Page 192 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 192

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        181


                         5. ปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการหมักเศษซากพืช ซากสัตว์  โดยกิจกรรมจุลินทรีย์

                  โดยวัสดุที่ใช้ท่าปุ๋ยหมักมาจาก วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ต้นข้าวโพด ซังข้าวโพด เปลือกเมล็ด
                  ถั่วต่างๆ  เปลือกยูคาลิปตัส และแกลบ เป็นต้น วัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ชานอ้อย เปลือก

                  มันส่าปะหลัง  ทลายปาล์มน้่ามัน  เปลือกสับปะรด เป็นต้น  วัสดุเหลือใช้จากบ้านเรือน ได้แก่ ขยะมูลฝอย

                  และ วัชพืช เช่น ผักตบชวา และหญ้าต่างๆ
                         ระยะเวลาการหมักเศษวัสดุแห้งในการผลิตปุ๋ยหมักขึ้นอยู่กับปัจจัยของสภาพแวดล้อม และปัจจัยของ

                  วัสดุ  ดังนั้นปัจจัยที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพการย่อยสลายวัสดุในการผลิตปุ๋ยหมักให้สมบูรณ์ในระยะเวลามาก
                  หรือน้อยขึ้นอยู่กับ  ลักษณะของเศษวัสดุ  องค์ประกอบทางเคมีของเศษวัสดุ  ความชื้น  การระบายอากาศ

                  อุณหภูมิ  ระดับความเป็นกรดเป็นด่างในการกองปุ๋ยหมัก  เพราะปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อกิจกรรมและปริมาณ
                  ของจุลินทรีย์ในกองปุ๋ย  โดยจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายเศษวัสดุ ได้แก่ แบคที่เรีย แอคติโนไมซิสต์

                  และเชื้อรา  ดังนั้นทางกรมพัฒนาที่ดินจึงท่าการผลิต “สารเร่งซุปเปอร์ พด.1” ซึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ที่มี

                  ประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทาง
                  การเกษตร

                         วิธีการผลิตปุ๋ยหมักมีหลายวิธีแต่ที่นิยมและกรมพัฒนาที่ดินได้ส่งเสริม คือ การผลิตปุ๋ยหมักโดยมี

                  ขั้นตอน ดังนี้ น่าวัสดุมาผสมคลุกเคล้ากันและกองเป็นรูปสี่เหลี่ยม  ในการผลิตปุ๋ยหมัก 1 ตัน ประกอบด้วย
                  เศษพืชแห้ง 1,000 กิโลกรัม  มูลสัตว์ 200 กิโลกรัม ปุ๋ยยูเรีย 2 กิโลกรัม หรือน้่าหมักจากปลา 9 ลิตร และ

                  สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 จ่านวน 1 ซอง  โดยกองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด กว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร และสูง
                  1.5 เมตร  ลักษณะปุ๋ยหมักที่เสร็จสมบูรณ์มีลักษณะ ดังนี้ 1) สีน้่าตาลเข้มจนถึงด่า  2) วัสดุมีลักษณะอ่อนนุ่ม

                  ยุ่ย ฉีกขาดง่าย และไม่แข็งกระด้างเหมือนวัสดุเริ่มแรก  3) ไม่มีกลิ่นเหม็น  4) ความร้อนในกองปุ๋ยและนอก
                  กองปุ๋ยเท่ากัน  5) มีค่า C/N น้อยกว่าหรือเท่ากับ 20:1  ในกรณีเชื้อจุลินทรีย์สารเร่งไม่มี  สามารถน่าปุ๋ยหมัก

                  ที่เป็นแล้วหรือปุ๋ยหมักที่อายุ 10 – 15 วัน จ่านวน 200 กิโลกรัม แทนสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 จ่านวน 1 ซอง

                  แต่ท่าติดต่อกันเพียง 3 ครั้ง  เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์
                         การผลิตปุ๋ยหมักมี 2 แบบ คือ การผลิตใช้เอง และการผลิตแบบอุตสาหกรรม  โดยการผลิตแบบใช้

                  เอง หรือแบบชาวบ้าน จะเป็นการผลิตปุ๋ยหมักในปริมาณไม่มากและส่วนใหญ่จะใช้แรงงานคน  ส่วนการผลิต
                  แบบอุตสาหกรรม จะมีการใช้เทคนิคการผลิตปุ๋ยหมักแบบอุตสาหกรรม  มีการปรับปรุงวิธีการหมักให้มี

                  ประสิทธิภาพสูงขึ้นจึงมีความจ่าเป็น เช่น การบดวัสดุให้มีขนาดเล็กลงก่อนหมัก  การใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ช่วย

                  เร่งปฏิกิริยา และการใช้เครื่องจักรทดแทนแรงงานคนในขั้นตอนต่างๆ เป็นต้น  การผลิตแบบนี้คุ้มค่าต่อการ
                  ลงทุนเมื่อผลิตในปริมาณมาก  ใช้เครื่องจักรและการจัดการที่ซับซ้อน  เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยหมักแบบ

                  อุตสาหกรรมมีหลายแบบ เช่น แบบกองยางในแนวรางซีเมนต์  แบบกองยาวบนพื้นราบ  และแบบถังแนวตั้ง
                         ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก  เป็นแหล่งธาตุอาหารพืชและเป็นแหล่งอินทรียวัตถุให้แก่ดิน  ซึ่งมีผลท่าให้

                  ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพของดิน  ท่าให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์และปริมาณ

                  อินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น  ถ้าต้องการให้ปุ๋ยหมักมีธาตุอาหารสูง  สามารถท่าได้โดยการน่าวัตถุดิบที่มีธาตุอาหารสูง
                  มาหมัก เรียกว่า “ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีธาตุอาหารสูง”
   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197