Page 32 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน







                                                           บทที่ 6

                                    ความรู้ด้านกฎหมาย นโยบาย ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง



                      6.1  กฎหมาย

                            6.1.1 กฎหมายด้านป่ าไม้ที่สงวน และคุ้มครองพื้นที่อนุรักษ์
                                 ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต เป็นที่มาของปัจจัย 4

                      ของมนุษย์ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค  มีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งในการ
                      รักษาสมดุลของระบบนิเวศของโลก เป็นแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุทําให้

                      เกิดสภาวะเรือนกระจก เกิดภาวะโลกร้อน ส่งผลให้สภาพภูมิอากาศแปรปรวน ก่อให้เกิดภัยพิบัติทาง
                      ธรรมชาติบ่อยครั้งและทวีความรุนแรง สร้างความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตร การกําหนดเขต

                      เหมาะสมสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจเป็นการกําหนดเขตในพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งอยู่นอกเขตป่าไม้
                      ตามกฎหมาย  เป็นการช่วยอนุรักษ์ และป้องกันทรัพยากรป่าไม้ทางหนึ่ง

                                 เนื่องจากป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญยิ่งของชาติ ถูกบุกรุกและทําลายไปเป็น

                      จํานวนมาก อาจเป็นเหตุให้เกิดภัยพิบัติ เช่น ภัยแล้ง อุทกภัย ดินถล่ม ซึ่งส่งผลเสียหายต่อพื้นที่เกษตรกรรม
                      และเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลจึงตราพระราชบัญญัติเพื่อสงวน คุ้มครองทรัพยากรป่าไม้ ดังนี้ คือ

                              1)  พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา14 ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ห้าม
                      มิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทําประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทําไม้ เก็บ

                      หาของป่า หรือกระทําด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ
                              2)  พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มาตรา 16 ภายในเขตอุทยานแห่งชาติ

                      ห้ามมิให้ บุคคลใด (1) ยึดถือหรือครอบครองที่ดิน รวมตลอดถึงสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า (4) ทําด้วย
                      ประการใด ๆ ให้เป็นอันตรายหรือทําให้เสื่อมสภาพแก่ดิน หิน กรวด หรือทราย

                              3)  พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มาตรา 38 ในเขตรักษาพันธุ์

                      สัตว์ป่า ห้ามมิให้ผู้ใดยึดถือหรือครอบครองที่ดิน หรือปลูก หรือก่อสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือตัด โค่น
                      แผ้วถาง เผา หรือทําลายต้นไม้หรือพฤกษชาติอื่น หรือขุดหาแร่ ดิน หิน หรือเลี้ยงสัตว์ ปล่อยสัตว์

                      ล่าสัตว์ป่า ในกรณีเขตห้ามล่าสัตว์ป่า มาตรา 42 เมื่อมีการประกาศกําหนดเขตห้ามล่าสัตว์แล้ว ห้ามมิ
                      ให้ผู้ใดกระทําการดังต่อไปนี้ (3) ยึดถือครอบครองที่ดิน หรือตัด โค่น แผ้วถาง เผา ทําลายต้นไม้หรือ

                      พฤกษชาติอื่น หรือขุดหาแร่ ดิน หิน หรือเลี้ยงสัตว์ ปล่อยสัตว์ ล่าสัตว์ป่า
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37