Page 106 - ผลสัมฤทธิ์ของการบูรณาการงานในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำเข็ก อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 106

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        75







                                      2) ห้ามกระท าการใดๆรวมถึงการท าให้เกิดการปนเปื้อนของสารพิษที่เป็นอันตราย
                       ต่อดินหรือท าให้สภาพที่ดินเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง
                                      3) ก าหนดมาตรการอื่นๆตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมแก่สภาพพื้นที่นั้น

                                 ในการก าหนดมาตรการตาม (3.8.1) (3.8.2) และ (3.8.3) ให้ด าเนินการจัดให้มีการรับฟัง
                       ความเห็นของประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากการก าหนดมาตรการดังกล่าว
                                  มาตรา 16 ให้กรมพัฒนาที่ดินมีหน้าที่ส ารวจและวิเคราะห์ตรวจสอบดินหรือที่ดินเพื่อให้
                       ทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติความเหมาะสมแก่การใช้ประโยชน์ที่ดินหรือภาวะเศรษฐกิจ

                       ที่ดินหรือเพื่อประโยชน์ในการจ าแนกประเภทที่ดินการพัฒนาที่ดินการก าหนดบริเวณการใช้ที่ดินการ
                       ก าหนดเขตการอนุรักษ์ดินและน้ าและการท าส ามะโนที่ดินเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้และ
                       ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
                          3.6.2 ขั้นตอนการด าเนินงานจัดตั้งเขตพัฒนาที่ดิน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้

                                     1) สถานีพัฒนาที่ดินคัดเลือกพื้นที่ท าการเกษตรที่มีปัญหาทรัพยากรที่ดิน และเกษตรกรมี
                       ส่วนร่วม วงขอบเขตครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ าย่อยลงบนแผนที่ภูมิประเทศ น าเสนอส านักงานพัฒนาที่ดิน
                       เขต พิจารณาให้ความเห็นชอบ และส่งให้กองแผนงานรวบรวมจัดส่งให้ส านักเทคโนโลยีการส ารวจ

                       และท าแผนที่ ระบุชื่อลุ่มน้ าย่อย ลุ่มน้ าสาขา ลุ่มน้ าหลัก บ้าน ต าบล อ าเภอ จังหวัด
                                 2)  ส านักเทคโนโลยีการส ารวจและท าแผนที่ด าเนินการวงรอบขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้ าย่อย
                       ตามที่สถานีพัฒนาที่ดินคัดเลือก ลงในแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี 1 ต่อ 4,000 และ 1 ต่อ 25,000 (กรณี
                       ที่เป็นลุ่มน้ าย่อยขนาดใหญ่มาก) พร้อมเส้นระดับความสูง เป็นภาพพิมพ์และดิจิตอล 2 ชุด โดยจัดส่ง
                       ให้ส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน 1 ชุด และส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 ชุด

                                 3) ส านักส ารวจดินและวิจัยทรัพยากรดินจัดท าแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ าย่อยเบื้องต้น มาตรา
                       ส่วน 1:25,000 หรือ 1:50,000 พร้อมทั้งจัดท าแผนที่ดิน (Soil  map)  แผนที่สภาพการใช้ที่ดิน
                       (Present  land  use)  แผนที่แหล่งน้ าและชลประทาน แผนที่ป่าไม้ตามกฎหมาย แผนที่เขตการใช้

                       ที่ดินเบื้องต้น จัดส่งให้ส านักงานพัฒนาที่ดินเขต เพื่อใช้ประกอบการวางแผนด าเนินการในพื้นที่ต่อไป
                                     4) ส านักงานพัฒนาที่ดินเขตและสถานีพัฒนาที่ดินร่วมกันด าเนินการดังนี้
                                            (1) กรณีลุ่มน้ าย่อยที่คัดเลือกด าเนินการครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น มีพื้นที่
                       มากกว่า 100,000 ไร่ขึ้นไป ให้พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ที่จะด าเนินการในระยะแรกก่อน โดยส านักงาน

                       พัฒนาที่ดินเขตเป็นผู้รับผิดชอบในการวงรอบขอบเขตพื้นที่ด าเนินการลงแผนที่ให้สถานีพัฒนาที่ดิน
                       ตามที่เห็นชอบร่วมกันแล้ว
                                            (2) เก็บรวบรวมข้อมูลและแผนที่พื้นฐานในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน ได้แก่ ถนน
                       หมู่บ้าน ล าน้ า แหล่งน้ า พื้นที่ชลประทาน ลักษณะดิน การถือครองที่ดิน พื้นที่ป่าตามกฎหมาย พื้นที่

                       สารบัญทะเบียนที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) นิคม ที่ดินตามสิทธิ์ท ากิน (ส.ท.ก.) แผนพัฒนา
                       เกษตรระดับต าบล แผนพัฒนาทรัพยากรที่ดินระดับต าบล เขตการใช้ที่ดิน สภาพภูมิประเทศ สภาพ
                       ภูมิอากาศ ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น
                                            (3) จัดท าข้อมูลแผนที่ชนิดต่างๆ ในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ าย่อยครอบคลุมทั้งลุ่ม

                       น้ าย่อย (1 ต่อ 25,000)
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111