Page 53 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 53

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             9-9





                              2)  แนวคิดในการปฏิบัติ
                               (1) ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรในพื้นที่ที่มีศักยภาพ ( S1 หรือ S2 )

                               (2) และปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าเกษตรในพื้นที่ไม่เหมาะสม ( S3 หรือ N )
                              3)  เป้าหมาย

                                ในระหว่างปีงบประมาณ 2559-2560 นี้ ให้มีผลสําเร็จเบื้องต้นเกิดขึ้นที่ศูนย์การ
                      เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า 882 ศูนย์ และบริเวณพื้นที่ส่งเสริมการเกษตรแบบแปลง

                      ใหญ่ 76 แปลงมีเป้าหมายสอดคล้องกับระดับนโยบาย

                              4)  แนวทางการขับเคลื่อน
                                แนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมมี 5 มาตรการ เช่น

                      เดียวกับระดับนโยบาย แต่มีความแตกต่างในรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น ประกอบด้วย
                               (1) มาตรการ การเตรียมความพร้อมและประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้

                                 เป็นการเตรียมความพร้อมทางด้านข้อมูล ซึ่งได้แก่ ข้อมูลดิน ข้อมูลภูมิอากาศ
                      การใช้ที่ดินสําหรับปลูกพืชชนิดต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ข้อมูลการแหล่งรับซื้อเป็นต้น เตรียมความพร้อม

                      ของเจ้าหน้าที่ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้เข้าใจในหลักการแนะแนวทางปฏิบัติให้ตรงกัน
                      ประชาสัมพันธ์หรือสร้างการรับรู้ให้เกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายได้รับทราบ และเห็นประโยชน์หากได้ปฏิบัติตาม

                               (2) มาตรการ การกําหนดแนวโน้มความต้องการสินค้าเกษตร
                                 เป็นการกําหนดปริมาณการผลิตสินค้าเกษตร โดยวิเคราะห์จากข้อมูล การใช้ในประเทศ

                      การส่งออก การสํารองไว้ทําพันธุ์ ในระยะแรกนี้เน้นที่พืชเศรษฐกิจ 6 ชนิด คือ อ้อยโรงงาน มันสําปะหลัง

                      ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มนํ้ามัน ข้าว ยางพารา ซึ่งการกําหนดปริมาณการผลิตในระดับประเทศนั้น จะถูกแปลง
                      ออกมาเป็น จํานวนเป้าหมายพื้นที่ที่ควรกําหนด
                               (3) มาตรการ การกําหนดพื้นที่เหมาะสมการผลิตสินค้าเกษตร

                                 เป็นการกําหนดพื้นที่ปลูกให้ได้ปริมาณตามความต้องการของตลาด โดยยึดหลัก

                      ให้เลือกเขตพื้นที่ที่มีความเหมาะสม ไม่อยู่ในเขตป่าไม้ตามกฎหมาย และเป็นสินค้าเกษตรที่เกษตรกรทําการ
                      ผลิตอยู่ในปัจจุบัน เป็นหลักคิดสําคัญ โดยคณะทํางานฯของกระทรวงฯ จะได้เตรียมข้อมูลไว้ให้เป็น

                      แผนที่ระดับอําเภอ ซึ่งจะสอดคล้องกับศูนย์เรียนรู้ ที่มีอยู่อําเภอละ 1 ศูนย์เพื่อนําไปใช้ดําเนินการสู่การปฏิบัติต่อไป
                               (4) มาตรการ การขับเคลื่อนและส่งเสริมในระดับพื้นที่

                                 การขับเคลื่อนและส่งเสริมในระดับพื้นที่นั้น โดยพิจารณาแยกเป็น 2 กรณีดังนี้
                                - กรณีมีการผลิตสินค้าชนิดนั้นๆ อยู่ในเขตเหมาะสมอยู่แล้ว ให้ส่งเสริม การเพิ่ม

                      ประสิทธิภาพการผลิต โดยการให้องค์ความรู้ ข้อมูลด้านการผลิตทางการเกษตรและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
                      เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58