Page 165 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 165

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        154




                         สําหรับการบํารุงดินแบบผสมผสานมีหลักการปฏิบัติ ดังนี้
                         1)  ปรับปรุงดินทางเคมีด้วยสารปรับปรุงดิน เช่นใส่ปูนในดินกรด เพื่อปรับพีเอชให้ใกล้กลาง ซึ่งจะ

                  ช่วยให้ธาตุอาหารเดิมในดินและปุ๋ยที่ใช้มีความเป็นประโยชน์สูง

                         2) ปรับปรุงสมบัติทางฟิสิกส์ ด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับการไถพรวนที่เหมาะสม เพื่อเอื้ออ่านวยให้
                  รากพืชแผ่ขยายได้ดีทั้งแนวราบและแนวดิ่ง

                         3)  มีการอนุรักษ์ดินและน้่าอย่างเหมาะสม ด้วยวิธีการทางพืช เช่นใช้ระบบการปลูกพืชหมุนเวียน
                  และปลูกพืชคลุมดิน ร่วมกับวิธีการเชิงกล เช่นการไถพรวนตามแนวระดับ และใช้มาตรการอื่นๆตามความจ่า

                  เป็น เพื่อลดการสูญเสียดินและน้่า
                         4) ใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเสริมธาตุอาหารบางธาตุที่ยังไม่เพียงพอ ช่วยให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง เหมาะ

                  กับความต้องการของพืชที่ปลูก

                         5) ใช้ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อให้จุลินทรีย์เหล่านั้นเพิ่มปริมาณธาตุอาหาร หรือเปลี่ยนรูปของธาตุอาหารที่ไม่
                  เป็นประโยชน์ให้เป็นประโยชน์ต่อพืช ซึ่งจะช่วยลดอัตราปุ๋ยหรืองดการใช้ปุ๋ยเคมีที่ให้บางธาตุ


                  3. การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่อเป็นแนวทางการใช้ปุ๋ย
                         การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน หมายถึง การตรวจสอบว่าดินมีระดับความอุดมสมบูรณ์ สูง

                  ปาน หรือต่่า  เพื่อใช้ส่าหรับปลูกพืชชนิดใดชนิดหนึ่ง  โดยอาศัยหลักการประเมิน 3 วิธี คือ การสังเกตอาการ

                  ผิดปกติของพืช การวิเคราะห์ดินและการวิเคราะห์พืช (Jones, 2001) ในบทนี้จะกล่าวเฉพาะการวิเคราะห์ดิน
                  เพื่อเป็นแนวทางการใช้ปุ๋ยในการบ่ารุงดินแบบผสมผสาน  ซึ่งการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดม

                  สมบูรณ์ของดินมีขั้นตอน ดังนี้

                         ท่าการเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่  เวลาที่เหมาะสมแก่การเก็บตัวอย่างดิน คือ หลังเก็บผลผลิตพืชหรือ
                  ในระยะต้นของฤดูกาลของการผลิตพืช  พื้นที่ 5  –  10  ไร่ ควรเก็บตัวอย่างดินอย่างน้อย 5  –  10  หลุม

                  กระจายให้ทั่วพื้นที่  ความลึกของดินที่เก็บประมาณ 15 เซนติเมตร  แล้วใส่ถังพลาสติกที่สะอาดปราศจาก
                  ปุ๋ยเคมีหรือสารเคมี  หลังจากเก็บทุกหลุมแล้วท่าการคลุกเคล้าให้เข้ากันดี  เพื่อจะได้เป็นตัวแทนของดินใน

                  พื้นที่นั้นๆ  แล้วเก็บตัวอย่างดินใส่ถุงพลาสติกน้่าหนักประมาณ 1 กิโลกรัม  เขียนชื่อสถานที่เก็บตัวอย่างและ
                  มัดปากถุงให้แน่นก่อนส่งไปวิเคราะห์   โดยสามารถส่งตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ได้ที่หน่วยงานในสังกัดกรม

                  พัฒนาที่ดิน  หน่วยงานในสังกัดกรมวิชาการเกษตร ในพื้นที่ที่อยู่ใกล้หรือจังหวัดใกล้เคียง (กรมวิชาการเกษตร

                  , 2552)
                         จากผลวิเคราะห์ดิน ได้แก่ ปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์  สามารถ

                  น่าผลไปประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน  เพื่อเป็นแนวทางในการใช้ปุ๋ยธาตุอาหารหลักเฉพาะพืช

                  โดยปรกติดินที่มีอินทรียวัตถุสูงกว่า 2.5  เปอร์เซ็นต์  นอกจากจะปลดปล่อยไนโตรเจนรูปที่เป็นประโยชน์ได้
                  ค่อนข้างมากแล้ว  ยังมีศักยภาพในการให้ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ธาตุรอง และจุลธาตุรูปที่เป็นประโยชน์ด้

                  ค่อนข้างดีด้วย  ซึ่งหลายธาตุมีแนวโน้มที่จะเพียงพอส่าหรับพืช  หากใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเสริมบางธาตุก็ใช้ในอัตรา
                  ต่่า  (ยงยุทธและคณะ, 2551)  ส่าหรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างซึ่งความหมายแสดงไว้ในตารางที่ 9.4  ซึ่งค่าที่
   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170