Page 85 - ผลสัมฤทธิ์ของการบูรณาการงานในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำเข็ก อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 85

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        54







                                                               บทที่ 3
                                                             ตรวจเอกสาร


                       3.1 การใช้ประโยชน์ที่ดิน
                              หมายถึง การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินว่าเป็นไปในรูปใด เช่น การท าเกษตรกรรม
                       เหมืองแร่ การก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย เป็นต้น(กรมพัฒนาที่ดิน, 2547)
                              3.1.1 ประเภทของรูปแบบการใช้ที่ดิน

                                      การใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่มีการควบคุมหรือวางผังเมือง จะมีลักษณะเคล้าคละปะปน
                       กันไม่เป็นระเบียบ ความแออัดจะกระจุกตัวอยู่ที่ศูนย์กลางและกระจายออกไปรอบนอกชุมชนอย่างไร้
                       ทิศทาง และแบบแผน เมื่อชุมชนขยายตัวไปสู่ความเป็นเมือง ปัญหาต่างๆ ก็จะตามมา การวางผังเมือง
                       เป็นการจัดระเบียบการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระบบคมนาคมขนส่ง และเตรียมรองรับการขยายตัวของ

                       เมืองในอนาคตโดยการพิจารณาแผนประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นการพิจารณาจากการใช้อาคาร
                       และที่ดินที่เกี่ยวข้องกับการด ารงชีพของประชาชน 3 ส่วน คือ (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์
                       พืช, 2548)

                                      1) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัย (Residential Land Uses)
                                           แนวความคิดหลักที่ใช้ในการวางผังที่อยู่อาศัย ได้แก่ Neighborhood
                       Concept เป็นการกระจายความเจริญจากชุมชนหลักออกไปสู่ส่วนต่างๆ ของเมือง ให้ประชาชนได้รับ
                       การบริการทางด้านสาธารณูปโภค และสาธารณูปการโดยทั่วถึง และเท่าเทียมกัน มีการอยู่อาศัยที่ดี
                       และน่าพึงปรารถนา กรมการผังเมืองได้จ าแนกที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

                                           1.1) ประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
                                           1.2) ประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
                                           1.3) ประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง

                                           1.4) ประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
                                           1.5) ประเภทอนุรักษ์เพื่อการอยู่อาศัย
                                           การก าหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัย มีหลักการส าคัญว่าพื้นที่
                       ดังกล่าวควรจะเป็นบริเวณที่มีการระบายน้ าดี ลักษณะดินไม่เป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้าง มีศักยภาพ

                       ในการจัดบริการทางด้านสาธารณูปโภคสาธารณูปการได้เพียงพอ มีความสะดวกในการเข้าถึง มีความ
                       ปลอดภัยจากสิ่งรบกวนต่างๆ มีสภาพแวดล้อมที่ดีใกล้สถานที่ท างานและย่านการค้า เป็นต้น
                                      2) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม (Commercial Land Uses)
                                           การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการพาณิชยกรรม เป็นลักษณะเด่นของการใช้

                       ประโยชน์ที่ดินในเมืองเป็นบริเวณที่มีการรวมตัวของการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เข้มข้น เป็นศูนย์กลาง
                       ธุรกิจการพาณิชย์ และการ บริการ โดยเฉลี่ยแล้วประมาณร้อยละ  2-5  ของพื้นที่เมือง เป็นที่ดินที่ใช้
                       ประโยชน์เพื่อการพาณิชยกรรม การใช้ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
                                           2.1)  ร้านค้าเบ็ดเตล็ด และตลาดสด (Neighborhood  &  Convenient

                       Stores and Community Markets) เป็นสถานที่จ าหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ดในชีวิตประจ าวัน รวมถึง
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90