Page 34 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 34

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             6-3





                               (1) รูปสหกรณ์การเช่าที่ดิน เป็นการจัดสรรที่ดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติ
                      ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ที่เสื่อมโทรมที่ราษฎรบุกรุกเข้าทํากินจนรัฐไม่สามารถฟื้นฟูให้คืนสภาพ

                      เป็นป่าดังเดิมได้
                               (2) รูปสหกรณ์การเช่าซื้อที่ดิน เป็นการจัดที่ดินในพื้นที่ที่รัฐจัดสรรงบประมาณให้

                      กรมส่งเสริมสหกรณ์นํามาดําเนินการจัดซื้อที่ดินและจัดสรรให้กับเกษตรกร เมื่อเกษตรกรผู้เช่าซื้อ
                      ที่ดินได้ดําเนินการชําระค่าที่ดินครบถ้วนแล้ว ราชการจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กับเกษตรกรผู้เช่าซื้อที่ดิน

                               (3) รูปนิคมสหกรณ์ เป็นการจัดที่ดินในที่ดินซึ่งรัฐจัดสรรให้กับราษฎรเพื่อทํา

                      การเกษตรตามระเบียบที่อธิบดีกําหนด ถ้าจะทําการอย่างอื่นด้วยต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีทั้งนี้
                      อธิบดีจะอนุญาตให้เข้าทําประโยชน์ในที่ดิน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เมื่อมีคุณสมบัติ ถูกต้องครบถ้วน

                      จะได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทําประโยชน์ (กสน.3) และเมื่อได้ปฏิบัติครบถ้วนตาม ระเบียบและ
                      เงื่อนไขต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกําหนดแล้ว จะได้รับหนังสือแสดงการทําประโยชน์ (กสน.5) สามารถ

                      นําไปเป็นหลักฐานในการขอออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินได้


                      6.2  นโยบายและยุทธศาสตร์

                            6.2.1 นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการกําหนดเขตเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ
                              1)  แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 มาตรา 84(8) รัฐต้องคุ้มครอง

                      และรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิตและการตลาด ส่งเสริมให้สินค้าเกษตรได้รับผลตอบแทนสูงสุด
                              2)  นโยบายรัฐบาล การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเกษตร เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือน

                      เกษตรกรให้เข้มแข็ง โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิต
                      ที่เป็นขั้นตอน โดยมีการวางแผนการผลิต และจําหน่ายล่วงหน้าที่แม่นยํา และประสานโครงสร้าง

                      พื้นฐานของทางราชการและเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                              3)  นโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                               (1) ปรับโครงสร้างเขตเกษตรเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาการผลิต โดยเพิ่ม

                      ประสิทธิภาพการผลิต เพื่อเพิ่มผลตอบแทนด้านการเกษตร ลดต้นทุนการผลิต โดยส่งเสริมการผลิตพืช
                      เศรษฐกิจสําคัญให้เหมาะสมกับพื้นที่ จัดทํายุทธศาสตร์การพัฒนาสินค้าเกษตรรายสินค้าในระยะยาว

                      โดยเน้นการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity)  เน้นลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริม พัฒนาการผลิตพืชพลังงาน
                      ทดแทน โดยการวางแผนการผลิตในภาพรวมให้มีความสมดุลระหว่างพืชอาหาร และพืชพลังงานทดแทน

                               (2) โครงการบริหารเขตเกษตรเศรษฐกิจสําหรับสินค้าเกษตรที่สําคัญ เป็นนโยบายสําคัญ
                      ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (Flagship Project) ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศ ด้านการสร้างความสามารถ
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39