Page 16 - บทบาทของหญ้าแฝกในการบำบัดสารปนเปื้อนในน้ำและสิ่งแวดล้อม
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       11







                               1.5  การใช้ประโยชน์หญ้าแฝกในรูปแบบต่างๆ
                                   1.5.1 การใช้ประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ดินและน้ าในการเกษตรบนพื้นที่ลาดชัน
                       และพื้นที่สูงมักก่อให้เกิดปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน ซึ่งมีผลกระทบต่อทรัพยากรที่ดิน
                       และสภาพแวดล้อม ท าให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตพืชลดลงและแหล่งน้ าตื้นเขิน การ

                       ควบคุมและแก้ไขปัญหาการชะล้างพังทลายของดินกระท าได้โดยการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถบขวาง
                       ความลาดเทของพื้นที่ เพื่อดักตะกอนดินและยึดต้นไม้ไม่ให้พังทลาย ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถลด
                       การชะล้างพังทลายของดินได้ดี นอกจากนี้ยังมีการใช้หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ านอกพื้นที่
                       การเกษตร เช่น การปลูกหญ้าแฝกเป็นก าแพงกั้นชะลอความเร็วของน้ าและดักตะกอนดินไม่ให้ไหลลง

                       สู่พื้นที่ตอนล่าง การป้องกันการชะกร่อนของดินบริเวณพื้นที่ป่าไม้ ไหล่ทาง ถนน สะพาน อ่างเก็บน้ า
                       แม่น้ าและล าคลองต่างๆ
                                   1.5.2  การใช้ประโยชน์ด้านการปรับปรุงบ ารุงดินหญ้าแฝกนอกจากจะช่วยในการ
                       อนุรักษ์ดินและน้ าแล้ว ยังมีบทบาทที่ส าคัญในการปรับปรุงบ ารุงดินทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยเฉพาะ

                       อย่างยิ่งใบและรากของหญ้าแฝกนั้น เมื่อมีการย่อยสลายแล้วสามารถปล่อยธาตุอาหารหลัก และธาตุ
                       อาหารรองแก่ดิน รากหญ้าแฝกจะช่วยให้ดินร่วนซุย เนื่องจากรากหญ้าแฝกหยั่งลึกลงดิน จึงมีการดูด
                       ธาตุอาหารจากดินล่างขึ้นมาหมุนเวียน และยังพบจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์หลายชนิดอาศัยอยู่ใน

                       บริเวณรากของหญ้าแฝก เมื่อรากหญ้าแฝกตายลงเกิดช่องว่างส าหรับน้ า และอากาศถ่ายเทได้สะดวก
                       เป็นสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชหรือช่วยให้ธาตุอาหารพืชซึมลงดินได้มากขึ้น
                                   1.5.3 การใช้ประโยชน์ด้านการรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมลักษณะทางพฤกษศาสตร์
                       ของหญ้าแฝกที่โดดเด่น คือ รากสามารถหยั่งลึกลงในดินตามแนวดิ่ง ปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดี
                       ในสภาพดินและสภาพอากาศในช่วงกว้าง สามารถดูดซับสารต่างๆ ได้ดี จึงได้มีการน าหญ้าแฝกมาใช้

                       ในการบ าบัดและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมกันอย่างกว้างขวาง (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548) มีรายงานว่าหญ้าแฝก
                       มีความสามารถในการดูดซับสารต่างๆ ได้ดี จากคุณสมบัติดังกล่าวจึงได้น าหญ้าแฝกมาใช้ในการรักษา
                       และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ได้แก่

                                      1)  การใช้ประโยชน์ในการก าจัดสารพิษจากขยะเป็นการปลูกสกัดไม่ให้สารพิษ
                       ในส่วนที่เป็นน้ าไหลออกมานอกกองขยะ ท าได้โดยปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวเช่นเดียวกับการปลูก
                       ล้อมต้นไม้ แต่เป็นการปลูกล้อมกองขยะ โดยการปลูกชิดติดกันเหมือนการปลูกอนุรักษ์ดินและน้ า
                       จ านวน 3-5  วง ห่างกันวงละ 2  เมตร หรือเป็นเส้นขวางทางน้ าจากกองขยะที่จะไหลไปปนเปื้อน

                       บริเวณที่ต่ ากว่า จ านวน 3-5 แถว ห่างกันแถวละ 2 เมตร
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21