Page 54 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 54

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         43


                                                           บทที่ 3

                                  ปุ๋ยอินทรีย์ในระบบการเกษตรที่ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


                  1.ความหมายของปุ๋ย

                         ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2550 ได้ให้ค่าจ่ากัด

                  ความของปุ๋ยไว้ว่า “ปุ๋ย” หมายถึง สารอินทรีย์ หรือสารอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือการสังเคราะห์
                  ส่าหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชได้ไม่ว่าโดยวิธีใด  หรือท่าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดิน  เพื่อบ่ารุง

                  ความเติบโตแก่พืช  ในหลักวิชาการปุ๋ยโดยทั่วไปสามารถจ่าแนกปุ๋ยได้ 3 ประเภท คือ ปุ๋ยเคมี  ปุ๋ยอินทรีย์
                  และปุ๋ยชีวภาพ

                         1.ปุ๋ยเคมี หมายความว่า ปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์หรืออินทรีย์สังเคราะห์  รวมถึงปุ๋ยเชิงเดี่ยวปุ๋ยเชิง
                  ผสม  ปุ๋ยเชิงประกอบ และปุ๋ยอินทรีย์เคมี  แต่ไม่รวมถึงปูนขาว  ดินมาร์ล  ปูนปลาสเตอร์  ยิปซัม  โดโลไมต์

                  หรือสารอื่นที่รัฐมนตรีก่าหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

                         2.  ปุ๋ยอินทรีย์ หมายความว่า ปุ๋ยที่ได้หรือท่ามาจากวัสดุอินทรีย์  ซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธีท่าให้ชื้น สับ
                  หมัก บด ร่อน สกัด หรือด้วยวิธีการอื่น และวัสดุอินทรีย์ถูกย่อยสลายสมบูรณ์ด้วยจุลินทรีย์แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมี

                  และปุ๋ยชีวภาพ

                         3.  ปุ๋ยชีวภาพ หมายความว่า ปุ๋ยที่ได้มาจากการน่าจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่สามารถสร้างธาตุอาหารหรือ
                  ช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช  มาใช้ในการปรับปรุงบ่ารุงดินทางชีวภาพทางกายภาพหรือทางชีวเคมี

                  และให้หมายความรวมถึงหัวเชื้อจุลินทรีย์

                  2. ประเภทของปุ๋ยอินทรีย์

                         ปุ๋ยอินทรีย์ ปัจจุบันสามารถแบ่งได้ 4 ชนิด ดังนี้

                         2.1 ปุ๋ยคอก
                         2.2 ปุ๋ยหมัก

                         2.3 ปุ๋ยพืชสด
                         2.4 ปุ๋ยอินทรีย์น้่าหรือปุ๋ยอินทรีย์เหลว

                         โดยปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยอินทรีย์น้่า จะอธิบายในบทที่ 4, 5, 6 และ 7 ต่อไป

                  3. ความสําคัญของปุ๋ยอินทรีย์

                        3.1 ปุ๋ยอินทรีย์เป็นแหล่งอินทรียวัตถุ ดังนั้น ปุ๋ยอินทรีย์จึงมีความส่าคัญต่อการปรับปรุงบ่ารุงดิน

                        3.2 ปุ๋ยอินทรีย์เป็นแหล่งธาตุอาหาร ได้แก่ ธาตุหลัก  ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุค่อนข้างครบถ้วนที่
                  พืชใช้ในการเจริญเติบโต  แม้แต่ละธาตุจะมีปริมาณที่น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมี  แต่ธาตุอาหาร

                  ส่วนมากปลดปล่อยออกมาอย่างช้าๆ  เพราะธาตุอาหารบางส่วนเป็นองค์ประกอบของสารอินทรีย์และ

                  บางส่วนอยู่ในรูปคีเลต  จึงมีการสูญเสียเนื่องจากการชะล้างน้อย (ธงชัย,2546)
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59