Page 190 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 190

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        179


                  26 และ 53  กลุ่มที่เนื้อดินที่เป็นดินร่วน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 32, 34, 39, 50 และ 60  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดิน

                  ทราย ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 42 และ  43   และกลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินตื้น ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 45,  51  และ 52
                  สภาพพื้นที่ภูเขาสูงมีพื้นที่ 15.13 ล้านไร่ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 62โดยพื้นที่ภาคใต้ดินมีความอุดมสมบูรณ์

                  กระจายตัวในระดับต่่า  ปานกลางและสูง คือ ร้อยละ 67.28, 32.09 และ 0.63 ตามล่าดับ  และดินมีปริมาณ

                  อินทรียวัตถุกระจายตัวในระดับต่่า  ปานกลางและสูง คือ ร้อยละ 52.47, 43.19 และ 4.34 ตามล่าดับ  ดิน
                  ปัญหาที่พบ ประกอบด้วย ดินเปรี้ยวจัด  ดินอินทรีย์  ดินเค็มชายทะเล  ดินทราย และดินตื้น

                            สาเหตุการเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินที่ใช้ท่าการเกษตรของประเทศไทย เกิดจากปัญหาหลัก 3
                  ประการ คือ 1) ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน  2) ปัญหาดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ และ 3) การน่าเอา

                  ดินที่มีปัญหามาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร  ซึ่งมีผลท่าให้พื้นที่ดินใช้ท่าการเกษตรของประเทศไทยมีระดับ
                  ความอุดมสมบูรณ์และระดับปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในเกณฑ์ที่ต่่าถึงร้อยละ 49.38 และ 62.33 เปอร์เซ็นต์

                  ของพื้นที่ ตามล่าดับ

                         2. อินทรียวัตถุ

                            สาเหตุที่จ่าเป็นต้องใส่อินทรียวัตถุลงในดิน  เพราะดินที่เหมาะสมในการปลูกพืชจะต้องมี

                  องค์ประกอบต่างๆ คือ แร่ธาตุ 45 เปอร์เซ็นต์  อากาศ 25เปอร์เซ็นต์  น้่า 25 เปอร์เซ็นต์ และอินทรียวัตถุ
                  5 เปอร์เซ็นต์  แต่ทรัพยากรดินของประเทศไทยมีปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในระดับต่่า คือ มีค่าน้อยกว่า 1.5

                  เปอร์เซ็นต์  กระจายตัวอยู่ร้อยละ 62.33 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศ  นอกจากนี้ยังมีการน่า
                  ดินที่มีปัญหามาใช้ประโยชน์ เช่น ดินทราย และดินตื้น  ซึ่งมีปริมาณอินทรียวัตถุต่่ามากมีค่าน้อยกว่า 1.0

                  เปอร์เซ็นต์  จนท่าให้พืชที่ปลูกไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดีและได้ผลผลิตในปริมาณต่่า ดังนั้นจึงมีความจ่าเป็น

                  อย่างมากที่ต้องเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน  เพราะอินทรียวัตถุประกอบด้วย“สารฮิวมิก” และสารที่ “มิใช่สาร
                  ฮิวมิก” และสารฮิวมิกจะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ฮิวมิน กรดฮิวมิก และกรดฟุลวิก  ซึ่งมีผลท่าให้ดินมีความ

                  อุดมสมบูรณ์ขึ้นเหมาะสมกับการปลูกพืช ดังนี้ ทําให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น ได้แก่ ส่งเสริมให้
                  อนุภาคของดินจับตัวเป็นก้อน  ท่าให้ดินมีการอุ้มน้่าได้มากขึ้น  สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิดิน

                  อย่างฉับพลัน  สีของดินเปลี่ยนเป็นสีน้่าตาลถึงสีด่ามีส่วนท่าให้อุณหภูมิของดินโดยรวมสูงขึ้น ทําให้สมบัติทาง

                  เคมีของดินดีขึ้น ได้แก่ เป็นแหล่งธาตุอาหารของพืช  ช่วยให้ดินมีความสามารถดูดซับธาตุอาหารพืชได้สูง
                  ช่วยรักษาความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้เหมาะสมกับพืช  ช่วยลดความเป็นพิษของธาตุบางชนิด เช่น เหล็ก

                  และอะลูมินั่ม  ทําให้สมบัติทางชีวภาพของดินดีขึ้น ได้แก่ เป็นแหล่งธาตุอาหารของจุลินทรีย์ในดิน  ท่าให้
                  สภาพแวดล้อมในดินเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน  ช่วย

                  ควบคุมโรคพืชบางชนิดในดิน เช่น การที่เชื้อแอคติโนมัยซิสพวก Streptomyces sp. บางชนิด  สามารถสร้าง

                  สารปฏิชีวนะท่าลายเชื้อรา Collectotrichum sp. ซึ่งท่าให้เกิดโรคแอนแทรคโนสของพริก

                         3. ปุ๋ยอินทรีย์ (organic fertilizer) หมายความว่า ปุ๋ยที่ได้หรือท่ามาจากวัสดุอินทรีย์  ซึ่งผลิตด้วย
                  กรรมวิธีท่าให้ชื้น สับ หมัก บด ร่อน สกัด หรือด้วยวิธีการอื่น และวัสดุอินทรีย์ถูกย่อยสลายสมบูรณ์ด้วย

                  จุลินทรีย์แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยชีวภาพ มี 4 ชนิด ดังนี้
   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195