Page 18 - บทบาทของหญ้าแฝกในการบำบัดสารปนเปื้อนในน้ำและสิ่งแวดล้อม
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       13







                                   1.6.2 การแพร่ (diffusion) เมื่อรากพืชได้ดูดไอออนชนิดหนึ่งจากสารละลายดินเข้าไป
                       ในรากแล้วความเข้มข้นของไอออนชนิดนั้นๆ ในสารละลายดินบริเวณใกล้รากพืชย่อมลดต่ ากว่า
                       บริเวณใกล้เคียง ไอออนประเภทเดียวกันจากบริเวณอื่นๆ ซึ่งมีความเข้มข้นสูงกว่าสามารถแพร่
                       มาสู่จุดที่ต่ ากว่าเพื่อรักษาสมดุลไว้ จากการศึกษาพบว่าฟอสฟอรัสเข้าสู่รากข้าวโพดโดยกระบวนนี้

                       ถึง 90 เปอร์เซ็นต์
                                   1.6.3 รากไชชอนไปสัมผัสคอลลอยด์ดินและไอออนที่อยู่ห่างจากบริเวณเดิม (root
                       interception) รากพืชรวมถึงรากขนอ่อนมีการเจริญเติบโตในแง่การขยายขนาดและเพิ่มความยาว จึง
                       ไชชอนออกไปสัมผัสกับดินได้กว้างขวางและทั่วถึงยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่าฟอสฟอรัสเข้าสู่ราก

                       ข้าวโพดโดยกระบวนการนี้ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการแผ่ขยายของรากไปสัมผัสกับคอลลอยด์ดิน
                       และไอออนจะเกิดผล 2 ประการ คือ
                                                                                                     +
                                      1) เมื่อรากสัมผัสแนบชิดกับผิวคอลลอยด์ จะมีการแลกเปลี่ยนระหว่าง H  ที่
                                                                                                  +
                       ผิวรากซึ่งมาจากเมแทบอลิซึมของรากเอง กับแคตไอออนซึ่งดูดซับอยู่ที่ผิวคอลลอยด์ เช่น K   Ca ++
                                                                                    +
                       เป็นต้น ท าให้แคตไอออนดังกล่าวย้ายไปดูดซับที่ผนังเซลล์ของราก แล้ว H  ออกมาดูดซับกับผิวของ
                       คอลลอยด์แทน ปรากฏการณ์ดังกล่าวเรียกว่าการแลกเปลี่ยนไอออน เมื่อสัมผัส (contact
                       exchange) ท าให้แคตไอออนแลกเปลี่ยนได้มาดูดซับกับผนังของเซลล์ราก ส่วนการดูดเข้าไปในเซลล์

                       รากนั้นเป็นอีกกลไกหนึ่ง อย่างไรก็ตามกลไกนี้มีส่วนสนับสนุนให้รากพืชได้รับธาตุอาหารไม่มากนัก
                       จากการศึกษาพบว่าฟอสฟอรัสเข้าสู่รากข้าวโพดโดยกระบวนการนี้ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์
                                      2) รากมีโอกาสสัมผัสไอออนต่างๆ ในสารละลายของดินจ านวนมากและทั่วถึง
                       กว่าเดิม เมื่อรากไชชอนขยายบริเวณออกไปยังช่วยลดระยะทางและเวลาที่ไอออนในส่วนอื่นๆ จะต้อง
                       เคลื่อนย้ายมาสู่ผิวราก ซึ่งอาจจะไหลแบบกลุ่มก้อนตามกระแสน้ าหรือการแพร่ได้เป็นอันมาก ผิวราก

                       ที่แผ่ขยายออกไปจึงสัมผัสกับไอออนได้รวดเร็วและทั่วถึง
                                      อย่างไรก็ตามแม้การไชชอนของรากจะก่อให้เกิดผลดังกล่าว แต่การแพร่ของ
                       ไอออนในสารละลายดินและการไหลแบบกลุ่มก้อนของไอออนตามกระแสน้ า ยังมีบทบาทในการสนอง

                       ธาตุอาหารจากบริเวณใกล้เคียงให้แก่รากพืช แม้ว่ากลไกทั้ง 3 แบบ จะรับผิดชอบโดยตรงต่ออัตราการ
                       เคลื่อนย้ายของไอออนมาสู่ผิวรากก็ตาม ยังมีปัจจัยเสริมอีก 2 ประการที่ช่วยเร่งให้รากพืชได้รับ
                       ไอออนมากขึ้น คือ เอ็กชูเดตของราก (root  exudates) และกิจกรรมของจุลินทรีย์ในไรโซสเฟียร์
                       (rhizosphere)  การที่รากพืชคายคาร์บอนไดออกไซด์ และขับอินทรียสารหลายชนิดออกมาสู่ดิน

                       ของเหลวที่ถูกขับออกมานี้ เรียกว่าเอ็กชูเดตของราก นอกจากนี้ยังมีเยื่อหมวกรากเก่าในบริเวณนั้นอีก
                       ด้วย ซึ่งสารอินทรีย์เหล่านี้เป็นอาหารและแหล่งพลังงานที่ดีของจุลินทรีย์ดิน ท าให้ดินที่อยู่ชิดผิวราก
                       ในอาณาบริเวณใกล้ๆ มีกิจกรรมทางชีวเคมีสูง ซึ่งก่อประโยชน์หลายประการแก่พืช จึงเรียกบริเวณนี้
                       ว่าไรโซสเฟียร์ กิจกรรมดังกล่าวมีส่วนช่วยให้ไอออนของธาตุอาหารมาสู่ผิวรากได้เร็วขึ้น
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23