Page 47 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 47
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
9-3
การแข่งขันของสินค้าเกษตรในด้านราคาและคุณภาพจากประเทศที่มีศักยภาพ เช่น ประเทศจีน
ประเทศอินเดีย และประเทศกัมพูชา มีความรุนแรงขึ้น ความสมดุลของการผลิตพืชอาหารและพืชพลังงาน
ต้องเป็นเรื่องที่ต้องคํานึงถึง
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงข้างต้น ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตร แนวทางการดําเนินงาน
เพื่อลดผลกระทบ จึงควรมุ่งเน้นในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต ซึ่งต้อง
มีการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้การกําหนดเขตเหมาะสมของที่ดิน
สําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือหรือกลไกในการขับเคลื่อน
9.2 การขับเคลื่อนเขตเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจไปสู่การปฏิบัติ
9.2.1 ปัจจัยสู่ความสําเร็จ
1) ต้องตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ของประเทศ หรือวาระแห่งชาติ ซึ่งเป็น
การดําเนินงานเชิงนโยบาย ยุทธศาสตร์ ทั้งตามนโยบายสําคัญของรัฐบาล หรือภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาล
โครงการภายใต้แผนบริหารราชการแผ่นดินที่รัฐบาลกําหนดให้เป็นโครงการสําคัญ (Flagship project)
2) ต้องเป็นการบูรณาการเชิงพื้นที่ เน้นการบูรณาการงานที่เกี่ยวข้องกันจากทุกภาคส่วน
ในทุกระดับพื้นที่อย่างเป็นระบบ ควรเป็นการดําเนินงานแบบเบ็ดเสร็จในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ต้องระดมสรรพ
กําลังและทรัพยากรด้านต่างๆ เข้ามาร่วมดําเนินการ โดยต้องใช้ความสามารถในการบริหารงานและ
การประสานงาน รวมทั้งวางแผนการพัฒนาอย่างเบ็ดเสร็จ โดยคํานึงถึงศักยภาพของพื้นที่
สภาพแวดล้อม สถานการณ์ และความต้องการของเกษตรกรที่แตกต่างในแต่ละพื้นที่
3) การดําเนินงานต้องให้ความสําคัญและคํานึงถึงหลักอุปสงค์ต่อสินค้าเกษตร หรือ
ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดสินค้าเกษตร
4) การขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติต้องมีความชัดเจนของแผน ระบบการบริหารจัดการแผน
ขั้นตอน กลไกหรือเครื่องมือการดําเนินงานเพื่อนําไปสู่การปฏิบัติ ต้องมีการรับรู้ เข้าใจ ตระหนักและ
ให้ความสําคัญและความรับผิดชอบร่วมกันของทุกภาคส่วนหรือทุกระดับพื้นที่ที่ร่วมดําเนินงาน
9.2.2 การขับเคลื่อนเขตเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจไปสู่การปฏิบัติ
การขับเคลื่อนเขตเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจไปสู่การปฏิบัติทุกระดับพื้นที่
ควรให้จังหวัดเป็นผู้ขับเคลื่อนดําเนินงาน และมุ่งดําเนินการอย่างเป็นระบบ ครบวงจร ดังนี้
1) การสร้างความรู้ ความเข้าใจให้ทุกภาคส่วนหรือทุกระดับพื้นที่ ตระหนักถึง
ความสําคัญ วัตถุประสงค์ เป้ าหมายการดําเนินการ ขั้นตอนการดําเนินงาน และพร้อมเข้าร่วมในการ
ผลักดันในการขับเคลื่อนเขตเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจไปสู่การปฏิบัติอย่างบูรณาการ