Page 45 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 45

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน







                                                           บทที่ 9

                           การขับเคลื่อนเขตเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจไปสู่การปฏิบัติ



                      9.1  สถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาการเกษตร

                            9.1.1 สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงระดับโลก
                              1)  ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 9,300 ล้านคนในปี 2050 โครงสร้างประชากรจะเปลี่ยนไป

                      สู่โครงสร้างที่มีผู้สูงอายุมากขึ้น โดยเฉพาะในทวีปเอเชีย โครงสร้างการผลิตทางการเกษตรเปลี่ยนจาก
                      การใช้แรงงาน ซึ่งทักษะในการผลิตส่วนใหญ่ยังเป็นแบบดั้งเดิม มาเป็นการใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยี

                      ทําให้ต้องพัฒนาคนควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยี
                              2)  การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศของโลก และความห่วงใยในเรื่องสิ่งแวดล้อม จะนําไป

                      สู่การเปลี่ยนรูปแบบการบริโภค ภาคการผลิตจําเป็นต้องปรับตัวและพัฒนาการผลิตให้มีประสิทธิภาพ
                      เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้บริโภค

                              3)  อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรง

                      และบ่อยครั้งจะส่งผลกระทบต่อระบบการผลิตทางการเกษตร การระบาดของศัตรูพืช ปศุสัตว์ และประมง
                      ซึ่งเป็นพื้นฐานสําคัญของความมั่นคงทางอาหาร

                              4)  ความมั่นคงทางอาหารและพลังงานมีแนวโน้มเป็นปัญหาที่สําคัญ โลกต้องผลิตอาหาร
                      และพลังงานให้เพียงพอกับการเพิ่มขึ้นของประชากร ความต้องการอาหาร สินค้าเกษตรและพืชพลังงาน

                      มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของประชากร และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่การผลิตพืช
                      อาหารและพืชพลังงานลดลงด้วยข้อจํากัดทางพื้นที่ และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะ

                      ภูมิอากาศของโลก
                            9.1.2 สถานการณ์ภายในประเทศ

                              1)  การเตรียมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นประเด็นสําคัญในระดับประเทศ และส่งผล
                      ต่อภาคการเกษตรทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ จึงต้องมีการเตรียมพร้อมทั้งด้านพัฒนาบุคลากร กระบวนการ

                      และกลไกทํางาน รวมทั้งการพัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปรับตัวได้

                              2)  โครงสร้างและการเติบโตของภาคการเกษตร มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
                      (GDP) ภาคการเกษตรมีการเติบโตในอัตราที่ตํ่ากว่าภาคอุตสาหกรรม และบริการ แต่ยังมีความสําคัญ

                      ต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากเป็นแหล่งรายได้หลักของประชากรส่วนใหญ่
                      และเป็นฐานในการสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคอุตสาหกรรม ปัจจุบัน การใช้ผลผลิตทางการเกษตรเป็น

                      วัตถุดิบด้านอาหาร พลังงาน มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนการค้าสินค้าเกษตรของประเทศไทย
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50