Page 50 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 50

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             9-6





                                - ข้อมูลที่มีความผันผวนเคลื่อนไหวอยู่เสมอ เช่น ปริมาณผลผลิต ราคาขายผลผลิต
                      ราคาตลาด และจุดรับซื้อ เป็นต้น

                                 เนื่องจากข้อมูลมีความจําเป็นในการตัดสินใจ ดังนั้น คณะกรรมการระดับจังหวัดควร
                      รวบรวมและตรวจสอบปรับปรุงข้อมูลให้มีความถูกต้องและทันสมัย

                               (3) การประสานเครือข่ายการดําเนินงานในพื้นที่ คณะทํางานเขตเหมาะสมของที่ดิน
                      (Zoning)  ของจังหวัด จะต้องประสานกับคณะทํางานศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาการเกษตร และคณะทํางาน

                      ส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และเครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่โดยเฉพาะในตําบลที่มีศูนย์เรียนรู้ฯและมี

                      พื้นที่ส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ตั้งอยู่ ประกอบด้วย แปลงใหญ่พืช แปลงใหญ่ประมง และแปลงใหญ่ปศุสัตว์
                               (4) การเตรียมการเกี่ยวกับช่องทางการสื่อสาร

                                 การสื่อสารให้ผู้ปฎิบัติเข้าใจ รับทราบข้อมูล และแนวทางปฏิบัติ เป็นสิ่งสําคัญ
                      คณะทํางานเขตเหมาะสมของที่ดิน Zoning  ควรเตรียมการเรื่องช่องทางการสื่อสารสร้างความเข้าใจในทาง

                      หลากหลายและเข้าถึงได้ง่าย เช่น จัดประชุมชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานในพื้นที่ การจัดทํา
                      คลิปวีดีโออธิบายวิธีปฏิบัติในพื้นที่ให้สามารถดูซํ้าได้หลายครั้ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่าย รวมทั้ง

                      สื่อสารทําความเข้าใจเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับ ในเบื้องต้น ต้องให้เจ้าหน้าที่มีความเข้าใจ
                      ที่ตรงกันและเห็นเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนา

                                 สําหรับช่องทางการสื่อสารถึงเกษตรกรที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น ประกอบด้วย
                      ช่องทางการสื่อสารผ่านบุคคล เช่น เกษตรตําบล กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครเกษตร หมอดินอาสา ผู้รวบรวม

                      สินค้าเกษตร และ นักเรียน เป็นต้น ช่องทางการสื่อสารผ่านองค์กร เช่น หน่วยงานของรัฐที่ทําการ

                      กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน สหกรณ์การเกษตร สถานศึกษา แหล่งกระจายสินค้า ร้านค้าชุมชน เป็นต้น และ
                      อุปกรณ์การสื่อสารต่างๆ เช่น หอกระจายข่าว วิทยุชุมชน รวมทั้งสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์ เป็นต้น
                                 2)  แนวทางการกําหนดปริมาณการผลิต

                                การกําหนดปริมาณการผลิตสินค้าเกษตร ซึ่งในระยะแรกนี้จะเน้นที่พืชเศรษฐกิจ 6 ชนิด

                      คือ อ้อยโรงงาน มันสําปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มนํ้ามัน ข้าว และยางพารา ในการกําหนดปริมาณการ
                      ผลิตในระดับประเทศนั้น จัดทําโดยหน่วยงานจากส่วนกลาง ซึ่งมีสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็น

                      หน่วยงานหลัก ซึ่งจากข้อมูลความต้องการสินค้าเกษตรในระดับประเทศนี้ จะถูกแปลงออกมาเป็น
                      ปริมาณพื้นที่ที่ควรส่งเสริมการผลิต โดยยึดหลักให้เลือกเขตพื้นที่ที่มีความเหมาะสม และที่เกษตรกรทําการ

                      ผลิตอยู่แล้วในปัจจุบัน และไม่อยู่ในเขตป่าไม้ตามกฎหมาย และจัดทําเป็นแผนที่ออกมาส่งให้คณะทํางาน
                      ระดับจังหวัดนําไปใช้เป็นแนวทางในการดําเนินการต่อไป สําหรับความต้องการสินค้าเกษตรในระดับ

                      จังหวัดนั้น ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาข้อมูลเพิ่มเติม และหากจังหวัดใดมีพืชพิเศษประจําถิ่นที่เกษตรกร
                      ผลิตและจําหน่ายได้ดีอยู่แล้ว ก็ควรคงพื้นที่เหล่านั้นไว้
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55