Page 53 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 53

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         42


                  สามรูป คือ กลุ่มอินทรียวัตถุในดินที่มีการแปรรูปรวดเร็ว (active fraction)กลุ่มอินทรียวัตถุในดินที่มีการแปร

                  รูปช้า (slow fraction) และกลุ่มอินทรียวัตถุในดินที่มีการแปรรูปเฉื่อย (passive fraction)กลุ่มอินทรียวัตถุ
                  ในสัดส่วนมากน้อยเท่าไรจะต้องขึ้นอยู่กับสัดส่วนของอัตราการเติมใส่อินทรียวัตถุเทียบกับอัตราการสูญเสีย
                  จากการถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ดิน  ซึ่งกลุ่มอินทรียวัตถุแต่ละกลุ่มมีค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน  ที่

                  สามารถน่ามาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจการใช้อินทรียวัตถุ  เพื่อให้ใช้ให้ตรงตามจุดประสงค์ที่ต้องการ ดังนี้
                        10.1 เป็นวัสดุคลุมดิน  ดังนั้นการใช้เศษซากสิ่งมีชีวิตจะต้องมีค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนมากๆ

                  โดยมีค่ามากกว่า 30 จนเป็นร้อย  เช่น ชิ้นไม้ เปลือกไม้ และขี้เลื่อย เป็นต้น  โดยต้องใส่ที่ผิวดินและให้อยู่ใน
                  สภาพแห้ง  เพื่อให้ถูกจุลินทรีย์ดินย่อยสลายได้อัตราต่่าที่สุด  การใช้ในจุดประสงค์นี้เพื่อป้องกันผิวหน้าดินใน
                  การักษาความชื้นในดิน  โดยไม่ได้มุ่งหวังในเรื่องธาตุอาหาร

                        10.2 ปรับโครงสร้างดินและกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมของจุลินทรีย์ให้เกิดขึ้นอย่างมากมาย  ดังนั้นการใช้
                  กลุ่มอินทรียวัตถุต้องที่มีค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนอยู่ในช่วง 15 – 30  เรียกว่า กลุ่มอินทรียวัตถุใน
                  ดินที่มีการแปรรูปรวดเร็ว (active  fraction)  เมื่อใส่คลุกเคล้ากับดินจะกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มปริมาณและ

                  กิจกรรมของจุลินทรีย์ดินในกระบวนการย่อยสลายอินทรียวัตถุในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  ท่าให้เกิด
                  สารอินทรีย์ที่หลากหลายและจ่านวนมากและการสร้างสารเชื่อมโดยจุลินทรีย์  มีผลท่าให้ดินเหนียวเกาะยึด
                  กันเป็นเม็ดดินหรือรวมตัวกับอนุภาคต่างๆ ในดิน  โดยที่ปริมาณของอินทรียวัตถุกลุ่มนี้ลดปริมาณอย่าง

                  รวดเร็วและหมดไปภายในระยะเวลามีไม่นาน  เพราะมีสารประกอบที่สิ่งมีชีวิตในดินสามารถน่าไปใช้ได้
                  ปริมาณมากและอยู่ในรูปที่ใช้ง่าย ได้แก่ น้่าตาล แป้งและโปรตีน  ดังนั้นการรักษาระดับกิจกรรมของจุลินทรีย์

                  ในดินให้สูงอยู่ได้  ท่าโดยการเติมอินทรียวัตถุลงในดินอย่างสม่่าเสมอและต่อเนื่อง
                        10.3 ความอุดมสมบูรณ์ของดิน คือ เป็นแหล่งของธาตุอ่าหารพืช  ดังนั้นการใช้กลุ่มอินทรียวัตถุต้องที่มี
                  ค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนอยู่ในช่วง 10 – 25  เรียกว่า กลุ่มอินทรียวัตถุในดินที่มีการแปรรูปช้า

                  (slow  fraction)ซึ่งมีปริมาณคาร์บอนปานกลางควบคู่กับที่มีปริมาณไนโตรเจนมากเกินพอกับความต้องการ
                  ของจุลินทรีย์ดิน  เป็นอินทรียวัตถุที่ผ่านการย่อยสลายส่วนหนึ่งมาก่อน  ท่าให้อินทรียวัตถุกลุ่มนี้ท่าหน้าที่เป็น

                  ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีบทบาทในการเป็นแหล่งธาตุอาหารไนโตรเจนและซัลเฟตเป็นหลัก  ให้ฟอสฟอรัสรองลงมาและ
                  ให้จุลธาตุทุกชนิด  โดยปริมาณอินทรียวัตถุในกลุ่มนี้มีอายุคงทนในดินได้นานเป็นสิบปี  เพราะเป็นอินทรียวัตถุ
                  ที่รวมชิ้นส่วนของเนื้อเยื่อพืชที่มีขนาดละเอียดมาก  มีปริมาณลิกนินและสารประกอบที่สลายได้ยากอยู่มาก

                  นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาหารที่รักษาให้กิจกรรมของจุลินทรีย์ดินด่าเนินได้ในอัตราคงที่ต่อเนื่องเป็นระยะ
                  เวลานาน
                        10.4 การดูดซับธาตุอาหารและความคงทนของก้อนดิน  ดังนั้นการใช้กลุ่มอินทรียวัตถุต้องที่มีค่า

                  อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนอยู่ในช่วงไม่เกิน 10  เรียกว่า กลุ่มอินทรียวัตถุในดินที่มีการแปรรูปเฉื่อย
                  (passive fraction)  เป็นอินทรียวัตถุที่ผ่านกระบวนการย่อยสลายแล้วอย่างมาก  จนเหลือเฉพาะสารที่มีรูป

                  คงทน  ซึ่งสามารถอยู่ในดินได้เป็นร้อยถึงพันปี  สารที่เหลือรวมกัน เรียกว่า ฮิวมัส  ซึ่งแทรกซึมกับอนุภาคดิน

                  อย่างเหนียวแน่น  ท่าให้จุลินทรีย์ดินเข้าถึงได้ยาก  จึงถูกน่าออกมาย่อยสลายต่อได้ในอัตราที่ช้ามาก  ปริมาณ
                  ของฮิวมัสมีประมาณร้อยละ 60 – 90 ของอินทรียวัตถุในดินทั่วไป  คุณสมบัติของฮิวมัสมีขนาดเล็ก เป็นสาร

                  แขวนลอยและที่ผิวมีประจุเป็นบวกและลบจ่านวนมาก  ท่าให้มีบทบาทในการดูดซับธาตุอาหารต่างๆ และ
                  เพิ่มความคงทนของก้อนดิน  ท่าให้โครงสร้างดินพัฒนาเป็นแบบเม็ดกลมเล็ก  ซึ่งช่วยลดช่องว่างขนาดใหญ่

                  และลดการสูญเสียธาตุอาหารของพืชจากการชะล้างของ
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58