Page 119 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 119

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        108


                  น้่า และถ่ายเทอากาศดีขึ้น  ทั้งพืชจะดูดธาตุอาหารจากดินชั้นล่างขึ้นมาสะสมในใบและล่าต้น  เมื่อซากพืชถูก

                  ไถกลบแล้วธาตุอาหารเหล่านั้นมาอยู่ในดินบน
                         2.8  เป็นพืชที่ทําการไถกลบลงดินได้ง่าย  กิ่งก้าน ล่าต้นเปราะ และเน่าเปื่อยผุพังได้อย่างรวดเร็ว

                  เพื่อปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชที่ปลูกตามมา

                         2.9 เป็นพืชที่ไม่มีผลในทางลบต่อพืชหลักที่ปลูกตามมา

                  3. พืชปุ๋ยสดที่แนะนํา

                        พืชปุ๋ยสดเป็นพืชบ่ารุงดินที่ช่วยให้ความอุดมสมบูรณ์และสมบัติต่างๆ ของดินดีขึ้น รวมทั้งช่วยในการ
                  อนุรักษ์ดินด้วย อาจจ่าแนกพืชบ่ารุงดินเป็น 4 ประเภท คือ

                        3.1 พืชตระกูลถั่วประเภทพืชปีเดียว (annual plant)  โตเร็ว ใบมากและล่าต้นไม่แข็ง เมื่อไถกลบจะ

                  เน่าเปื่อยเร็ว ได้แก่ ปอเทือง โสน และถั่วแปบ ใช้ท่าปุ๋ยพืชสดได้ดี
                        3.2 พืชตระกูลถั่วที่ใช้เป็นอาหาร (food legumes)  ให้ฝักและเมล็ดเป็นอาหารของมนุษย์  ส่วนใบใช้

                  เป็นอาหารสัตว์ได้  เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วก็ไถกลบซากพืชบ่ารุงดิน  จึงเหลือชีวมวลที่จะไถกลบน้อย เช่น
                  ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง และถั่วพุ่ม  การปลูกมีวัตถุประสงค์สองอย่าง คือ เก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นอาหารและ

                  ไถกลบซากพืชเพื่อบ่ารุงดิน
                        3.3 พืชตระกูลถั่วคลุมดิน  ซึ่งมีทั้งประเภทเถาเลื้อย เช่น คาโลโปโกเนียม  และประเภทพุ่มเตี้ย เช่น

                  ถั่วเวอราโน  มักใช้เป็นพืชคลุมดินและอาหารสัตว์  การไถกลบพืชพวกเถาเลื้อยอาจมีปัญหาเถาพืชพันผาลไถ

                        3.4 พืชตระกูลถั่วประเภทไม้พุ่มและไม้ยืนต้น  ใช้ปลูกเป็นแถวชิดเพื่อเป็นแนวกันลมและป้องกันการ
                  กร่อนดินในที่ลาดชัน เช่น กระถินและแคฝรั่ง  อาจตัดกิ่งก้านและใบมาคลุมดินหรือไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด

                  กรมพัฒนาที่ดินได้ศึกษาและรวบรวมพืชตระกูลถั่วทั้งพืชยืนต้นและพืชล้มลุก  ลักษณะเป็นพุ่มและเถาเลื้อย

                  ที่เหมาะสมส่าหรับการบ่ารุงดินและอนุรักษ์ดินและน้่า ดังตารางที่ 6.1

                  ตารางที่ 6.1 พืชบํารุงดินและอนุรักษ์ดินและน้ําที่กรมพัฒนาที่ดินแนะนํา


                       ชื่อสามัญ               ชื่อวิทยาศาสตร์                     ลักษณะของพืช

                  กระถิน               Leucaenaleucocephala             ไม้ยืนต้นสูง 1.5 – 5.0 เมตร

                  แคฝรั่ง              Gliricidiasepium                 ไม้ยืนต้น
                  ครามป่า              Tephrosia  candida               ไม้พุ่ม สูง 2 – 3 เมตร
                  ถั่วเขียว            Phaseolusaureus                  พืชปีเดียว ลักษณะต้นเป็นพุ่ม

                  ถั่วเขียวผิวด่า      Phaseolusmungo                   พืชปีเดียว  ลักษณะต้นเป็นพุ่ม
                  ถั่วเขียวผิวแดง      Phaseolusradiatus                พืชปีเดียว  ลักษณะต้นเป็นพุ่ม
                  ถั่วคาโลโปโกเนียม    Calopogoniummucunoides           พืชปีเดียวลักษณะต้นเป็นเถาเลื้อย
                  ถั่วคุดซู            Puerariaphaseoloides             อายุหลายปี  ลักษณะต้นเป็นเถาเลื้อย
                  ถั่วลาย              Centrosemapubescens              อายุหลายปี ลักษณะต้นเป็นเถาเลื้อย

                  กระถิน               Leucaenaleucocephala             ไม้ยืนต้นสูง 1.5 – 5.0 เมตร
   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124