Page 13 - รายงานการสำรวจดินพื้นที่ดำเนินการบ้านแม่จว้าปันเจิง หมู่ที่ 7 ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ และบ้านใหม่นคร หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำน้ำแม่อิงเขตที่ 2 (หนองเล็งทราย) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำอิงตอนบน (รหัส 0204) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำโขง (รหัส 02)
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                      5





                           3.2 การพัฒนาที่ดิน


                             การพัฒนาที่ดิน (land  development)  หมายถึง  การกระท้าใดๆ ต่อดินหรือที่ดินเพื่อ
                  เพิ่มประสิทธิภาพของดินหรือที่ดินหรือเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้สูงขึ้น และหมายความรวมถึง
                  การปรับปรุงบ้ารุงดินหรือที่ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติหรือขาดความอุดมสมบูรณ์เพราะ
                  การใช้ประโยชน์ และการอนุรักษ์ดินและน้้า เพื่อรักษาดุลธรรมชาติหรือเพื่อเพิ่มความเหมาะสมในการใช้
                  ประโยชน์ที่ดินในทางเกษตรกรรม (กรมพัฒนาที่ดิน, 2554; คณะที่ปรึกษากรมพัฒนาที่ดิน, 2556)

                             เขตพัฒนาที่ดิน (zone of land development) หมายถึง พื้นที่ลุ่มน้้าย่อยๆ ที่ได้รับการ
                  คัดเลือกให้พัฒนา โดยการบูรณาการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องของกรมพัฒนาที่ดิน เช่น การส้ารวจและ
                  วางแผนการใช้ที่ดิน การจัดท้าระบบอนุรักษ์ดินและน้้า การปรับปรุงบ้ารุงดิน และฟื้นฟูดินที่มีปัญหาทาง

                  การเกษตร มุ่งหวังให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ตลอดจนเป็นพื้นที่สาธิตการ
                  พัฒนาที่ดินอย่างเป็นระบบ (ส้านักนิเทศและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน, 2551)

                           3.3 พื้นที่สูง

                             พื้นที่สูง (highland) นักวิชาการได้ให้ค้าจ้ากัดความไว้หลายประการ คือ
                             พื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ หรือมีความสูงกว่าระดับทะเลปานกลาง
                  500 เมตรขึ้นไป ประกอบด้วย พื้นที่ที่แวดล้อมด้วยภูเขา และมีสภาพภูมิประเทศสูงชันและสลับซับซ้อน

                  (ส้านักบริการวิชาการ, 2544)
                             ราชบัณฑิตสถาน  (2523) ให้ค้าจ้ากัดความไว้ว่า พื้นที่ที่มีระดับสูงขึ้นจากบริเวณรอบๆ
                  ตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไป เป็นบริเวณที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเป็นพื้นที่ลาดชัน
                  เชิงซ้อน (กองส้ารวจดิน,  2529)  แต่จากรายงานผลการสัมมนาการเกษตรภาคเหนือ (กระทรวงเกษตร

                  และสหกรณ์, 2524)  ได้ก้าหนดให้พื้นที่สูงเป็นพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 700 เมตรขึ้นไป
                  เนื่องจากมีลักษณะเด่นของพื้นที่ คือ
                                   1) สภาพพื้นที่ที่สูงจากระดับทะเลปานกลางตั้งแต่ 700 เมตร โดยระดับความสูงนี้
                  เป็นจุดที่ผิวหน้าภูมิประเทศที่มีลักษณะโค้งเว้า (concave) จากอิทธิพลการกร่อนโดยน้้าเริ่มเปลี่ยนเป็น

                  โค้งนูน (convex)
                                   2) พื้นที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ แทบทั้งสิ้น
                                   3) ดินมีความชื้นเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากอิทธิพลของฝนและความชื้นของดินตอนบน

                                   4) ดินมีพัฒนาการค่อนข้างสูง
                             วิชา (2530) ได้ก้าหนดว่าพื้นที่สูง เริ่มจากความสูงจากระดับทะเลปานกลางประมาณ 800
                  เมตรขึ้นไป โดยให้เหตุผลดังนี้
                                   1) ลักษณะของดินมีพัฒนาการค่อนข้างสูง
                                   2)  พื้นที่มีความลาดชันสูงมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ และเปลี่ยนจากโค้งเว้าเป็น

                  โค้งนูน
                                   3) เริ่มมีการแสดงถึงความแตกต่างอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติของข้อมูลลักษณะทาง
                  อากาศที่ส้าคัญ เช่น ปริมาณฝนที่ตกเพิ่มขึ้น ความชื้นสัมพัทธ์ที่สูงขึ้น อุณหภูมิของอากาศที่ลดต่้าลง

                  ความเร็วลมที่มากขึ้น และการระเหยน้้าที่ลดลงจากพื้นที่ที่ต่้ากว่า
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18