Page 195 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 195

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        184


                         6.3 ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก มีข้อดีกว่าปุ๋ยพืชสด ได้แก่ สามารถก่าหนดอัตราการใช้ให้เหมาะสมได้ตาม

                  วัตถุประสงค์ เช่น การเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดินให้สูงขึ้นในระดับที่ต้องการ  หรือธาตุอาหารในระดับที่พืช
                  ต้องการ  และสามารถน่าไปใช้ในพื้นที่ได้ทันที่  แต่ข้อเสีย ได้แก่ ใช้ปริมาณมาก ขนย้ายล่าบาก หายาก ราคา

                  ค่อนข้างแพง และถ้าใช้ในพื้นที่มากๆ ได้  ต้องมีปริมาณมากด้วย

                         9. การจัดการปุ๋ยอินทรีย์ในระบบเกษตรอินทรีย์  ให้ประสบความส่าเร็จในการผลิตพืชอินทรีย์ที่ได้
                  มาตรฐานนั้น  ต้องพยายามเพิ่มอินทรียวัตถุในดินให้สูงขึ้น  โดยพยายามเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 0.5 เปอร์เซ็นต์

                  จนได้ไม่น้อยกว่า 2.5 เปอร์เซ็นต์  แต่ถ้าสามารถเพิ่มได้ถึง 3.0 เปอร์เซ็นต์ ได้ก็จะมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง
                  โดยการน่าปุ๋ยอินทรีย์ใส่ลงดินที่ปลูกพืชอินทรีย์  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดินให้สูงตามระดับ

                  ที่ต้องการ  โดยควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ทุกปีเพื่อชดเชยส่วนที่สลายไปในช่วงเวลาที่ผ่านมา  ถ้ารักษาอินทรียวัตถุใน
                  ดินระดับนี้ไว้อย่างต่อเนื่อง  ก็นับได้ว่าปรับปรุงดินจนมีศักยภาพสูงในการปลดปล่อยธาตุอาหารต่างๆ ออกมา

                  อย่างเพียงพอกับความต้องการของพืชรากตื้นส่วนมาก  แต่ต้องยืนยันด้วยผลการวิเคราะห์ระดับธาตุอาหารที่

                  เป็นประโยชน์ในดิน  อันประกอบด้วยธาตุหลัก ธาตุรอง จุลธาตุ  จึงจะมีความเชื่อมั่นว่าเพียงพออย่างแท้จริง
                  ก่อนการเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน  ควรประเมินระดับอินทรียวัตถุในดินก่อน  แล้วจึงก่าหนดเป้าหมายการเพิ่ม

                  อินทรียวัตถุและจัดหาปุ๋ยอินทรีย์  ควรมีการด่าเนินดังนี้

                         1.  คัดเลือกพื้นที่  ท่าการเก็บดินในพื้นที่ที่จะท่าเกษตรอินทรีย์  มาวิเคราะห์ดินหาปริมาณ
                  อินทรียวัตถุในดิน  เพื่อหาแนวทางในการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืชในระบบ

                  เกษตรอินทรีย์
                         2.  ท่าการบ่ารุงดินด้วยการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินอย่างสม่่าเสมอ การใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก

                  สามารถเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้เหมาะสมกับระบบเกษตรอินทรีย์ได้ทันที่  แต่ต้องใช้ปริมาณมากและลงทุน
                  สูง  ดังนั้น จึงควรค่อยๆ เพิ่มอินทรียวัตถุในดินในปริมาณที่เหมาะสม  โดยอาจเพิ่มอินทรียวัตถุในดินบนความ

                  ลึก 15 เซนติเมตร ปีละ 1.0 เปอร์เซ็นต์  โดยต้องใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกแห้ง อัตรา 3,120 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ

                  ประมาณ 1.95 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ทุกๆปี
                         3)  อาศัยพืชตระกูลถั่ว (ปุ๋ยพืชสด)  ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมัก เป็นแหล่งธาตุอาหารของพืช  โดยเฉพาะ

                  อย่างยิ่งการเพิ่มปริมาณธาตุไนโตรเจนในดิน
                         4)  สามารถใช้ปุ๋ยชีวภาพในการช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ระบบการเกษตรอินทรีย์  ได้แก่ ใช้ปุ๋ย

                  ชีวภาพประเภทจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจนอากาศ ได้แก่ จุลินทรีย์ที่มีภาวะอยู่ร่วมกันกับสิ่งมีชีวิต เช่น ไรโซเบียม

                  และจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจนที่ด่ารงแบบอิสระ เช่น Azotobacter sp.  แหนแดง เป็นการเพิ่มธาตุไนโตรเจน
                  ให้แก่พืช และใช้ปุ๋ยชีวภาพประเภทจุลินทรีย์ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ จุลินทรีย์ที่ช่วยละลายธาตุ

                  อาหารและช่วยให้พืชดูดใช้ง่าย เช่น เชื้อไรโซแบคทีเรียเร่งการเจริญเติบโตของพืช เรียกว่า PGPR   และ
                  จุลินทรีย์ที่ช่วยในการดูดธาตุอาหาร เช่น ไมคอร์ไรซา

                         5)  ในกรณีที่ธาตุอาหารบางธาตุมีปริมาณต่่าไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช  อาจต้องใส่แร่

                  ธรรมชาติหรือสารที่อนุญาตให้ใช้ได้  เพื่อเพิ่มธาตุอาหารที่ดินยังขาด เช่น ดินขาดธาตุฟอสฟอรัสก็สามารถใช้
                  หินฟอสเฟตบดได้  โดยใส่อัตราที่เหมาะสมและวิธีการที่ถูกต้อง
   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200