Page 20 - บทบาทของหญ้าแฝกในการบำบัดสารปนเปื้อนในน้ำและสิ่งแวดล้อม
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       15







                       ในสารละลายดินมากกว่ารากพืชอาจดูดน้อยกว่าได้ ลักษณะเด่นของกลไกนี้คือความสามารถของเซลล์
                       เม็มเบรนในการคัดเลือก (selectivity) ไอออนที่จะดูดเข้าไป
                                      3) เมื่อสภาพแวดล้อมบังคับให้อัตราการหายใจของรากพืชลดลง เช่น อุณหภูมิต่ า
                       หรือสูงเกินไป ขาดแคลนออกซิเจนหรือได้รับสารพิษ จะท าให้อัตราการดูดไอออนลดลงด้วย

                       ที่น่าสังเกตประการหนึ่ง คือ ในช่วงอุณหภูมิปกติการเพิ่มอุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส จะเร่งอัตราการ
                       ดูดไอออนขึ้นไปประมาณ 2 เท่า หรือกล่าวได้ว่ามี Q10  ประมาณ 2 นั่นเอง หากเป็นกระบวนการ
                       ทางฟิสิกส์ Q10 จะมีค่าประมาณ 1.1 ถึง 1.2 เท่านั้น แสดงว่ากลไกที่เกี่ยวข้องมีความสัมพันธ์กับ
                       เมแทบอลิซึมของรากอย่างใกล้ชิด


                            2.  น ้าเสีย
                               2.1  นิยามและความหมาย
                               น้ าที่มีสิ่งเจือปนต่างๆ มากมาย จนกระทั่งกลายเป็นน้ าที่ไม่เป็นที่ต้องการ และน่ารังเกียจ
                       ของคนทั่วไป ไม่เหมาะส าหรับใช้ประโยชน์อีกต่อไป หรือถ้าปล่อยลงสู่ล าน้ าธรรมชาติ จะท าให้

                       คุณภาพน้ าของธรรมชาติเสียหาย (กรมควบคุมมลพิษ, 2545)
                               2.2  ลักษณะของน้ าเสีย

                               ลักษณะของน้ าเสียแบ่งออกได้ 3  ด้าน คือ ด้านกายภาพ ด้านเคมี และด้านชีวภาพ  (กรม
                       ควบคุมมลพิษ, 2559)
                                   2.2.1. ลักษณะของน้ าเสียทางกายภาพ

                                      1) ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ าได้ทั้งหมด หมายถึง ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ า
                       และสามารถไหลผ่านกระดาษกรองใยแก้ว และน าน้ าที่กรองได้ไประเหยจนแห้งแล้วจึงน าไปอบ
                                      2) ของแข็งแขวนลอย หมายถึงปริมาณของแข็งแขวนลอยที่เหลือค้างบนกระดาษ
                       กรองใยแก้ว

                                      3) ความขุ่น หมายถึง สมบัติทางแสงของสารแขวนลอยซึ่งท าให้แสงกระจาย และ
                       ดูดกลืนมากกว่าที่จะยอมให้แสงผ่านเป็นเส้นตรง ความขุ่นของน้ าเกิดการมีสารแขวนลอยต่างๆ เช่น
                       ดิน ดินตะกอน
                                   2.2.2 ลักษณะของน้ าเสียทางเคมี เช่น

                                      1) ออกซิเจนละลาย การหาดีโอ (DO)  หรืออกซิเจนละลาย สามารถท าได้ทั้งวิธี
                       ทางเคมี และใช้เครื่องวัดโดยตรง
                                      2) บีโอดี (BOD)  หมายถึง ปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์
                       โดยแบคทีเรีย
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25