Page 56 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 56

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         45


                         3.5 ปุ๋ยอินทรีย์ต่อสมบัติทางชีวภาพของดิน

                              สารอินทรีย์ในปุ๋ยอินทรีย์นั้นอยู่ในระหว่างขั้นตอนของการสลายตัว  จึงยังมีสารให้พลังงาน
                  เหลืออยู่เป็นจ่านวนมาก  ซึ่งเป็นแหล่งอาหารและพลังงานของสิ่งมีชีวิตในดิน  เมื่อใส่ลงในดินจุลินทรีย์จะมี

                  การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว  เชื้อราต่างๆ จะแทงกระจุกใยรา (mycelium) ลงในดินอย่างหนาแน่น  สัตว์

                  เล็กๆ จะมาใช้เป็นอาหารและไชชอนไปรอบบริเวณ  ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ของจุลินทรีย์เหล่านี้ล้วนมีผลโดยตรง
                  และโดยทางอ้อมต่อสมบัติทางเคมีและกายภาพของดิน  ท่าให้เกิดการหมุนเวียนของธาตุอาหารในรูปต่างๆ

                  ถ่ายทอดและถ่ายเทจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตอื่นๆ  จึงเท่ากับเป็นการรักษาธาตุอาหารในรูปต่างๆ ไว้
                  ไม่ให้สูญหายในเวลาอันสั้น  และการปรากฏตัวและเพิ่มปริมาณของไส้เดือนและสัตว์เล็กอื่นๆ ภายหลังใส่ปุ๋ย

                  อินทรีย์ย่อมเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกให้ทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินในระดับสูงขึ้น (คณาจารย์ภาควิชา
                  ปฐพีวิทยา, 2541)


                  4. การย่อยสลายและการปลดปล่อยธาตุอาหารพืชของปุ๋ยอินทรีย์

                        เมื่อใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงในดิน  เมื่อปุ๋ยอินทรีย์ได้รับความชื้นและสภาวะอื่นๆ ในดินที่เหมาะสม เช่น
                  อุณหภูมิการระบายอากาศและความเป็นกรดเป็นด่างของดิน  สารต่างๆ ที่ละลายได้ในปุ๋ยจะถูกปลดปล่อย

                  ออกมาและถูกดูดกินโดยจุลินทรีย์  ในขณะเดียวกันอินทรีย์สารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กและง่ายต่อการเข้าท่าลาย
                  จะถูกย่อยสลาย  โดยน้่าย่อยของจุลินทรีย์อย่างรวดเร็ว  ส่วนสารที่มีลักษณะโมเลกุลค่อนข้างซับซ้อนก็จะถูก

                  ย่อยสลายอย่างช้าๆ และบางส่วนของโมเลกุลที่ถูกย่อยสลายไปบ้างแล้ว  แต่ยังมีลักษณะ aromatic ring ที่

                  ซับซ้อนอยู่อาจรวมตัวกับประจุต่างๆ เกิดเป็นสารฮิวมัส  ซึ่งเป็นองค์ประกอบอันส่าคัญของอินทรียวัตถุในดิน
                  ซึ่งคงทนต่อการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์มากขึ้น  เนื่องจากมักจะเข้าท่าปฏิกิริยากับอนุภาคดินเหนียวเกิดเป็น

                  humus – clay complex  ส่วนสารประกอบอินทรีย์พวก aliphatic หรือ straight chain นั้น  ส่วนใหญ่จะ

                  ค่อยๆ ถูกย่อยสลายกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่บรรยากาศ   โดยในขณะที่อินทรีย์สารในปุ๋ยอินทรีย์
                  ก่าลังถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ดินนั้น  สารประกอบอินทรีย์ในรูปต่างๆ ของไนโตรเจนและฟอสฟอรัสจะ

                  เปลี่ยนแปลงย่อยสลายไปตามล่าดับ  และในที่สุดจะไปเป็นสารอนินทรีย์  ซึ่งมีธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและ
                                                   +
                                                                                             2-
                                                                         -
                  ก่ามะถัน เช่น แอมโมเนียมไอออน (NH )   ไนเตรทไอออน (NO )    ซัลเฟตไอออน (SO )  และฟอสเฟต
                                                                        3
                                                   4
                                                                                             4
                                      2-
                  ไอออน 2 รูป คือ HPO   และ H PO   4 -  ซึ่งจุลินทรีย์และรากพืชดูดไปใช้ได้  ส่วนธาตุโพแทสเซียมในปุ๋ย
                                               2
                                     4
                  อินทรีย์มักอยู่ในรูปไอออนที่ละลายน้่าได้ดีจะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ทันที  ส่วนธาตุโพแทสเซียมในปุ๋ยอินทรีย์
                  ที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อพืชและสัตว์จะค่อยๆ ถูกปลดปล่อยออกมาลักษณะที่คล้ายคลึงกัน  อย่างไรก็ตามการ
                  ปลดปล่อยธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์เมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมีแล้วจะเป็นอัตราที่ช้าและสม่่าเสมอมากกว่า
                  จึงท่าให้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพสูงและพืชตอบสนองได้ดีและไม่ค่อยเกิดที่เป็นพิษต่อพืช  แต่เมื่อเทียบการใช้ต่อ
                  หน่วยมีปริมาณธาตุอาหารหลักน้อยกว่าปุ๋ยเคมี (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา,  2541;  ยงยุทธและคณะ,

                  2551)

                  5. ข้อจํากัดและข้อควรระวังของปุ๋ยอินทรีย์

                        5.1 มีปริมาณธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองอยู่น้อย  เพราะปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่มีปริมาณธาตุ
                  อาหารพืชหลักและธาตุอาหารรองอยู่น้อย  แต่จุลธาตุพอเพียงหรือเกือบเพียงพอกับความต้องการของพืช
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61