Page 56 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 56

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            9-12





                      ภายใต้การทํางานของคณะทํางานนโยบายของจังหวัดแบบเบ็ดเสร็จ Single Command ในระยะต่อไป
                      ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของเกษตรกรเอง โดยเฉพาะการปลูกข้าวเพื่อการบริโภคภายในครัวเรือน

                                 แนวทางการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากเกษตรกรประสงค์จะปรับเปลี่ยน
                      กิจกรรมไปเป็นเกษตรแบบผสมผสาน เช่น กรมพัฒนาที่ดินสนับสนุนบ่อนํ้าประจําไร่นา เมล็ดพันธุ์

                      พืชปุ๋ ยสด ปูนสําหรับปรับปฏิกิริยาดิน กรมวิชาการเกษตรสนับสนุน เมล็ดพันธุ์ดี ต้นไม้พันธุ์ดี วิธีการ
                      ผลิตในระบบ GPA  ตลอดจนการป้องกันโรคแมลง กรมส่งเสริมสหกรณ์สนับสนุนการรวมกลุ่มผลิต

                      รวมกลุ่มการจําหน่าย กรมส่งเสริมการเกษตร สนับสนุนการขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุน

                      ให้เข้าถึงแหล่งทุน เช่น ธกส. กรมชลประทานสนับสนุนระบบประทานในรูปแบบที่เหมาะสมในอนาคต เป็นต้น
                               (3) ศึกษาความรู้เสริมสําหรับการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา หรือทําเกษตรผสมผสาน

                                 คณะทํางานบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้
                      จัดเตรียมเอกสาร ความรู้เบื้องต้น สําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สําคัญ ที่ปลูกอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน ประกอบด้วย

                      การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ 6 ชนิด (กระบือ โคเนื้อ โคนม สุกร ไก่เนื้อ และไก่ไข่) การเลี้ยงปลานิล และวิธีการทําเกษตร
                      ผสมผสาน

                                 สําหรับเจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดิน การศึกษาคู่มือการพัฒนาที่ดินสําหรับหมอดิน
                      อาสาและเกษตรกรให้เข้าใจอย่างถ่องแท้และสามารถนําข้อมูลหรือหลักการเหล่านั้นไปพูดคุยสร้างความเข้าใจ

                      กับเกษตรกร ก็จะเกิดประโยชน์ยิ่งในทางปฏิบัติต่อไป
                               (4) การเตรียมข้อมูลการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อการประชุมคณะทํางาน

                                - ข้อมูลสําหรับการประชุมในระดับจังหวัด (ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) ควรเตรียมแผนที่

                      เขตความเหมาะสมของที่ดินสําหรับพืชเศรษฐกิจ ที่ให้เห็นภาพรวมของจังหวัด เพื่อสร้างความเข้าใจ
                      ว่าพืชชนิดนั้นๆ มีเขตความเหมาะสมกระจายตัวอยู่ทางส่วนใดของจังหวัด เขตใดไม่เหมาะสม พร้อมกับ
                      ตัวอย่างแผนที่เขตความเหมาะสมฯ ระดับอําเภอ และระดับตําบล ที่มีศูนย์เรียนรู้ฯ ศพก.ตั้งอยู่ไปด้วย

                      เพื่อให้เห็นว่าในศูนย์เรียนรู้ฯนั้นจะแสดงข้อมูลอะไรบ้าง การนําเสนอข้อมูลควรเตรียมในรูปสไลด์ไว้ด้วย

                                - ข้อมูลสําหรับการประชุมในศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า
                      เกษตร ควรเตรียมแผนที่เขตความเหมาะสมของที่ดินสําหรับพืชที่ปลูกมากในตําบลนั้น 3-4 ชนิด

                      พิมพ์ในมาตราส่วน 1/50,000 หรือ 1/25,000 ที่สามารถอ่านชื่อหมู่บ้าน วัด โรงเรียน ได้ เพื่อการอ้างอิง
                      ไปสู่พื้นที่ทําการเกษตรได้ง่ายขึ้น นอกจากแผนที่แล้วควรเตรียมคู่มือ หรือเอกสาร หรือแผ่นพับ ที่จัดทํา

                      แบบง่ายๆ สําหรับเกษตรกร ไปประกอบการอธิบายด้วย สถานีพัฒนาที่ดินใดที่มีตัวอย่างหน้าตัดดิน
                      จําลอง ของดินในตําบลนั้นไปประกอบด้วย ก็จะช่วยให้การสร้างความเข้าใจให้เกษตรกรได้ง่ายขึ้น
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60