Page 191 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 191

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        180


                            3.1 ปุ๋ยคอก (animal manure) หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้มาจากมูลสัตว์ที่ขับถ่ายและสะสมอยู่

                  ตามพื้นคอกรวมทั้งวัสดุรองพื้นคอก  ตลอดจนมูลและน้่าล้างคอกที่รวมในบ่อเก็บน้่าทิ้งหรือบ่อแก๊สชีวภาพ
                  หรือมูลสัตว์ที่ได้จากแหล่งธรรมชาติ เช่น มูลค้างคาว

                            3.2  ปุ๋ยหมัก (compost)  หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งได้จากการน่าวัสดุอินทรีย์จากพืชและ

                  สัตว์ทางการเกษตรและจากชุมชน  มาหมักในรูปของการกองรวมกัน  แล้วปล่อยให้ย่อยสลายโดยกิจกรรม
                  จุลินทรีย์จนแปรสภาพไปจากรูปเดิม  จนกระทั่งได้สารอินทรียวัตถุที่มีความคงทน  ที่มีลักษณะพรุน ยุ่ยและ

                  ร่วนซุย  มีสีด่าหรือสีน้่าตาลเข้ม  ไม่มีกลิ่นเหม็น
                            3.3 ปุ๋ยพืชสด (green  manure)  หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการปลูกพืชลงไปใน

                  พื้นที่แล้วไถกลบขณะที่ยังสดและอยู่ในช่วงระยะเวลาที่พืชออกดอก  เพราะให้น้่าหนักสดและปริมาณธาตุ
                  อาหารสูง  จากนั้นปล่อยให้เกิดการย่อยสลายก็จะให้ธาตุอาหารพืชและเพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดิน  ซึ่งจะเป็น

                  ประโยชน์ส่าหรับพืชที่จะปลูกต่อไป

                            3.4 ปุ๋ยอินทรีย์เหลวหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ํา (liquid organic fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ในรูป
                  ของเหลวได้จากการย่อยสลายจากพืชหรือสัตว์ที่มีลักษณะอวบน้่าหรือมีความชื้น  โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์

                  ในสภาพที่มีอากาศน้อยจนถึงไม่มีอากาศ  ผลิตภัณฑ์ที่ได้ส่วนใหญ่ประกอบด้วย กรดอินทรีย์ และฮอร์โมนพืช

                         ปุ๋ยอินทรีย์มีความสําคัญต่อการเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรดิน เพราะว่า เป็นแหล่งอินทรียวัตถุ
                  และเป็นแหล่งธาตุอาหารให้กับพืชและจุลินทรีย์ในดิน  ส่งผลท่าให้ดินมีความอุดสมบูรณ์เพิ่มขึ้น  เพราะท่าให้

                  สมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพของดินดีขึ้นและเหมาะสมกับการปลูกพืช  และสามารถน่าปุ๋ย
                  อินทรีย์ไปประยุกต์ใช้ในระบบการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างเหมาะสม  โดยยึดหลัก 3

                  ประการ คือ พอเพียง มีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกัน  พร้อมดัวย “ความรู้คู่คุณธรรม” ในการด่าเนินงานของตนเอง

                         4. ปุ๋ยคอก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากมูลสัตว์  แหล่งที่มาและปริมาณมูลสัตว์ในประเทศไทยมี

                  อยู่ทุกภาค  ส่วนใหญ่มาจากสัตว์ 6 ประเภท คือ โคเนื้อ โคนม กระบือ ไก่ เป็ด และสุกร  ซึ่งในภาค
                  ตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณสูงสุด คือ 18.198 ล้านตัน  ภาคกลางรวมกับภาคตะวันออกมีปริมาณ 11.039

                  ล้านตัน  ภาคเหนือมีปริมาณ 4.975 ล้านตัน และภาคใต้มีปริมาณน้อยที่สุด คือ 1.259 ล้านตัน  เมื่อพิจารณา

                  มูลสัตว์ที่ได้จากสัตว์แต่ละประเภท พบว่า มูลจากกระบือมากที่สุดถึง 14.52 ล้านตัน  มูลจากโคเนื้อ 10.53
                  ล้านตัน  มูลจากสุกร 6.11 ล้านตัน  มูลจากโคนม 2.20 ล้านตัน  มูลจากไก่ 1.94 ล้านตัน และมูลจากเป็ด

                  น้อยที่สุด คือ 0.171 ล้านตัน
                         โดยปุ๋ยคอกแต่ละชนิดจะมีปริมาณธาตุอาหารแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ 1)คุณภาพอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์

                  2) ชนิดและขนาดของสัตว์  และ 3) สภาพการเลี้ยง  การน่าปุ๋ยคอกไปใช้มี 3 แบบ คือ 1) น่าปุ๋ยคอกใน

                  รูปแบบของแข็งไปใช้โดยตรง  2) การหมักปุ๋ยคอกก่อนน่าไปใช้ และ 3) น่าปุ๋ยคอกที่เป็นของเหลวไปใช้
                  โดยตรง  ประโยชน์ของปุ๋ยคอก เป็นแหล่งธาตุอาหารพืชและเป็นแหล่งอินทรียวัตถุให้แก่ดิน  ซึ่งมีผลท่าให้

                  ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพของดิน  ท่าให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์และปริมาณ
                  อินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น  และการใช้ปุ๋ยคอกตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต้องยึดหลัก 3 ประการที่ต้องยึดถือ คือ

                  พอเพียง มีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกัน  พร้อมดัวย “ความรู้คู่คุณธรรม” ในการด่าเนินงานของตนเอง
   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196