Page 18 - รายงานการสำรวจดินพื้นที่ดำเนินการบ้านแม่จว้าปันเจิง หมู่ที่ 7 ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ และบ้านใหม่นคร หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำน้ำแม่อิงเขตที่ 2 (หนองเล็งทราย) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำอิงตอนบน (รหัส 0204) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำโขง (รหัส 02)
P. 18
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
10
- กลุ่มชุดดินที่เป็นดินตื้นถึงชั้นลูกรัง ก้อนกรวดหรือเศษหิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 45
- กลุ่มชุดดินที่เป็นดินตื้นถึงชั้นหินพื้น ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 51
- กลุ่มชุดดินที่เป็นดินลึกปานกลาง ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 50 และ 53
3) กลุ่มชุดดินที่มีความลาดชันสูง กลุ่มชุดดินที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์
ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 62
ชุดดิน (soil series) เป็นหน่วยในขั้นต่้าสุดของการจ้าแนกในระบบอนุกรมวิธานดิน
ซึ่งมีข้อจ้ากัด พิสัยของลักษณะและสมบัติต่างๆ ของดินสม่้าเสมอมากกว่าหน่วยในขั้นอนุกรมวิธานที่สูง
กว่าในการจ้าแนก ชุดดินอาศัยลักษณะต่างๆ เช่น ความหนาของชั้นดิน การจัดเรียงของชั้นดิน
โครงสร้างดิน สีดิน เนื้อดิน ปฏิกิริยาดิน การยึดตัวของดิน ปริมาณคาร์บอเนตและเกลือชนิดต่างๆ ฮิวมัส
เศษหิน องค์ประกอบของแร่ในดิน วัตถุต้นก้าเนิดดิน ชุดดินเป็นหน่วยแผนที่ดินที่ใช้แพร่หลายมาก
โดยเฉพาะในแผนที่แบบละเอียด ซึ่งส้าคัญมากที่ช่วยในการถ่ายทอดข้อมูลดินและงานวิจัยจากที่หนึ่งไป
ยังอีกที่หนึ่ง การให้ชื่อชุดดิน ใช้ชื่อสถานที่พบครั้งแรก เช่น ชื่อต้าบล อ้าเภอ จังหวัด หรือชื่อของบริเวณ
ที่มีลักษณะเด่นเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย (คณะกรรมการจัดท้าพจนานุกรมปฐพีวิทยา, 2551)
ดินคล้าย (soil variant) เป็นหน่วยแผนที่ดินที่มีลักษณะเดียวกับหน่วยดินเดี่ยว แต่มี
ลักษณะแตกต่างจากชุดดินที่เคยก้าหนดไว้แล้ว มีลักษณะเด่นชัดพอที่จะก้าหนดเป็นชุดดินใหม่ได้ตาม
ระบบการจ้าแนกดิน แต่เนื้อที่ที่พบจากการส้ารวจยังน้อยกว่า 8 ตารางกิโลเมตร จึงแยกเป็นดินอีก
หน่วยหนึ่งโดยให้ชื่อชุดดินที่มีลักษณะใกล้เคียงมากที่สุดแล้วก้ากับด้วยลักษณะที่แตกต่างกับดินที่ให้ชื่อ
(คณะกรรมการจัดท้าพจนานุกรมปฐพีวิทยา, 2551)
ประเภทดิน (soil phase) เป็นลักษณะและสมบัติของดิน หรือสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อ
การใช้ประโยชน์ที่ดินและการจัดการดิน จะใช้ประกอบเพิ่มเติมจากหน่วยจ้าแนกดินระดับต่างๆ ที่ใช้เป็น
หน่วยแผนที่ดิน เพื่อแสดงรายละเอียดและให้มีความหมายมากขึ้นกว่าหน่วยจ้าแนกดิน โดยเฉพาะการ
ส้ารวจดินระดับค่อนข้างละเอียดถึงละเอียดมาก เพื่อการวางแผนในระดับโครงการระดับไร่นาจนถึงการ
ศึกษาวิจัย หน่วยแผนที่ดินและข้อมูลดินจ้าเป็นต้องมีรายละเอียดมากพอที่จะสามารถบ่งบอกถึงสภาพ
ปัญหาของดินในพื้นที่ และแนวทางการจัดการดินที่สามารถน้าไปปฏิบัติได้ (ส้านักส้ารวจดินและวางแผน
การใช้ที่ดิน, 2551) ชนิดของประเภทดินที่พบและคาดว่าจะพบในประเทศไทย ได้แก่
1) เนื้อดินบน (surface texture) เนื้อดินตอนบนที่มีขนาดเล็กกว่า 2 มิลลิเมตร เฉลี่ยตั้งแต่
ผิวดินจนถึงความลึก 25 เซนติเมตร หรือถึงแนวสัมผัสแข็งหรือกึ่งแข็งถ้าตื้นกว่าดินตอนบนมีความส้าคัญ
ต่อการเจริญเติบโตของรากพืช โดยทั่วไปมีความเหมาะสมส้าหรับพืชทั้งกายภาพ เคมีและชีวภาพ
มากกว่าดินในชั้นอื่นๆ เป็นแหล่งสะสมธาตุอาหาร น้้าและสิ่งมีชีวิตในดิน แบ่งออกเป็น 12 ชั้น ได้แก่ ดินทราย
(s : sand) ดินทรายปนดินร่วน (ls : loamy sand) ดินร่วนปนทราย (sl : sandy loam) ดินทรายแป้ง (si : silt)
ดินร่วนปนทรายแป้ง (sil : silt loam) ดินร่วน (l : loam) ดินร่วนเหนียวปนทราย (scl : sandy clay loam)
ดินร่วนปนดินเหนียว (cl : clay loam) ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง (sicl : slity clay loam) ดินเหนียว
ปนทรายแป้ง (sic : silty clay) ดินเหนียวปนทราย (sc : sandy clay) และดินเหนียว (c : clay)