Page 55 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 55

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            9-11





                                - เตรียมแผนที่เขตความเหมาะสมของที่ดินสําหรับพืชเศรษฐกิจที่พบในตําบลนั้น
                      3-4 ชนิดพืช ประกอบด้วยแผนที่ขนาดเล็ก สําหรับประชุมในกลุ่มย่อยและแผนที่ขนาดใหญ่ สําหรับ

                      ประชุมในกลุ่มใหญ่
                                - ศึกษาแผนที่เขตความเหมาะสมของที่ดินในแต่ละชนิดพืช ว่าความเหมาะสมสูง

                      และเหมาะสมปานกลาง การกระจายตัวอยู่ในบริเวณใดหรือหมู่บ้านใด มีพื้นที่โดยทั่วไปจํานวนกี่ไร่ และในทาง
                      ตรงกันข้ามศึกษาว่าที่ดินมีความเหมาะสมเล็กน้อย หรือไม่เหมาะสม กระจายตัวอยู่ในบริเวณใดหรือ

                      หมู่บ้านใด มีพื้นที่รวมมากน้อยเพียงใด

                                 อนึ่งระดับความเหมาะสมของที่ดินสําหรับพืชชนิดใดนั้น ได้จําแนกออกเป็น 4 ระดับ
                      ด้วยกัน คือ

                                S1   ความเหมาะสมสูง     ไม่มีข้อจํากัด
                                S2   ความเหมาะสมปานกลาง  มีข้อจํากัดเล็กน้อย แก้ไขได้

                                S3   ความเหมาะสมเล็กน้อย   มีข้อจํากัดที่แก้ไขได้ยาก ต้องลงทุนสูง
                                N    ไม่เหมาะสม       มีข้อจํากัดที่แก้ไขไม่ได้ ต้องลงทุนสูงมาก

                                 ยกตัวอย่าง การปลูกข้าวนาปี ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทาง
                      การเกษตร ตําบลA อําเภอB จังหวัดC เมื่อเจ้าหน้าที่ดูแผนที่ เขตความเหมาะสมของที่ดินสําหรับการ

                      ปลูกข้าว จะพบว่ามีบริเวณที่เหมาะสมสูง และเหมาะสมปานกลาง สําหรับการปลูกข้าวและปัจจุบัน
                      เกษตรกรได้ปลูกข้าวทางตอนกลางของตําบล โดยมีเหมาะสมสูง 4,520 ไร่ มีชั้นความเหมาะสมปานกลาง

                      15,150 ไร่ มีชั้นความเหมาะสมเล็กน้อย 670 ไร่ และมีชั้นไม่เหมาะสม 1,120 ไร่ เป็นต้น

                                 ตัวอย่างการให้คําแนะนํา
                                 เมื่อศึกษาข้อมูลที่ได้จากแผนที่แล้ว แสดงว่าเกษตรกรในพื้นที่ตําบลA  ปลูกข้าว
                      อยู่ในเขตพื้นที่ที่เหมาะสมแล้ว (S1+S2)  ถึงร้อยละ 92 และปลูกในพื้นที่เหมาะสมเล็กน้อยหรือไม่

                      เหมาะสม (S3+N) ร้อยละ 8 โดยประมาณ ดังนั้น คําแนะนําสําหรับการปลูกข้าว คือ การลดต้นทุน ในพื้นที่

                      เหมาะสมสูง โดยการวิเคราะห์ดินก่อนใส่ปุ๋ ยเพื่อลดอัตราการใส่ปุ๋ ย เป็นต้น ส่วนบริเวณพื้นที่
                      เหมาะสมปานกลาง คําแนะนําสําหรับการปลูกข้าว คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น การปลูก

                      พืชปุ๋ ยสดแล้วไถกลบก่อนปลูกข้าวเพื่อเพิ่มปุ๋ ยอินทรีย์ลงดิน เป็นต้น หรือให้ดูจากข้อมูลดินเพิ่มเติมว่า
                      ข้อจํากัดด้านที่ดิน มาจากปัจจัยใด ก็แก้ไขข้อจํากัดนั้นก็ได้

                                 สําหรับบริเวณที่มีความเหมาะสมน้อยหรือไม่เหมาะสมนั้น ให้สื่อสารหรือถามเกษตรกร
                      ดูว่าใครทําการปลูกข้าวแล้วผลผลิตไม่ดี ไม่คุ้มทุน หรือผลผลิตเสียหายรุนแรงบ้าง หากมีให้ถามเกษตรกร

                      ต่อไปว่ายังพอใจจะปลูกข้าวต่อไป หรือต้องการเปลี่ยนแปลงไปปลูกพืชชนิดอื่น หรือทําการเกษตร
                      แบบผสมผสาน หากเกษตรกรสนใจจะปรับเปลี่ยน ก็ให้เป็นบุคคลเป้ าหมายที่จะดําเนินการสนับสนุน
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60