Page 15 - บทบาทของหญ้าแฝกในการบำบัดสารปนเปื้อนในน้ำและสิ่งแวดล้อม
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       10







                                      2) กล้าหญ้าแฝกแบบรากเปลือย
                                      การปลูกหญ้าแฝกโดยใช้กล้าแบบรากเปลือย เป็นสิ่งที่ควรให้ความส าคัญมาก
                       เนื่องจากกล้าแบบรากเปลือย จะท าให้การปลูกหญ้าแฝกท าได้รวดเร็ว ขนส่งไปได้ปริมาณมากและ
                       สามารถปลูกได้ปริมาณงานมาก แต่ก็จะมีความเสี่ยงในช่วงหลังจากปลูกสูง เนื่องจากกล้าอาจจะ

                       ตายได้หากขาดน้ าและกล้ารากเปลือยจะมีการแตกหน่อช้า ดังนั้นผู้ปลูกควรจะให้ความระมัดระวัง
                       เป็นพิเศษ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
                                      การเตรียมหน่อกล้ารากเปลือยโดยใช้หน่อพันธุ์อายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป เตรียมโดย
                       การตัดใบในกอแม่พันธุ์ให้สั้นสูงจากดิน 10 เซนติเมตร หน่อที่ออกดอกแล้วจะตายและงอก ไม่ดีจะถูก

                       ก าจัดออก หว่านปุ๋ยสูตร 15-15-15 แล้วให้น้ า โดยที่ยังไม่ต้องขุดกอขึ้นมา ปล่อยให้หน่ออ่อน หรือ
                       ใบแตกใหม่ขึ้นมาเป็นเวลา 15 วัน จึงขุดแยกกอและแยกเป็นหน่อเดี่ยวๆ ตัดยอดให้สั้นเหลือความยาว
                       ประมาณ 20 เซนติเมตร และตัดรากให้สั้นที่สุด ลอกกาบใบที่แก่ออกให้หมดล้างน้ าให้สะอาด มัด
                       รวมกันเป็นมัดๆ ละ 50 หรือ 100 หน่อ น าไปแช่ในน้ า หรือผสมสารฮอร์โมนเร่งราก หรือวางบน

                       ขุยมะพร้าวละเอียดที่ชุ่มชื้น ภายใต้ร่มเงา หรือแสงร าไรเป็นเวลา 3-5 วัน หญ้าแฝกจะแตกรากออกมา
                       ใหม่ ยาว 1 เซนติเมตร จ านวน 2-3 ราก จึงคัดเลือกไปปลูกช่วงต้นฤดูฝนที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง (กรม
                       พัฒนาที่ดิน, 2546)

                               1.4  การดูแลรักษาหญ้าแฝก
                               หญ้าแฝกเหมือนพืชทั่วไป จ าเป็นต้องอยู่ในสภาพที่เหมาะสมจึงเจริญเติบโตได้ดีการให้น้ า

                       เพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้น จึงเป็นสิ่งที่จ าเป็น ไม่ว่าจะใช้กล้าเป็นถุงพลาสติกหรือกล้ารากเปลือย ดังนั้น
                       จึงควรปลูกในขณะที่มีฝนตกติดต่อกันหลายวัน หรือภายหลังจากการปลูกหญ้าแฝกควรรดน้ าให้ดิน
                       มีความชุ่มชื้นต่อเนื่องอย่างน้อย 15  วัน และควรปลูกซ่อมแซมต้นที่ตาย เมื่อหญ้าแฝกมีการ

                       เจริญเติบโตเต็มที่จะมีความสูงมากกว่า 1.20  เมตร ซึ่งหากพื้นที่นั้นมีหญ้าอื่นปกคลุมจะท าให้สังเกต
                       แนวหญ้าแฝกได้ไม่ชัดเจน การตัดใบหญ้าแฝกทุกๆ 3-4 เดือน จะเป็นการช่วยให้แนวหญ้าแฝกมีการ
                       แตกกอเพิ่มขึ้น ตัดช่อดอก และยังเป็นการก าจัดโรคแมลงที่มาท าลายแนวหญ้าแฝก โดยในช่วงต้น
                       ฤดูฝนให้ตัดใบหญ้าแฝกให้สั้น สูงจากผิวดิน 30  เซนติเมตร เพื่อให้เกิดการแตกหน่อใหม่สูงขึ้น และ
                       ก าจัดหน่อแก่ที่แห้งตาย ส าหรับในช่วงกลางฤดูฝนควรตัดให้ใบสูงไม่ต่ ากว่า 40-50 เซนติเมตร เพื่อให้

                       มีแนวกอที่หนาแน่นในการรับแรงปะทะของน้ าไหลบ่าและท าให้หญ้าแฝกแตกใบเขียวในช่วงฤดูแล้ง
                       เมื่อตัดใบหลายครั้งหญ้าแฝกจะเริ่มเป็นก้านแข็ง ให้ตัดใบชิดดินเพื่อให้เกิดต้นใหม่ขึ้นมาทั้งหมด เป็น
                       การล้างกอเพื่อก าจัดแมลงศัตรูพืชไปในตัว และน าใบไปคลุมพื้นที่หรือท าปุ๋ยหมัก ท าเช่นนี้สลับกับการ

                       ตัดใบ แบบปกติที่ให้สูงจากผิวดิน 30  เซนติเมตร ทุกครั้งที่พบว่ากอหญ้าแฝกเริ่มมีต้นเป็นก้านแข็ง
                       (กรมพัฒนาที่ดิน, 2549)
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20