Page 49 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 49
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
9-5
ประสิทธิภาพ ผลตอบแทน และผลผลิตต่อไร่ เพื่อเป็นแปลงต้นแบบที่ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้จากผู้มี
ประสบการณ์จริงของเกษตรกรใกล้เคียง รวมถึงการนําพาเกษตรกรเรียนรู้จากแปลงต้นแบบ การพัฒนา
การผลิตให้ได้มาตรฐาน GAP และเกษตรสีเขียว (Green Agriculture) ตลอดจนการจัดหาแหล่งเงินทุน
และสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า การทําประกันภัยพืชผลเกษตร ระบบโลจิสติกส์ การทําธุรกิจเกษตร เกษตรอุตสาหกรรม
การบริหารจัดการสินค้าเกษตร อาทิ ผลไม้ และเชื่อมโยงกับนโยบายรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง เช่น บัตร
เครดิต เกษตรกร ร้านจําหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ (Q Shop) เป็นต้น
9.2.3 การขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบันเรื่อง การบริหารจัดการพื้นที่
เกษตรกรรม (Zoning) สําหรับ ระดับนโยบาย
วัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม ก็เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้า
เกษตรตามความเหมาะสมของพื้นที่ให้เกิดความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ลดต้นทุนและเพิ่ม
ประสิทธิภาพการผลิต มีแนวคิดในการปฏิบัติ คือ ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรในพื้นที่ที่มีศักยภาพ
(S1 หรือ S2) และปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าเกษตรในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ในระหว่าง
ปีงบประมาณ 2559-2560 ดําเนินการนําร่องที่ศูนย์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเกษตร 882 ศูนย์ และบริเวณ
พื้นที่ส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ 76 แปลง
สําหรับแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายฯ การบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดิน
(Zoning) มีประเด็นหลักๆที่ผู้ดําเนินการควรทําความเข้าใจ ประกอบด้วย การเตรียมการเพื่อการ
ขับเคลื่อน การกําหนดแนวโน้มความต้องการสินค้าเกษตร การกําหนดเขตพื้นที่เหมาะสมการผลิตสินค้า
เกษตร การขับเคลื่อนและส่งเสริมในระดับพื้นที่ และการติดตามและประเมินผล เป็นต้น มีรายละเอียดดังนี้ คือ
1) การเตรียมการเพื่อการขับเคลื่อน
(1) การกําหนดโครงสร้างการทํางาน ในปัจจุบันกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้
ความสําคัญกับนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แบบเบ็ดเสร็จ (Single Command) สําหรับการบริหาร
จัดการพื้นที่เกษตรกรรมนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลัก คือ เกษตรจังหวัด พัฒนาที่ดินจังหวัด ประมง
จังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด เกษตร และสหกรณ์จังหวัด เป็นต้น ในจังหวัดอาจกําหนดเป็นคณะทํางานย่อย
เพื่อขับเคลื่อนเฉพาะเรื่องนี้ก็ได้ โดยให้พัฒนาที่ดินจังหวัดเป็นเลขานุการคณะทํางานย่อย
(2) การบริหารจัดการข้อมูลด้านการเกษตรของจังหวัด
- ข้อมูลที่จําเป็นในการขับเคลื่อนนโยบาย เขตเหมาะสมของที่ดิน (Zoning) มี 3 ด้าน คือ
พื้นที่ สินค้า และเกษตรกร โดยข้อมูลแต่ละด้านสามารถจําแนกได้ 2 ลักษณะ ตามการเคลื่อนไหวของข้อมูลคือ
- ข้อมูลพื้นฐานที่มักไม่เคลื่อนไหวในระยะเวลาอันสั้น เช่น ด้านกายภาพ ด้านขอบเขต
การปกครอง ด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ