Page 17 - บทบาทของหญ้าแฝกในการบำบัดสารปนเปื้อนในน้ำและสิ่งแวดล้อม
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       12







                                      2) การปลูกเพื่อลดระดับน้ าใต้ดิน เป็นการปลูกเพื่อป้องกันดินเค็มหรือลดความ
                       เป็นกรดเป็นด่าง โดยปลูกให้เต็มพื้นที่เช่นเดียวกับการปลูกเพื่อปรับปรุงบ ารุงดิน ปกติใช้ระยะปลูก
                       ประมาณ 50×50 ตารางเซนติเมตร จะช่วยลดระดับน้ าใต้ดินที่เค็มหรือลดระดับน้ าใต้ดินที่ไปละลาย
                       ธาตุที่ท าให้ดินเค็มและเป็นกรดเพิ่มขึ้น

                                      3) การใช้ประโยชน์ในการบ าบัดน้ าเสียท าได้ 2 แบบ คือ แบบพื้นที่ชุ่มน้ า โดยปลูก
                       หญ้าแฝกระยะประมาณ 50×50 เซนติเมตร เมื่อหญ้าแฝกเจริญเติบโตมีอายุ 3-4 เดือน จึงปล่อยน้ า
                       เสียลงไปอย่าให้ล้นคันคู ให้มีน้ าท่วมขังสูง 10-15 เซนติเมตร เป็นเวลา 5-7 วัน จึงระบายน้ าออกและ
                       ไขน้ าเสียเข้ามาบ าบัดใหม่ ปฏิบัติอย่างนี้หมุนวนไปตลอดและควรตัดใบหญ้าแฝกทุก 1-2 เดือน น าใบ

                       ที่ตัดออกมาไปท าปุ๋ยหมัก พันธุ์หญ้าแฝกที่เจริญเติบโตในน้ าเสียได้ดี ได้แก่ หญ้าแฝกลุ่ม พันธุ์ใหม่
                       ห้วยหวาย ฟิจิ และอินโดนีเซีย น้ าเสียที่บ าบัดได้ดี ได้แก่ น้ าเสียจากชุมชนและน้ าเสียจากการเลี้ยง
                       ปศุสัตว์
                                      นอกจากนี้ยังมีการบ าบัดน้ าเสียด้วยระบบราก โดยให้รากหญ้าแฝกแช่ลงในน้ า

                       โดยตรง วิธีนี้เหมาะส าหรับหญ้าแฝกที่มีรากยาว โดยปลูกหญ้าแฝกลงในแพท่อพีวีซีที่ท าเป็น
                       ทุ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าประมาณ 1×1.20  เมตร ด้านล่างกรุด้วยตะแกรงพลาสติกขนาดช่อง 1×1
                       เซนติเมตร หลังจากนั้นน าหญ้าแฝกที่ปลูกแบบรากเปลือยไปท าเป็นแพลอยน้ าที่จะบ าบัด โดยให้แถว

                       ของหญ้าแฝกในแพขวางทางน้ าไหล หลังจากนั้นตัดใบหญ้าแฝกทุกๆ 1 เดือน เพื่อเร่งการแตกกอและ
                       การเจริญเติบโต เมื่อหญ้าแฝกอายุ 10-12  เดือน หรือต้นเป็นก้านแข็งไม่สามารถตัดได้ควรเปลี่ยน
                       หญ้าแฝกใหม่ พันธุ์หญ้าแฝกลุ่มที่เหมาะสมส าหรับการบ าบัดโดยวิธีนี้ได้แก่ พันธุ์ใหม่ห้วยหวาย ฟิจิ
                       และสุราษฎร์ธานี (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548)

                               1.6  กลไกการน าไอออนในดินมาสู่รากพืช

                               ปริมาณธาตุอาหารที่พืชดูดไปใช้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ คือ ความเป็น
                       ประโยชน์ของธาตุนั้นในดิน การเคลื่อนย้ายของไอออนมาสู่ผิวราก และอัตราการดูดไอออนของรากพืช
                       ไอออนของดินมาสู่รากพืชได้ 3 วิธี ดังนี้ (ชยพร, 2559)
                                   1.6.1 ไอออนไหลแบบกลุ่มก้อนตามกระแสน้ า (mass flow) ในขณะที่พืชก าลังด ารงชีพ
                       อยู่นั้นรากย่อมดูดน้ าจากดินมาใช้อยู่เสมอ โดยน้ าในดินถูกดูดเข้าสู่รากพืช เคลื่อนย้ายไปในรากและ

                       ล าต้น น้ าส่วนหนึ่งถูกน าไปใช้ในการเจริญเติบโต แต่ส่วนมากจะเป็นไอออกทางปากใบ ซึ่งเรียกว่า
                       การคายน้ า จากการที่พืชดูดน้ าทางรากและคายน้ าทางใบอย่างต่อเนื่องนี้ สารละลายของดินปริมาณ
                       มากเคลื่อนย้ายจากดินมาสู่ผิวราก ท าให้ไอออนต่างๆ ในสารละลายดินมากับกระแสน้ า หลังจากนั้น

                       รากพืชจะมีกลไกการดูดไอออน โดยการไหลมาพร้อมกับกระแสน้ า ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้น้ าของพืช
                       และความเข้มข้นของไอออนในสารละลายของดินจากการศึกษาพบว่าฟอสฟอรัสเข้าสู่รากข้าวโพด
                       โดยกระบวนการนี้ประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22