Page 193 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 193

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        182


                         การใช้ปุ๋ยหมักตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต้องยึดหลัก 3 ประการที่ต้องยึดถือ คือ มีความพอเพียง

                  มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน  พร้อมดัวย “ความรู้คู่คุณธรรม”  ในการด่าเนินงานของตนเอง

                         6. ปุ๋ยพืชสด เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการปลูกพืชปุ๋ยสดและสับกลบลงไปในดิน  ขณะที่พืช

                  ยังสดอยู่  พืชปุ๋ยสดที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้ 1) เป็นพืชตระกูลถั่ว  2) สามารถขยายพันธุ์ได้ง่าย  3) มีธาตุ
                  อาหารสะสมในล่าต้นสูง  4) สามารถเจริญเติบโตได้เร็ว  5) ต้านทานโรคและแมลง 6) สามารถจัดเข้าระบบ

                  ปลูกพืชได้ง่าย  7) มีระบบรากลึก  8) ไถกลบได้ง่าย และ 8) ไม่มีผลกระทบต่อพืชหลักที่ปลูก  พืชปุ๋ยสดที่
                  กรมพัฒนาที่ดินส่งเสริม มี 5 ชนิด ได้แก่ ถั่วพุ่ม  ถั่วพร้า  ปอเทือง  โสนอัฟริกัน และ ถั่วมะแฮะ  ซึ่งพืชปุ๋ยสด

                  ที่สามารถปลูกในที่ลุ่มและดินเค็มได้ คือ โสนอัฟริกัน

                         สามารถปลูกพืชปุ๋ยสดได้ในสภาพที่ลุ่มและที่ดอน  โดยมีวิธีการปลูก 4 แบบ คือ 1) ปลูกพืชปุ๋ยสดใน
                  ระบบปลูกพืชหมุนเวียน  2) ปลูกพืชปุ๋ยสดปลูกในระบบปลูกพืชแซม  3) ปลูกพืชปุ๋ยสดปลูกในระบบปลูกพืช

                  แบบแถบพืช  4) ปลูกพืชปุ๋ยสดปลูกในระบบปลูกพืชคลุมดิน
                         ประโยชน์ของปุ๋ยพืชสด  เป็นแหล่งธาตุอาหารพืชและเป็นแหล่งอินทรียวัตถุให้แก่ดิน  ซึ่งมีผลท่าให้

                  ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพของดิน  ท่าให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์และปริมาณ

                  อินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น
                         การใช้ปุ๋ยพืชสดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต้องยึดหลัก 3  ประการที่ต้องยึดถือ คือ มีความ

                  พอเพียง มีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกัน  พร้อมดัวย “ความรู้คู่คุณธรรม” ในการด่าเนินงานของตนเอง

                         7. น้ําหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ําชาวบ้าน หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ในรูปของเหลวที่ได้มาจากการย่อยสลาย

                  วัสดุเหลือใช้จากพืชหรือสัตว์ลักษณะสดโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่
                  ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีลักษณะเป็นของเหลวสีน้่าตาล  ซึ่งประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรท  กรดอินทรีย์  ฮอร์โมนหรือ

                  สารเร่งการเจริญเติบโตของพืช (ออกซิน จิบเบอร์เรลลิน และไซโตไคนิน)  วิตามิน  กรดอะมิโน กรดฮิวมิก
                  เอนไซด์  วิตามิน และแร่ธาตุ  ซึ่งการผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกิดการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์

                  อีเอ็มหรือจุลินทรีย์ในท้องถิ่นในการน่ามาหมักกับกากน้่าตาลและเศษพืช สัตว์  ซึ่งเป็นวัสดุหลักของท้องถิ่น

                  และน่ามาใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายท้องถิ่น  ซึ่งส่วนใหญ่จะมีธาตุอาหารหลักและปริมาณอินทรียวัตถุไม่
                  ผ่านเกณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์เหลวของกรมวิชาการเกษตร  ดังนั้นจึงเรียกว่า “น้ําหมัก”

                         น้่าหมักประกอบด้วย 1) ธาตุอาหารหลัก  ธาตุอาหารรองและจุลธาตุ แต่มีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบ

                  กับปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอื่นๆ  2) มีความเป็นกรดเป็นด่างสูง ดังนั้นก่อน่าไปใช้จึงต้องเจือจางด้วยน้่า  3) มีกรดฮิว
                  มิค  กรดอินทรีย์  ฮอร์โมน เอนไซม์บางชนิด และจุลินทรีย์  ซึ่งมีส่วนในการช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของ

                  พืช  ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์น้่า เป็นแหล่ง กรดฮิวมิค  กรดอินทรีย์  ฮอร์โมน เอนไซม์บางชนิด และ
                  จุลินทรีย์ ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช

                         กระบวนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดน้่าหมักมี 2 กระบวน คือ กระบวนการพลาสมอลิซีสหรือการสกัด
                  และกระบวนการย่อยสลาย  โดยที่กระบวนการย่อยสลายจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มยีสต์

                  2) กลุ่มแบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติก  3) กลุ่มจุลิมทรีย์ที่ย่อยสลายอินทรีย์ไนโตรเจน และ 4) กลุ่มจุลินทรีย์

                  แปรสภาพฟอสฟอรัส  และทางกรมพัฒนาที่ดินจึงได้ผลิตเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีเพิ่มประสิทธิภาพการย่อย
   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198