Page 60 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 60

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         49


                         ในการปรับใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในระบบการเกษตรอย่างยั่งยืนนั้น

                  หลัก 3 ประการที่ต้องยึดถือ คือ
                         1. ความพอประมาณ  หมายถึง การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีอยู่เป็นทุนเดิมของตนเองหรือภายในท้องถิ่นให้

                  เกิดประโยชน์สูงสุดก่อนแสวงหาปุ๋ยอินทรีย์จากภายนอก  ซึ่งเป็นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างพอเหมาะ พอควร กับ

                  ระบบการเกษตร  ส่วนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต้องค่านึงถึงความจ่าเป็น  สถานะของตนเอง และสภาพแวดล้อม
                  ต่างๆ ว่าเหมาะสมหรือไม่  โดยค่านึงถึงปุ๋ยอินทรีย์ที่มีอยู่และจ่าเป็นต้องใช้ในการรักษาระดับความอุดม

                  สมบูรณ์ของดินและผลผลิตของพืช  เพื่อให้เพียงพอที่จะด่าเนินการให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่มากที่สุด  โดย
                  อาศัยความรู้ด้านความอุดมสมบูรณ์ของดินและพืชว่าต้องการธาตุอาหารของพืชที่ปลูก  เพื่อใช้ในการวางแผน

                  และตัดสินใจการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเหมาะสม เช่น ถ้าเกษตรกรต้องการปลูกผักจ่านวน 1  ไร่  จ่าเป็นต้องใช้
                  ปุ๋ยหมัก 4 ตันต่อไร่  โดยร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15 – 15 – 15 อัตรา 25 – 50 กิโลกรัมต่อไร่ (ส่านัก

                  เทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)  ดังนั้น ถ้าเกษตรกรมีปุ๋ยหมักเพียง 2 ตัน  จึงควรปลูกผักเพียง 0.5 ไร่  จึง

                  จะเกิดประโยชน์สูงสุด
                         2. ความมีเหตุผล หมายถึง ต้องมีความรู้เกี่ยวกับชนิดของปุ๋ยอินทรีย์ว่าชนิดไหนมีความเหมาะสมกับ

                  ระบบการเกษตรแบบไหน  เพื่อน่าไปใช้ในการการตัดสินใจด่าเนินการใช้ชนิดของปุ๋ยอินทรีย์ให้มีความ

                  เหมาะสมกับพืชที่ปลูก  เช่น ในพื้นที่การท่าเกษตรที่มีขนาดใหญ่มาก  ส่วนใช้จะใช้พืชปุ๋ยสดในการปรับปรุง
                  บ่ารุงดิน  เพราะใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าการใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกและลงทุนน้อยกว่า  แต่ถ้าเกษตรกร

                  สามารถผลิตปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกได้ปริมาณมากๆ ก็สามารถใช้ได้ตามความเหมาะสม เพราะในปุ๋ยหมักและ
                  ปุ๋ยคอกจะมีปริมาณธาตุอาหารของพืชโดยรวมมากกว่าปุ๋ยพืชสดและเป็นการน่าธาตุอาหารจากแหล่งอื่นมาใส่

                  โดยพื้นที่ปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย มันส่าปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสับปะรด  นิยมใช้พืชปุ๋ยสด ได้แก่ ปอเทือง
                  ถั่วพร้าและถั่วพุ่ม  เพราะความสามารถเจริญเติบโตและทนต่อความแห้งแล้งได้ดี  โดยสามารถปลูกก่อนปลูก

                  พืชหลักและไถกลบ หรือปลูกแซมระหว่างแถวพืชหลัก  ส่วนพื้นที่นาข้าว  นิยมใช้พืชปุ๋ยสด ได้แก่ โสนอัฟริกัน

                  เพราะสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพน้่าขัง  ถ้าสภาพน้่าไม่ขังใช้ปอเทือง ถั่วพร้าและถั่วพุ่มได้  โดยปลูกพืช
                  ปุ๋ยสดก่อน พร้อม หรือหลังการท่านา  และสามารรถใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้่าร่วมด้วยโดยการราดและฉีดพ่นพืช  เพื่อ

                  เร่งการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตพืช เพราะปุ๋ยอินทรีย์น้่าจะมีสารเร่งการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่
                  ฮอร์โมน กรดอะมิโน และสารฮิวมิก (ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)

                         3. การสร้างภูมิคุ้มกัน หมายถึง โดยมีการวางแผนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่ต้องการใช้ในระบบ

                  การเกษตรให้เพียงพอกับความต้องการกับพืชที่ปลูก ได้แก่ การเตรียมปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์น้่า และ
                  เมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดที่ต้องการใช้ในปีต่อไปให้เพียงพอ  โดยหาแหล่งวัตถุดิบที่มีราคาถูกภายในท้องถิ่นหรือ

                  บริเวณใกล้เคียงในการน่ามาผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์น้่า และเก็บเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดไว้บางส่วนที่
                  ต้องการใช้  หรืออาจมีการตั้งกลุ่มกันภายในชุมชนในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ เช่น ธนาคารปุ๋ยอินทรีย์

                  ชุมชน  กลุ่มโรงปุ๋ยอินทรีย์ชุมชน  ซึ่งต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน สติปัญญา แบ่งปัน และหาความรู้

                  ด้านต่างๆ เพื่อมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่มีธาตุอาหารสูงและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืช เช่น น่าวัตถุดิบที่มีธาตุ
                  อาหารสูงในท้องถิ่นมาผลิตเป็นปุ๋ยหมักและผสมเชื้อจุลินทรีย์ละลายฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ผลิตฮอร์โมน
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65