วยแผนที่จะใช้ชื่อดินที่มีเนื้อที่
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27