Page 31 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 31
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
5-5
(1) ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจผลิตหรือไม่ผลิตและเพิ่ม/ลด ปริมาณการผลิต
(2) ใช้เป็นข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต/การแข่งขัน
(3) ใช้เป็นข้อมูลในการส่งเสริม/สนับสนุนการเพิ่มผลผลิตหรือลดต้นทุนการผลิต
2) วิธีการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจตามประเภทการผลิตพืช ดังนี้
(1) พืชอายุสั้น/เก็บเกี่ยวครั้งเดียว
- นําข้อมูลจากกลุ่มเศรษฐกิจที่ดิน มาจําแนกพื้นที่ตามระดับความเหมาะสมที่ปลูกพืช
ชนิดนั้นตามการจัดระดับความเหมาะสมทางกายภาพของดินที่ได้จัดทําไว้แล้ว โดยแบ่งพื้นที่เป็น 3 ระดับ คือ
พื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง (S1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และพื้นที่ที่มีความเหมาะสม
เล็กน้อย (S3) และดําเนินการจําแนกพื้นที่เป็นระดับประเทศและระดับภาค
- ดําเนินการวิเคราะห์ด้วยวิธีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C ratio)
(2) พืชล้มลุก
พืชล้มลุก เป็นพืชที่ปลูกแล้วเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง อาจถึง 2-3 ปี ได้แก่ อ้อยโรงงาน
และสับปะรดโรงงาน เป็นต้น
- นําข้อมูลต้นทุน รายได้และผลตอบแทนของพืชที่สํารวจได้แต่ละปีมาหาค่าเฉลี่ย
จากจํานวนปีที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นค่าเฉลี่ยต่อปี โดยต้นทุนปีที่ 1 ที่จ่ายไปเป็นค่าเตรียมดิน ค่าปลูก
และค่าพันธุ์ ถูกเฉลี่ยไปในทุกปีที่เก็บผลผลิต ต้นทุนรวมต่อไร่คิดจากค่าใช้จ่ายทุกประเภท ในแต่ละปี
แล้วเฉลี่ยด้วยจํานวนปี
- ดําเนินการวิเคราะห์ด้วยวิธีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C ratio)
(3) ไม้ยืนต้น/ไม้ผล
ไม้ยืนต้น/ไม้ผล เป็นพืชชนิดที่ปลูกครั้งเดียวแต่เก็บเกี่ยวได้นานหลายปี บางชนิด
มีอายุการเก็บเกี่ยวได้ 25-30 ปี ดังนี้
- นําข้อมูล มาวิเคราะห์ข้อมูลให้เป็นหน่วยเดียวกัน
- จําแนกช่วงอายุของไม้ผล/ไม้ยืนต้น โดยแบ่งเป็นช่วงก่อนให้ผล ช่วงให้ผล
จนถึงช่วงอายุขัยของพืช
- ดําเนินการวิเคราะห์ด้วยวิธีหามูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) และอื่นๆ
5.2.3 สรุปผลการวิเคราะห์
นําผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน ความคุ้มค่าจากการลงทุนและอัตราผลตอบแทนจาก
การลงทุนในการผลิตพืชเศรษฐกิจ โดยแยกเป็นระดับประเทศ และระดับภาค แบ่งพื้นที่การศึกษาเป็นพื้นที่ที่มี
ความเหมาะสมสูง (S1) ปานกลาง (S2) และเล็กน้อย (S3) วิเคราะห์เปรียบเทียบในระดับต่างๆ เป็นต้น นําเสนอ
ในรูปตาราง ร้อยละ ความถี่ แผนภาพและคําบรรยาย