Page 58 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 58

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         47


                  เมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมี ดังนั้น จึงไม่สามารถปรับสมดุลของธาตุอาหารในดินได้  ส่งผลให้ได้ผลผลิตพืชต่่า

                  แล้วยังอาจท่าให้พืชมีการสะสมธาตุอาหารบางตัวมากเกินไป เช่น ในกรณีที่ดินขาดธาตุฟอสฟอรัสอย่างรุนแรง
                  แล้วพยายามใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนมากแต่มีปริมาณธาตุฟอสฟอรัสน้อย  ถ้าหากใส่ปุ๋ยมูลไก่ลงไปเพื่อ

                  มุ่งหวังแก้ปัญหาการขาดธาตุฟอสฟอรัส  แต่ในปุ๋ยมูลไก่ส่วนใหญ่มีธาตุไนโตรเจนในสัดส่วนที่สูงและมีธาตุ

                  ฟอสฟอรัสในสัดส่วนที่ต่่า  เมื่อใส่ปุ๋ยมูลไก่ลงไปในดินในปริมาณที่สูงอาจท่าให้ดินมีปริมาณไนโตรเจนเกิน
                  ความต้องการของพืช  ขณะที่ยังมีปริมาณธาตุฟอสฟอรัสไม่เพียงพอ  สภาพเช่นนี้ท่าให้พืชเจริญเติบโตไม่

                  เต็มที่และต้องการไนโตรเจนน้อย  แต่ดินมีการปลกปล่อยไนเตรทมาก  พืชดูดเข้าไปมากจนเกินความต้องการ
                  และเกิดการสะสมในพืช  จนอาจเป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ที่กินพืชนั้น (กรมวิชาการเกษตร,  2548ข;

                  อ่านาจ, 2548)  ดังนั้นในการแก้ปัญหาดินที่ขาดธาตุอาหารควรค่านึงถึงสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ว่ามีปริมาณธาตุ
                  อาหารที่ขาดมากเพียงพอต่อการแก้ปัญหา  โดยอาจวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของปุ๋ยอินทรีย์ก่อนที่จะน่าไปใช้

                  เพื่อจะได้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณที่เหมาะสมกับพืช  และไม่ก่อเกิดปัญหาการตกค้างของธาตุอื่นๆ ที่มี

                  ผลกระทบต่อคนและสัตว์ที่กินพืชนั้น
                        5.8 ปุ๋ยอินทรีย์มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการชะล้างไนเตรทสู่แหล่งน้่า  เนื่องจากส่วนใหญ่ของธาตุ

                  อาหารในปุ๋ยอินทรีย์อยู่ในรูปที่พืชดูดไม่ได้และจะต้องรอจนกว่าปุ๋ยจะสลายตัว  เพื่อให้ธาตุอาหารถูก

                  เปลี่ยนเป็นรูปที่พืชดูดใช้ได้  ท่าให้ปุ๋ยอินทรีย์มีการปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาให้พืชใช้ได้อย่างช้าๆ  ดังนั้น
                  การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้แก่พืชจึงจ่าเป็นต้องใส่ปุ๋ยก่อนปลูกพืชหรือก่อนระยะที่พืชต้องการธาตุอาหาร  และมักมี

                  การแนะน่าให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนปลูกพืช  อย่างไรก็ตามเมื่อใส่ปุ๋ยแล้วเกิดสภาพฝนแล้งท่าให้พืชไม่สามารถ
                  เจริญเติบโตต่อไปได้และตายในที่สุด  เมื่อฝนตกในระยะต่อมาท่าให้ดินมีความชื้นแต่ไม่มีพืชที่ปลูกอยู่แล้ว

                  ดังนั้น เมื่อปุ๋ยอินทรีย์ก็จะปลดปล่อยธาตุอาหารรวมทั้งไนโตรเจนออกมาสู่ดินโดยกิจกรรมจุลินทรีย์และสะสม
                  ในดิน  โดยไม่มีพืชดูดไปใช้จึงอาจท่าให้ไนเตรทถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้่าเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ได้

                  (กรมวิชาการเกษตร, 2548ข; อ่านาจ, 2548)  ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการชะล้างไนเตรทสู่

                  แหล่งน้่า  การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้แก่พืชต้องค่านึงถึงความชื้นของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชและ
                  กิจกรรมของจุลินทรีย์

                        5.9 ปุ๋ยอินทรีย์ท่าให้เกิดก๊าซเรือนกระจกออกจากดิน  เนื่องจากใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทุกชนิดกระตุ้นให้
                  จุลินทรีย์เจริญเติบโตมากขึ้น  ท่าให้ดินสภาพที่มีน้่าขังปรับสู่สภาพอับอากาศหรือสภาพที่มีออกซิเจนไม่

                  เพียงพอรุนแรงขึ้นและดินดอนปรับสู่สภาพอับอากาศในบางส่วนของมวลดิน เช่น ส่วนในของเม็ดดินรุนแรง

                  ขึ้นเกิดสภาพรีดักชันรุนแรงที่เกื้อหนุนการเกิดก๊าซมีเทนและไนตรัสออกไซด์ในดินซึ่งก๊าซทั้งสองชนิดนี้เป็น
                  ก๊าซเรือนกระจก  เมื่อระเหยสู่บรรยากาศท่าให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อน  โดยเฉพาะปุ๋ยอินทรีย์ที่มีอัตราส่วน

                  ระหว่างคาร์บอนกับไนโตรเจนสูงและเศษพืชที่ยังสลายตัวหรือสลายตัวไปเพียงบางส่วนจะมีผลต่อการเกิดก๊าซ
                  ดังกล่าวมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์มีอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนกับไนโตรเจนต่่าและฟางข้าวมีผลมากกว่าต้นและใบ

                  พืชตระกูลถั่ว (กรมวิชาการเกษตร,  2548ข;  อ่านาจ,  2548)  ดังนั้นเพื่อลดการเกิดโลกร้อนจึงควรใช้ใช้ปุ๋ย

                  อินทรีย์ที่สลายตัวสมบูรณ์โอกาสการเกิดก๊าซเรือนกระจกทั้งสองชนิดจะน้อยลง  นอกจากนี้การจัดการน้่า
                  อย่างเหมาะสมจะลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากแปลงนาได้อย่างต่อเนื่อง เช่น มีการระบายน้่าระหว่างฤดู
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63