Page 57 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 57

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         46


                  หากต้องการให้พืชได้รับปริมาณธาตุอาหารหลักที่เพียงพอจะต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณมาก  ท่าให้สิ้นเปลือง

                  แรงงานและค่าใช้จ่ายในการขนย้ายสูง (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541;  ธงชัย,2546; อ่านาจ, 2548)
                  ดังนั้น เพื่อให้พืชได้รับปริมาณธาตุอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูงสุด  จึง

                  ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี  ดังรายงานของ กรรณิกาและคณะ (2554) ว่า จากการทดลองใส่ปุ๋ยหมัก

                  ฟางข้าวและปุ๋ยเคมีระยะเวลา 25 ปี  ตั้งแต่ 2515 – 2543  แล้วหยุดใส่ปุ๋ยตั้งแต่ พ.ศ. 2544 – 2553  ในนา
                  ดินทรายปนดินร่วน พบว่า ในเวลา 25 ปี  แปลงที่ไม่ใส่ปุ๋ยให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 380 กิโลกรัมต่อไร่  แปลงที่ใส่

                  ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 523 กิโลกรัมต่อไร่  แปลงที่ใส่ปุ๋ยหมักอย่างเดียวอัตรา 500  1,000
                  1,500  และ 2,000  กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 448, 501, 529 และ 558 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล่าดับ

                  ส่วนแปลงที่ใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยหมักอัตราต่างๆ ให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 613, 633, 663 และ 690 กิโลกรัมต่อไร่
                  ตามล่าดับ  และเมื่อหยุดใส่ปุ๋ย 10 ปี พบว่า การใส่ปุ๋ยหมักหรือการใส่ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมียังสามารถรักษา

                  ระดับผลผลิตข้าวได้ดีกว่าใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว

                        5.2 ปุ๋ยอินทรีย์บางชนิดสิ้นเปลืองพื้นที่ในการเก็บรักษาก่อนน่าไปใช้ ได้แก่ ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก
                        5.3 ปุ๋ยอินทรีย์แต่ละแหล่งอาจมีคุณภาพไม่เท่ากันเช่น ปุ๋ยคอกจากมูลไก่ไข่จะมีปริมาณธาตุอาหาร

                  มากกว่ามูลโคที่เลี้ยงปล่อยตามธรรมชาติ  เพราะอาหารที่เลี้ยงไก่มีปริมาณธาตุอาหารมากกว่าทุ่งหญ้าเลี้ยง

                  สัตว์  หรือปุ๋ยหมักที่ผลิตมาจากวัสดุอินทรีย์ที่มีธาตุอาหารสูง ได้แก่ กากเมล็ดถั่วเหลือง  กระดูกป่น  ใบ
                  กระถิน  ร่าข้าว หรือมูลสัตว์  จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าปุ๋ยหมักที่ผลิตมาจากเศษพืช เช่น ฟางข้าว  ซัง

                  ข้าวโพด  ดังนั้นก่อนน่าไปใช้ควรท่าการวิเคราะห์ทางเคมีเพื่อให้ทราบปริมาณอินทรียวัตถุและความเข้มข้น
                  ของธาตุอาหารต่างๆ จะได้น่าไปใช้ได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541)

                        5.4 ปริมาณไม่เพียงพอบางโอกาสปุ๋ยอินทรีย์บางชนิดหายากหรือหามาได้ไม่เพียงพอแก่ความต้องการ
                  ซึ่งบางครั้งอาจท่าให้มีราคาแพงเกินไปที่จะคุ้มค่าที่จะน่ามาใช้ เช่น มูลค้างคาว

                        5.5 ปุ๋ยอินทรีย์อาจมีโรคพืชและเมล็ดวัชพืชติดมา เช่น การน่าปุ๋ยคอกมาใส่ให้กับดินโดยตรงโดยไม่ผ่าน

                  กระบวนการหมักก่อน  หรือการน่าปุ๋ยหมักที่หมักไม่ถูกวิธีอาจจะมีโรคพืช  แมลงศัตรูพืชและเมล็ดวัชพืชติด
                  มาด้วย  ท่าให้พืชที่ได้รับปุ๋ยได้รับผลกระทบจากโรคพืช  แมลง และวัชพืชมากขึ้น (อ่านาจ, 2548)

                        5.6 ปุ๋ยอินทรีย์บางชนิดมีธาตุโลหะหนักและสารพิษอื่นๆ ติดมาเช่น ปุ๋ยอินทรีย์ที่ท่ามาจากขยะของ
                  วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม และครัวเรือนที่ไม่มีการคัดแยกวัตถุที่มีธาตุโลหะหนัก เช่น แบตเตอรี่

                  แห้งที่มีสารแคดเมียนหรือมีสารตะกั่ว หรือกระดาษบางชนิดที่มีการพิมพ์ด้วยหมึกที่มีโลหะหนัก  จึงท่าให้ปุ๋ย

                  อินทรีย์ที่ท่ามาจากขยะมีโอกาสที่จะมีธาตุโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอทและแคดเมียน ติดมาได้  เมื่อพืชดูดปุ๋ย
                  ไปใช้คนหรือสัตว์ที่บริโภคพืชจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ดังกล่าวอาจเกิดอันตรายได้และยังสะสมอยู่ในดิน

                  นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยอินทรีย์มูลไก่อาจมีธาตุอาเซนิคปะปน  เนื่องจากมีการใช้สารเร่งการเจริญเติบโตของไก่ที่
                  มีธาตุอาร์เซนิคเป็นส่วนประกอบอยู่  การใช้มูลไก่หรือมูลสุกรอาจมีโซดาไฟติดมาจากการใช้โซดาไฟท่าความ

                  สะอาดพื้นคอก  ซึ่งธาตุโซดาไฟมีผลเสียต่อสมบัติองดินและพืช (กรมวิชาการเกษตร, 2548ข; อ่านาจ, 2548)

                  ดังนั้นจึงควรระมัดระวังโดยการไม่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีโลหะหนักหรือสารพิษอื่นๆใส่ลงในดิน
                        5.7 ปุ๋ยอินทรีย์อาจท่าให้เกิดปัญหาการสะสมไนเตรทในพืช  เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์เป็นปุ๋ยที่ได้มาจาก

                  ซากพืชแลสัตว์  ท่าให้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆมีสัดส่วนระหว่างธาตุอาหารชนิดต่างๆ ผันแปรในช่วงที่แคบมาก
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62