Page 196 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 196

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        185


                         6)  มีการไถพรวนเท่าที่จ่าเป็น และไถตื้นๆ  ใส่ซากพืชและปุ๋ยอินทรีย์อย่างเพียงพอ  ท่าให้ 1)

                  อินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้น และ 2) เพิ่มปริมาณอินทรียสารที่มีศักยภาพในการปลดปล่อยไนโตรเจน  สาร
                  เหล่านี้จะแปรสภาพโดยกระบวนการมินเนอราลไลเซชัน เป็นแอมโมเนียมไอออนได้ค่อนข้างรวดเร็ว

                  นอกจากนี้กระบวนการย่อยสลายอินทรียสารของจุลินทรีย์ยังก่อให้มีการสะสมสารฮิวมัสซึ่งสลายยาก และ

                  กลายเป็นแหล่งของไนโตรเจนที่จะมีการปลดปล่อยอย่างช้าๆอีกด้วย
                         10. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการบํารุงดินแบบผสมผสาน

                             ส่าหรับการบ่ารุงดินแบบผสมผสาน  มีหลักการปฏิบัติ ดังนี้
                             1)  ปรับปรุงดินทางเคมีด้วยสารปรับปรุงดิน เช่น ใส่ปูนในดินกรด เพื่อปรับพีเอชให้ใกล้กลาง ซึ่ง

                  จะช่วยให้ธาตุอาหารเดิมในดิน และปุ๋ยที่ใช้มีความเป็นประโยชน์สูง
                             2)  ปรับปรุงสมบัติทางฟิสิกส์ ด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับการไถพรวนที่เหมาะสม เพื่อ

                  เอื้ออ่านวยให้รากพืชแผ่ขยายได้ดีทั้งแนวราบและแนวดิ่ง

                             3) มีการอนุรักษ์ดินและน้่าอย่างเหมาะสม ด้วยวิธีการทางพืช เช่น ใช้ระบบการปลูกพืชหมุนเวียน
                  และปลูกพืชคลุมดิน ร่วมกับวิธีการเชิงกล เช่นการไถพรวนตามแนวระดับ และใช้มาตรการอื่นๆตามความจ่า

                  เป็น เพื่อลดการสูญเสียดินและน้่า

                             4)  ใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเสริมธาตุอาหารบางธาตุที่ยังไม่เพียงพอ ช่วยให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง
                  เหมาะกับความต้องการของพืชที่ปลูก

                            5) ใช้ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อให้จุลินทรีย์เหล่านั้นเพิ่มปริมาณธาตุอาหาร หรือเปลี่ยนรูปของธาตุอาหารที่
                  ไม่เป็นประโยชน์ให้เป็นประโยชน์ต่อพืช ซึ่งจะช่วยลดอัตราปุ๋ยหรืองดการใช้ปุ๋ยเคมีที่ให้บางธาตุ

                              จึงควรใช้ปุ๋ยวิธีการแบบผสมผสาน เพราะ
                              1) การใช้อินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพมากที่สุดเท่าที่จะหาได้  เพื่อบ่ารุงดินในด้านกายภาพ  เคมี และ

                  ชีวภาพตลอดจนปลดปล่อยธาตุอาหารต่างๆ ออกมาให้พืชใช้ประโยชน์

                              2)  ถ้าธาตุอาหารจากปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพไม่เพียงพอกับพืช  ก็เสริมด้วยปุ๋ยเคมีตามความ
                  จ่าเป็น  โดยอาศัยการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน  เป็นตัวก่าหนดชนิดและอัตราของปุ๋ยเคมีที่ต้องการ

                  ใช้  ทั้งต้องค่านึงถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมในระยะสั้นและระยะยาวด้วย
                               โดยที่ความอุดมสมบูรณ์ของดินมีความสัมพันธ์กับการปุ๋ยแบบผสมผสาน  โดยปรกติดินที่มี

                  อินทรียวัตถุสูงกว่า 2.5 เปอร์เซ็นต์  นอกจากจะปลดปล่อยไนโตรเจนรูปที่เป็นประโยชน์ได้ค่อนข้างมากแล้ว

                  ยังมีศักยภาพในการให้ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ธาตุรอง และจุลธาตุรูปที่เป็นประโยชน์ได้ค่อนข้างดีด้วย  ซึ่ง
                  หลายธาตุมีแนวโน้มที่จะเพียงพอส่าหรับพืช  หากใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเสริมบางธาตุก็ใช้ในอัตราต่่า  ดังนั้นถ้า

                  สามารถเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ได้แก่ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงดินย่อมมีผลท่าให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น
                  ท่าให้มีการใช้ปุ๋ยเคมีลดลงก็สามารถท่าให้พืชได้รับธาตุอาหารในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตอย่างเพียงพอ

                  นอกจากนี้การปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น โสนอัฟริกันและไถกลบลงดิน  โดยโสนอัฟริกันน้่าหนักสด 2  ตันต่อไร่

                  สามารถให้ไนโตรเจน 12 กิโลกรัมNต่อไร่  หรือหว่านแหนแดงตารางเมตรละ 0.3 – 0.4 กิโลกรัม ข้าวสามารถ
                  ดูดไนโตรเจนที่แหนแดงปลดปล่อยออกมาได้ 33 – 69 เปอร์เซ็นต์  ท่าให้สามรถลดการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนให้แก่

                  ข้าวได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นการใช้ปุ๋ยบ่ารุงดินแบบผสมผสานจะท่าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะปุ๋ยอินทรีย์
   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201