Page 48 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 48
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
9-4
2) เชื่อมโยงเขตเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ เข้ากับนโยบาย ยุทธศาสตร์ของ
รัฐบาล แผนบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายสําคัญของรัฐบาล หรือภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาล
โครงการภายใต้แผนบริหารราชการแผ่นดินที่รัฐบาลกําหนดให้เป็นโครงการสําคัญ (Flagship project)
การขับเคลื่อนเขตเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจไปสู่การปฏิบัติ ต้องดําเนินการในหลาย
ระดับ ตั้งแต่ระดับนโยบาย แผนบริหารราชการแผ่นดิน แผนงานของหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง
(กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) แผนงานส่วนภูมิภาค อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อเชื่อมโยงนโยบาย
ยุทธศาสตร์ของรัฐบาล แผนบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายสําคัญของรัฐบาล หรือภารกิจเร่งด่วน
ของรัฐบาล
3) โครงการบริหารเขตเกษตรเศรษฐกิจสําหรับสินค้าเกษตรที่สําคัญ (Zoning)
ดําเนินการโดยนําเขตเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจไปขับเคลื่อนหรือดําเนินการ 3 เรื่องหลัก คือ
(1) จัดทําข้อมูลสารสนเทศด้านการเกษตรรายแปลงบนแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี
เพื่อสามารถบริหารจัดการสินค้าเกษตรระดับครัวเรือน โดยบูรณาการงานจัดทําฐานข้อมูลทะเบียน
เกษตรกร (พืช ประมง ปศุสัตว์) ให้เป็นข้อมูลเกษตรกรรายแปลงบนแผนที่ โดยการจัดทําแผนที่
ดังกล่าวจะครอบคลุมข้อมูลด้านเศรษฐกิจ เช่น โรงงาน ศูนย์รวบรวม/กระจายผลผลิต เป็นต้น เพื่อเป็นข้อมูล
สําหรับการพัฒนาการเกษตรแก่เกษตรกรรายครัวเรือนตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน รวมถึงการ
ดําเนินงานในระดับจังหวัด ตลอดจนเพื่อการบริหารจัดการในการช่วยเหลือเกษตรกรตามนโยบาย
รัฐบาลในกรณีต่างๆ ตลอดจนสํารวจและวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรดินในเขตเหมาะสมของที่ดินเพื่อ
ผลิตสินค้าเกษตรรายพืชใช้เป็นฐานข้อมูลทางด้านทรัพยากรดินสําหรับการประเมินศักยภาพของดิน
ในเขตการใช้ที่ดินเพื่อผลิตสินค้าเกษตรรายพืช รวมถึงปรับปรุงการกําหนดเขตเหมาะสมสําหรับการปลูกพืช
ให้เป็นปัจจุบัน
(2) ปรับรูปแบบการผลิตพืชในเขตเหมาะสมน้อยหรือไม่เหมาะสม มาเป็นการผลิต
ที่ได้ผลตอบแทนสูงสอดคล้องกับความต้องการของตลาด อาทิ การปลูกพืชเศรษฐกิจที่ตลาดมีความ
ต้องการสูง เช่น อ้อย ไม้ผล พืชผัก หรือ พืชสมุนไพร ตลอดจนพืชพลังงาน รวมทั้งการทําปศุสัตว์
ได้แก่ โคเนื้อ สุกร ไก่เนื้อ ไก่ไข่ และการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า ได้แก่ ปลานิล ปลานํ้าจืด รวมถึงการปรับเปลี่ยน
การทําการผลิตแบบเกษตรผสมผสานเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และลดผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรี
รวมทั้งการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร โดยให้ความสําคัญเป็นพิเศษกับพื้นที่แล้งซํ้าซาก และพื้นที่นํ้าท่วม
ซํ้าซาก ทั้งนี้ ต้องเป็นความสมัครใจของเกษตรกรผู้ผลิต
(3) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในเขตเหมาะสม โดยการให้องค์ความรู้ เช่น ข้อมูลด้านการผลิต
ทางการเกษตรและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต การส่งเสริมพืชพันธุ์ดี
การจัดทําเขตปลอดโรค การค้นหาผู้ประสบความสําเร็จในการทําอาชีพการเกษตรแต่ละด้านในมิติ