Page 121 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 121

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        110


                  ตารางที่ 6.2 แสดงน้ําหนักสด น้ําหนักแห้ง และปริมาณธาตุอาหารที่สําคัญในพืชปุ๋ยสด (ต่อ)


                                 น้ําหนักสด     น้ําหนักแห้ง               ปริมาณธาตุอาหาร (เปอร์เซ็นต์)

                  ชนิดพืช         (กก./ไร่)      (กก./ไร่)   C/N       N      P     K     Ca     Mg      S


                  โสนอัฟริกัน  2,000 – 4,000  400 – 1,120  18.30  2.87  0.42  2.06  0.82  1.74  2.27


                  โสนอินเดีย   2,000 – 3,500    400 – 980  17.83  2.85  0.46  2.83  1.96  2.14  0.97

                  โสนจีนแดง    1,500 – 2,000    300 – 560  18.93  2.85  0.43  2.10  0.79  1.83  0.90

                  โสนคางคก     1,500 – 3,000    300 – 840  27.55  1.84  0.28  1.26  0.70  1.58  0.30


                  หมายเหตุ: น้่าหนักสดของพืชปุ๋ยสดมีความชื้นเฉลี่ย 72 – 80 เปอร์เซ็นต์

                  ที่มา: ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน (2549)

                        พืชตระกูลถั่วที่กรมพัฒนาที่ดินได้ส่งเสริมใช้เป็นพืชปุ๋ยสด มี 5 ชนิด ได้แก่ ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ปอเทือง

                  โสนอัฟริกัน และถั่วมะแฮะ  โดยแบ่งตามชนิดของพืชที่ปลูกได้ ดังนี้ (ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2549;

                  ยงยุทธและคณะ, 2551)
                            1. ถั่วพุ่ม (cow  pea) หลายชนิด เช่น ถั่วพุ่มแดงหรือถั่วพุ่มลาย  (Vignasinesis) และถั่วพุ่มด่า

                  (Vignaunguiculata)  เป็นพืชปีเดียวลักษณะล่าต้นเป็นพุ่มเตี้ยสูงประมาณ 40 เซนติเมตร  บางชนิดล่าต้น

                  อาจจะเลื้อยบนดินบ้างเล็กน้อย เช่น ถั่วพุ่มลาย  เจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศร้อน  ดินร่วนซุย  มีการ
                  ระบายน้่าและอากาศดี  ปลูกได้ตลอดปีแต่ช่วงที่เหมาะสม คือ ต้นฤดูฝนโดยวิธีการหว่านอัตราเมล็ด 8

                  กิโลกรัมต่อไร่  นิยมปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดในระบบการปลูกสองแบบ คือ แบบระบบปลูกพืชหมุนเวียน  โดยปลูก
                  ก่อนพืชหลักแล้วไถกลบเมื่ออายุ 45 – 45 วัน พร้อมกับเตรียมดิน  เพื่อปลูกพืชหลักหลังจากไถกลบ 12 – 15

                  วัน  และแบบระบบปลูกแซม  โดยหว่านถั่วพุ่มระหว่างแถวพืชหลักหลังจากปลูกพืชหลักไปแล้วประมาณ 2
                  สัปดาห์  ไถกลบระยะออกดอกอายุประมาณ 40 – 45 วัน  โดยถั่วพุ่มให้น้่าหนักสดและน้่าหนักแห้งระหว่าง

                  1,500 – 2,400 และ 300 – 672 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล่าดับ  และให้ธาตุไนโตรเจน 10 –20 กิโลกรัม

                  ไนโตรเจนต่อไร่  โดยส่วนเหนือดินมีปริมาณธาตุอาหารหลักคิดต่อน้่าหนักแห้ง ดังนี้ ปริมาณธาตุไนโตรเจน
                  2.00 – 2.89 เปอร์เซ็นต์  ปริมาณธาตุฟอสฟอรัส 0.50 – 0.58 เปอร์เซ็นต์ และปริมาณธาตุโพแทสเซียม

                  2.50 – 3.51 เปอร์เซ็นต์
                            2. ถั่วพร้า มี 2 ชนิด คือ ถั่วพร้าเมล็ดขาวหรือ Jack  bean  (Canavaliaensiformis)  และถั่ว

                  พร้าเมล็ดแดงหรือ swod bean (Canavallagladista) เป็นพืชปีเดียว  ลักษณะต้นเป็นทรงพุ่มสูงประมาณ

                  60 เซนติเมตร  ระบบรากลึก  เจริญเติบโตได้ดีในดินดอน  ที่มีการระบายน้่าดี  ทนความแห้งแล้งได้ดี  ปลูก
                  โดยวิธีการหว่านอัตราเมล็ด 10 กิโลกรัมต่อไร่  นิยมปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดในระบบการปลูกสองแบบ คือ แบบ

                  ระบบปลูกพืชหมุนเวียน  โดยปลูกก่อนพืชหลักแล้วไถกลบเมื่ออายุ 60 – 65 วัน พร้อมกับเตรียมดิน  เพื่อ
                  ปลูกพืชหลักหลังจากไถกลบ 12 – 15 วัน  พืชหลักที่ปลูก เช่น ข้าวโพดมันส่าปะหลังและอ้อย  และแบบ

                  ระบบปลูกแซม  โดยหว่านถั่วพร้าระหว่างแถวพืชหลักหลังจากปลูกพืชหลักไปแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ และไถ
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126