Page 46 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 46

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             9-2





                      ยังต้องพึ่งพาตลาดต่างประเทศ ซึ่งมีความผันผวน ผลิตภาพการผลิตยังอยู่ในระดับตํ่า ภาคการเกษตร
                      เริ่มประสบปัญหาเชิงโครงสร้าง คือ การขยายพื้นที่เพาะปลูกถึงจุดอิ่มตัว แรงงานภาคการเกษตรมีอายุ

                      สูงขึ้นและมีจํานวนลดลง ทักษะในการผลิตของเกษตรกรส่วนใหญ่ยังเป็นแบบดั้งเดิม
                              3)  ถึงแม้ประเทศไทยยังเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตร แต่ประสิทธิภาพของภาคการเกษตร

                      ตํ่า ได้รับผลกระทบจากฐานทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นฐานการผลิตเกิดความเสื่อมโทรม ระบบการผลิต
                      ภาคการเกษตรต้องพึ่งปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศ ทําให้มีต้นทุนสูง ขณะที่พื้นที่เกษตรกรรมมีจํากัด

                      และถูกใช้ไปเพื่อกิจกรรมอื่นมากขึ้น พื้นที่ชลประทานมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 22 ของพื้นที่ถือครอง

                      ทางการเกษตร และการถูกครอบครองพื้นที่เกษตรกรรม ส่งผลให้การใช้ประโยชน์ที่ดินและแรงงาน
                      ภาคการเกษตรมีแนวโน้มลดลง ส่วนการเชื่อมโยงผลผลิตทางการเกษตรกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่ม

                      มูลค่ายังอยู่ในวงจํากัดและล่าช้า
                              4)  ประชากรภาคการเกษตรเป็นกลุ่มคนที่ภาครัฐต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

                      เพราะนอกจากจะเป็นผู้ผลิตอาหารเลี้ยงคนทั้งประเทศแล้ว ยังเป็นกลุ่มคนที่มีฐานะความเป็นอยู่ด้อย
                      กว่ากลุ่มอื่นในสังคม ประชากรภาคการเกษตรมีแนวโน้มลดลง ผู้ที่อยู่ในวัยแรงงานมีการเคลื่อนย้าย

                      เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการมากขึ้น เนื่องจากอาชีพเกษตรกรเป็นการทํางานตามช่วงฤดูกาล
                      รายได้ไม่แน่นอน ขาดสวัสดิการและการคุ้มครองแรงงานที่มั่นคง

                              5)  ภาคการเกษตรมีความสําคัญต่อสังคมไทย การเกษตรเป็นวิถีชีวิต เป็นภาคการผลิตที่
                      สอดคล้องและเกื้อหนุนธรรมชาติ คือให้เกิดประโยชน์หลายด้าน เป็นแหล่งอาหารหลัก สินค้าส่งออก

                      วัตถุดิบ เป็นแหล่งรองรับผู้มีปัญหาการว่างงาน ภาคการเกษตรมีส่วนสําคัญในการลดปัญหาความ

                      ยากจน ช่วยสร้างงาน และเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก
                              6)  ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตทางการเกษตรมีแนวโน้มเสื่อมโทรมรุนแรง
                      จากการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านกายภาพ การใช้ประโยชน์ การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศของโลก

                      ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง มีการใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสมกับศักยภาพ

                      ทรัพยากรนํ้าขาดแคลน เกิดการแย่งชิงกันมากขึ้น
                              7)  นโยบายและมาตรการต่างๆ ของภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร เช่น การ

                      รับจํานําสินค้าเกษตร การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติ การแก้ไขผลผลิตทางการเกษตร
                      ล้นตลาด การแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ส่งผลให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาที่สูงขึ้น แต่

                      ในขณะเดียวกันต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่สาธารณะเพื่อ
                      ขยายพื้นที่เพาะปลูก

                              8)  ด้านสินค้าเกษตร ผู้บริโภคมีความต้องการและเรียกร้องมากขึ้น สินค้าเกษตรถูกกําหนด
                      คุณภาพและมาตรฐานด้านต่างๆ มากขึ้น สินค้าเกษตรถูกตรวจสอบ ควบคุม กีดกันด้วยวิธีการต่างๆ
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51