Page 15 - รายงานการสำรวจดินพื้นที่ดำเนินการบ้านแม่จว้าปันเจิง หมู่ที่ 7 ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ และบ้านใหม่นคร หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำน้ำแม่อิงเขตที่ 2 (หนองเล็งทราย) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำอิงตอนบน (รหัส 0204) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำโขง (รหัส 02)
P. 15
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
7
สัณฐานวิทยา พืชพรรณและการใช้ประโยชน์ที่ดิน สภาพภูมิอากาศ ประกอบกับการตรวจสอบดินใน
สนามเป็นบางจุด โดยทั่วไปจะเป็นไปในแนวตัดขวางกับสภาพพื้นที่และธรณีวิทยา
2) การส้ารวจดินแบบหยาบ (reconnaissance survey) เป็นการส้ารวจดิน เพื่อใช้
ข้อมูลในการวางแผนระดับภาคหรือระดับประเทศ เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพของพื้นที่ในการพัฒนา และ
ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการศึกษาขั้นละเอียดต่อไป แผนที่ที่ใช้ในการส้ารวจดินในสนามมีมาตรา
ส่วนอยู่ระหว่าง 1:75,000 ถึง 1:200,000 แผนที่ดินที่พิมพ์ออกเผยแพร่มีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง
1:100,000 ถึง 1:500,000 ขอบเขตของดินอาศัยการแปลภาพถ่ายทางอากาศหรือภาพจากดาวเทียม
ประกอบกับการตรวจสอบดินในสนามในแนวตัดขวางกับสภาพพื้นที่และธรณีวิทยา โดยระยะและ
ปริมาณจุดที่ตรวจสอบดินจะมากกว่าการส้ารวจดินแบบหยาบมาก โดยก้าหนดไว้ประมาณ 12.5 ตาราง
กิโลเมตร ต่อ 1 จุดตรวจสอบดิน (8,000 ไร่/1 จุด)
3) การส้ารวจดินแบบค่อนข้างหยาบ (detailed reconnaissance survey) เป็น
การส้ารวจดินเพื่อใช้ข้อมูลในการวางแผนระดับจังหวัดหรือโครงการขนาดใหญ่ เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพ
ของพื้นที่ในการพัฒนาในเบื้องต้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการก้าหนดพื้นที่ที่จะพัฒนา หรือเพื่อศึกษาใน
รายละเอียดต่อไป แผนที่ที่ใช้ในการส้ารวจดินมีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:40,000 ถึง 1:100,000 แผนที่ดิน
ที่พิมพ์ออกเผยแพร่มีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:50,000 ถึง 1:100,000 ขอบเขตของดินอาศัยการแปล
ภาพถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม ประกอบกับการตรวจสอบดินในสนาม โดยระยะและ
ปริมาณจุดที่ตรวจสอบดินจะมากกว่าการส้ารวจดินแบบหยาบ โดยก้าหนดไว้ประมาณ 1-2 ตาราง
กิโลเมตร ต่อ 1 จุดตรวจสอบดิน (625-1,250 ไร่/1 จุด)
4) การส้ารวจดินแบบค่อนข้างละเอียด (semi-detailed survey) เป็นการส้ารวจ
ดินเพื่อใช้ข้อมูลในการวางแผนระดับอ้าเภอหรือโครงการขนาดกลาง เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพของพื้นที่
ในการพัฒนาและวางแนวทางการปฏิบัติงาน แผนที่ที่ใช้ในการส้ารวจดินมีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง
1:20,000 ถึง 1:50,000 แผนที่ดินที่พิมพ์ออกเผยแพร่มีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:25,000 ถึง 1:60,000
ขอบเขตของดินอาศัยการแปลภาพถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม ประกอบกับการตรวจสอบดิน
ในสนาม โดยระยะและปริมาณจุดที่ตรวจสอบดินจะมากกว่าการส้ารวจดินแบบค่อนข้างหยาบ โดยก้าหนด
ไว้ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร ต่อ 4-6 จุดตรวจสอบดิน (100-150 ไร่/1 จุด)
5) การส้ารวจดินแบบละเอียด (detailed survey) เป็นการส้ารวจดินในระดับไร่นา
หรือในพื้นที่โครงการขนาดเล็ก ที่ต้องการการพัฒนาอย่างประณีต สามารถจัดท้าแผนการจัดการที่ดินที่
สามารถน้าไปปฏิบัติจริงในพื้นที่ได้ ดังนั้นจ้าเป็นต้องมีการบันทึกข้อมูลที่ค่อนข้างละเอียดกว่าระดับการ
ส้ารวจดินที่ผ่านมา และมีการตรวจสอบขอบเขตของดินให้มีความถูกต้องมาก แผนที่ที่ใช้ในการส้ารวจ
ดินในสนามมีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:5,000 ถึง 1:30,000 แผนที่ดินที่พิมพ์ออกเผยแพร่มีมาตราส่วน
อยู่ระหว่าง 1:10,000 ถึง 1:30,000 หรือมาตราส่วนใหญ่กว่าขอบเขตของดินจะเน้นการตรวจสอบดินใน
สนามให้มากขึ้น แต่จะอาศัยรูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียมช่วยในการเขียนขอบเขตดิน ระยะ
ในการตรวจสอบสมบัติของดินไม่ควรห่างกันเกิน 250 เมตร ต่อ 1 จุดตรวจสอบดิน (50-80 ไร่/1 จุด)
6) การส้ารวจดินแบบละเอียดมาก (very detailed survey) เป็นการส้ารวจดินใน
พื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาวิจัย การท้าแปลงทดลองที่ต้องการข้อมูลที่มีความถูกต้องแม่นย้า และมีความ
ละเอียดเป็นพิเศษรวมถึงความถูกต้องของขอบเขตดิน และจ้าเป็นต้องมีการเก็บตัวอย่างดินวิเคราะห์ด้วย