Page 186 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 186

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        175


                         จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า ความอุดมสมบูรณ์ของดินมีความสัมพันธ์กับการปุ๋ย

                  แบบผสมผสาน  โดยปรกติดินที่มีอินทรียวัตถุสูงกว่า 2.5  เปอร์เซ็นต์  นอกจากจะปลดปล่อยไนโตรเจนรูปที่
                  เป็นประโยชน์ได้ค่อนข้างมากแล้ว  ยังมีศักยภาพในการให้ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ธาตุรอง และจุลธาตุรูปที่

                  เป็นประโยชน์ได้ค่อนข้างดีด้วย  ซึ่งหลายธาตุมีแนวโน้มที่จะเพียงพอส่าหรับพืช  หากใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเสริมบาง

                  ธาตุก็ใช้ในอัตราต่่า  ดังนั้นถ้าสามารถเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ได้แก่ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงดินย่อมมีผลท่าให้
                  ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น  ท่าให้มีการใช้ปุ๋ยเคมีลดลงก็สามารถท่าให้พืชได้รับธาตุอาหารในการ

                  เจริญเติบโตและให้ผลผลิตอย่างเพียงพอ
                         ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง การใช้ปุ๋ยแบบผสมผสานกับข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสง (ข้าวขาวหอมดอกมะลิ 105)

                  ในดินที่ปลูกข้าวมีปริมาณอินทรียวัตถุ 0.9  เปอร์เซ็นต์  มีธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 4.5  มิลลิกรัมต่อ
                  กิโลกรัม และธาตุโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ 45 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ดังนั้น ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อให้ข้าวได้รับ

                  ธาตุอาหารในอัตรา 9 กิโลกรัมNต่อไร่  6 กิโลกรัมP O ต่อไร่ และ 6 กิโลกรัมK Oต่อไร่  (ตามค่าแนะน่าการ
                                                                                   2
                                                             2 5
                  ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ตารางที่ 9.6)      ดังนั้นถ้าต้องการที่จะลดการใช้ปุ๋ยเคมี  จ่าเป็นต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์
                  ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และพืชปุ๋ยสด เพราะจะท่าให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นและมีปริมาณอินทรียวัตถุ

                  ในดินเพิ่มขึ้น  เพราะอินทรียวัตถุสามารถปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนรูปที่เป็นประโยชน์ได้  และยังมีศักยภาพใน

                  การให้ฟอสฟอรัส  โพแทสเซียม ธาตุอาหารรองและจุลธาตุ  โดยเฉพาะดินที่มีอินทรียวัตถุสูงกว่า 2.5
                  เปอร์เซ็นต์ จะมีประสิทธิภาพสูงสุด (ยงยุทธและคณะ, 2551)  โดยมีหลักการดังนี้

                         การเพิ่มอินทรียวัตถุในดินบนจาก 0.9 เปอร์เซ็นต์ เป็น 1.4 เปอร์เซ็นต์  จ่าเป็นต้องใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ย
                  คอกที่มีความชื้น 30 เปอร์เซ็นต์  และมีการแปรสภาพของปุ๋ย 20 เปอร์เซ็นต์ จ่านวน 2,433.60 กิโลกรัมต่อ

                  ไร่  ในดินที่มีความหนาแน่น 1.3 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร  ดังนั้น ดินที่ปลูกข้าวจะมีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้นเป็น 1.4
                  เปอร์เซ็นต์  ท่าให้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนลดลงจาก 9  เป็น 6  กิโลกรัมNต่อไร่  นอกจากนี้การปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น

                  โสนอัฟริกันและไถกลบลงดิน  โดยโสนอัฟริกันน้่าหนักสด 2 ตันต่อไร่  สามารถให้ไนโตรเจน 12 กิโลกรัมNต่อ

                  ไร่  หรือหว่านแหนแดงตารางเมตรละ 0.3  –  0.4  กิโลกรัม ข้าวสามารถดูดไนโตรเจนที่แหนแดงปลดปล่อย
                  ออกมาได้ 33 – 69 เปอร์เซ็นต์  (ยงยุทธและคณะ, 2551)  ท่าให้สามารถลดการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนให้แก่ข้าวได้

                  ด้วยเช่นกัน
   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191