Page 41 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 41
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
บทที่ 8
กระบวนการกําหนดเขตเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ
8.1 ปัจจัย เงื่อนไขการกําหนดเขตเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ
8.1.1 ปัจจัย เงื่อนไขการกําหนดเขตเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ
ทรัพยากรที่ดิน เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญในการดํารงชีวิตของมนุษย์ ประเทศไทย
เป็นประเทศเกษตรกรรมที่ต้องใช้ที่ดินทําการเกษตร การเพิ่มขึ้นของประชากร ประกอบกับความ
ต้องการใช้ที่ดินเพื่อใช้ในกิจการต่างๆ เช่น การพัฒนาเมือง อุตสาหกรรม ปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้
ประโยชน์ทรัพยากรที่ดิน คือ การนําพื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมในการทําการเกษตรมาใช้
ในกิจการที่มิใช่การเกษตร การใช้ที่ดินที่ไม่มีศักยภาพหรือไม่มีความเหมาะสมต่อการทําการเกษตร
มาใช้ในการทําการเกษตร การใช้ทรัพยากรที่ดินที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทําให้เกษตรกรซึ่งเป็น
ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศต้องลงทุนสูง แต่กลับได้ผลผลิตตํ่า ทําให้เกษตรกรมีรายได้ตํ่าและยากจน
ทรัพยากรป่าไม้ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญเช่นเดียวกับทรัพยากรที่ดิน ทรัพยากร
ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่ต้องสงวน คุ้มครองและอนุรักษ์ไว้ในปริมาณที่เพียงพอกับประชาชนรุ่นหลัง
เพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์
ป่า เป็นแหล่งต้นนํ้าลําธารและทําหน้าที่ชะลอการไหลของนํ้า ป้ องกันการชะล้างพังทลายของดิน
สาเหตุสําคัญส่วนหนึ่งของการสูญเสียทรัพยากรป่าไม้ คือ การนําพื้นที่ป่าไม้ไปทําการเกษตร
ทรัพยากรนํ้า เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความจําเป็นต่อการเจริญเติบของพืช โดยเฉพาะปริมาณ
นํ้าฝนเฉลี่ยรวมตลอดปี ปริมาณนํ้าฝนในช่วงฤดูเพาะปลูก ซึ่งจะนํามาใช้ในการประเมินความเหมาะสมทาง
กายภาพของที่ดินต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจในขั้นตอนต่อไป
จากความสําคัญของทรัพยากรธรรมชาติทั้ง 3 ชนิด จึงกําหนดปัจจัย และเงื่อนไขการกําหนด
เขตเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจได้ดังนี้
1) เป็นหน่วยที่ดินที่มีความเหมาะสมทางกายภาพปานกลางถึงสูงต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดนั้นๆ
2) มีการปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดนั้นๆ อยู่ในปัจจุบัน
3) อยู่นอกเขตป่าไม้ตามกฎหมาย