Page 51 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 51

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             9-7





                              3)   การนําข้อมูลแผนที่เขตเหมาะสมของที่ดินสําหรับการผลิตพืชเศรษฐกิจไปสู่การปฏิบัตินั้น
                      คณะทํางานฯ ของกระทรวงฯจะได้เตรียมไว้ให้เป็นแผนที่ระดับอําเภอ ซึ่งจะสอดคล้องกับศูนย์เรียนรู้ ที่มีอยู่

                      อําเภอละ 1 ศูนย์ และโดยทั่ว ๆ ไปในแต่ละอําเภอจะมีพืชเศรษฐกิจที่สําคัญอยู่อําเภอละ 3-4 ชนิด โดยหนึ่ง
                      ชนิดพืชก็จะมี 1 แผนที่ เช่น แผนที่เขตความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกมันสําปะหลัง อําเภอ

                      A จังหวัด B ในแผนที่นี้จะมีหน่วยแผนที่ 4 หน่วย คือ
                               (1) บริเวณที่มีความเหมาะสมสูง

                               (2) บริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง

                               (3) บริเวณที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย และ
                               (4) บริเวณที่ไม่มีความเหมาะสม

                                 การพิจารณารูปแบบที่เพื่อจะส่งเสริมพัฒนาการผลิตพืช แต่ละชนิดนั้น มีดังนี้
                              1)  กรณีมีการผลิตสินค้าชนิดนั้นๆอยู่ในเขตเหมาะสมอยู่แล้ว ให้ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพ

                      การผลิต โดยการให้องค์ความรู้ ข้อมูลด้านการผลิตทางการเกษตรและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเพิ่ม
                      ประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต การดําเนินงานเรื่องพันธุ์ดี การจัดทําเขตปลอดโรค การค้นหา

                      ผู้ประสบความสําเร็จในการทําอาชีพการเกษตรแต่ละด้านในมิติประสิทธิภาพ การผลิต ผลตอบแทน
                      และผลผลิตต่อไร่ เพื่อเป็นแปลงต้นแบบที่ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์จริงของเกษตรกร

                      ใกล้เคียง รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกรเรียนรู้จากแปลงต้นแบบ เพื่อพัฒนาการผลิต
                      ให้ได้มาตรฐาน GPA เป็นต้น

                              2)  กรณีมีการผลิตสินค้าชนิดอื่นๆ อยู่ในเขตเหมาะสมน้อยหรือไม่เหมาะสม ให้ปรับเปลี่ยน

                      มาผลิตสินค้าเกษตรที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า โดยจูงใจให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนชนิดสินค้าด้วยความสมัครใจ
                      โดยส่งเสริมแนะนําข้อมูลวิชาการที่ได้วิเคราะห์มาแล้ว และเสนอเป็นทางเลือกการผลิตสินค้าที่แสดง
                      โอกาสที่เกษตรกรได้รับรายได้ที่เพิ่มขึ้น และความเป็นไปได้ในการปรับเปลี่ยนมาเป็นการผลิตที่ได้

                      ผลตอบแทนสูงกว่าและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด อาทิ การปลูกพืชเศรษฐกิจที่ตลาดมี

                      ความต้องการสูง เช่น อ้อย ไม้ผล พืชผัก หรือพืชสมุนไพร ตลอดจนพืชพลังงาน รวมทั้งการทําปศุสัตว์
                      ได้แก่ โคเนื้อ สุกร ไก่เนื้อ ไก่ไข่ และการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า ได้แก่ ปลานิล และปลานํ้าจืด รวมถึงการ

                      ปรับเปลี่ยนการทําการผลิตแบบเกษตรผสมผสานเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และลดผลกระทบจาก
                      การเปิดการค้าเสรี รวมทั้งการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร เนื่องจากการขับเคลื่อนเขตเหมาะสม

                      ของที่ดิน (Zoning) ภาคเกษตรให้ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรทั้งหมดนั้น ไม่อาจจะกระทําได้ในระยะสั้น
                      แต่อย่างไรก็ตามในระยะแรกนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความประสงค์จะให้นําข้อมูลเขตเหมาะสม

                      ของที่ดิน (Zoning) นี้ ไปปฏิบัติให้ได้ผลจริงในตําบล ที่มีศูนย์เรียนรู้เพื่อพัฒนาการเกษตรก่อน แล้วค่อยขยาย
                      ผลไปสู่ตําบลอื่นๆ ในระยะต่อไป ดังนั้นคณะทํางานเขตเหมาะสมของที่ดิน (Zoning)  ของจังหวัด
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56