Page 55 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 55

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         44


                        3.3. ปุ๋ยอินทรีย์ต่อสมบัติทางเคมีของดิน

                            โดยเหตุที่ปุ๋ยอินทรีย์มีปริมาณเกลือที่ละลายน้่าได้ต่่าและสลายตัวให้ฮิวมัสซึ่งมีความจุในการ
                  แลกเปลี่ยนประจุบวกสูง  จึงปรากฏต่อสมบัติทางเคมีของดินในลักษณะเอื้ออ่านวยต่อการเจริญเติบโตของพืช

                  ดีขึ้น  เนื่องจากในปุ๋ยมีอินทรีย์สารที่มีต่าแหน่งของการแลกเปลี่ยนประจุบวกและลบในปริมาณสูงมาก  ท่าให้

                  ดินมีความสามารถดูดซับธาตุอาหารพืชได้สูง  ซึ่งช่วยลดการสูญเสียธาตุอาหารพืชและพืชสามารถใช้
                  ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะดินทราย  นอกจากนี้ช่วยควบคุมความเป็นกรดเป็นด่างของดินไม่

                  เปลี่ยนแปลงไปอย่างฉับพลันและให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช
                            ในบางกรณีปุ๋ยอินทรีย์บางชนิดอาจมีปริมาณธาตุอาหารบางธาตุสูงมากและอัตราส่วนระหว่าง

                  คาร์บอนกับไนโตรเจนแคบจึงสลายตัวง่าย  ซึ่งจะท่าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างฉับพลัน  ในลักษณะ
                  เช่นนี้จะท่าให้เกิดอันตรายต่อพืช  โดยความร้อนที่เกิดจากการสลายตัวอย่างรวดเร็ว  และส่าหรับปุ๋ยอินทรีย์ที่

                  มีอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนกับไนโตรเจนกว้าง  เมื่อใส่ลงในดินจะท่าให้เกิดการขาดธาตุไนโตรเจนอย่าง

                  รุนแรงในระหว่างการสลายตัว  ปุ๋ยอินทรีย์จากซากพืชบางอย่างอาจมีแทนนินและสารอื่นๆ เป็นองค์ประกอบ
                  ค่อนข้างสูง  อาจเป็นพิษกับพืชได้ถ้าปุ๋ยนั้นยังสลายตัวไม่สมบูรณ์ ดังนั้นควรให้ปุ๋ยอินทรีย์มีการสลายตัวอย่าง

                  สมบูรณ์ก่อนน่าไปใช้  อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปจะไม่พบว่าผลตกค้างจากปุ๋ยอินทรีย์มีผลเสียต่อการเจริญเติบโต

                  ของพืช (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541)
                        3.4 ปุ๋ยอินทรีย์ต่อสมบัติทางกายภาพของดิน

                            เนื่องจากอินทรีย์สารในปุ๋ยอินทรีย์มีความสามารถในการอุ้มน้่าสูงและมีแรงยึดเหนียวระหว่าง
                  อนุภาคที่พอเหมาะ  จึงปรากฏว่าเมื่อใส่ลงในดินจะท่าให้ดินอุ้มน้่าดีขึ้นและปริมาณความชื้นที่เป็นประโยชน์

                  ต่อพืชสูงขึ้น  ท่าให้ดินที่มีอนุภาคหยาบเกาะตัวกันดีขึ้น  ส่วนดินเหนียวจะร่วนขึ้น  มีการระบายน้่าและ
                  อากาศดีขึ้น  ความหนาแน่นลดลง  ไม่แข็งเมื่อแห้ง  และไม่จับติดเครื่องมือไถพรวนเมื่อมีความชื้นสูง  อย่างไร

                  ก็ดีผลของปุ๋ยอินทรีย์ต่อสมบัติทางกายภาพของดินจะไม่เป็นผลที่ยั่งยืนถาวร  ขึ้นอยู่กับปริมาณและชนิดของ

                  ปุ๋ยที่ใช้  ความถี่ในการใส่และอัตราการสลายตัวขององค์ประกอบของปุ๋ยอินทรีย์ เช่น พวกที่มีองค์ประกอบ
                  ของ humic type อยู่สูงจะช่วยรักษาสภาพทางกายภาพของดินให้ดีอยู่ได้นาน  ซึ่งพวกนี้มักได้มาจากสารที่มี

                  aromatic  compound  เป็นองค์ประกอบอยู่เป็นจ่านวนมาก  แต่อินทรีย์สารบางแหล่ง เช่น ใบของพวก
                  mints  (กระเพรา  สะระแหน่)  พวกสนและยูคาลิปตัส  มีสารประกอบประเภทไขมันและสารประกอบ

                  nonpolar  hydrophobic  อื่นๆ อยู่มาก  ถ้าน่ามาท่าปุ๋ยอินทรีย์และย่อยสลายไม่สมบูรณ์  เมื่อน่าไปใช้อาจ

                  ส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของพืช  เพราะสารที่อยู่ในอินทรีย์สารเหล่านี้ค่อนข้างคงทนจึงมิได้ถูกย่อยสลาย
                  ได้ง่าย  เมื่อดินได้รับแสงแดด  อุณหภูมิสูงขึ้น  สารเหล่านี้จะหลอมตัวเคลือบอนุภาคของดินบางส่วนไว้  ท่าให้

                  อนุภาคของดินเหล่านั้นไม่เปียกน้่าโดยง่ายและไม่อุ้มน้่าซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต
                  ของพืชได้  อย่างไรก็ตามผลเสียที่เกิดขึ้นในระยะเวลาไม่นาน  เมื่อสารเหล่านี้ถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์  ท่า

                  ให้สมบัติของดินกลับคืนมาเป็นปกติ (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541)
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60