Page 104 - ผลสัมฤทธิ์ของการบูรณาการงานในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำเข็ก อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 104

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        73







                       วัตถุประสงค์ และตัวสารปรับปรุงดินเองก็มีสมบัติเหมาะสมต่อการแก้ปัญหาสมบัติทางกายภาพของ
                       ดินมากกว่าการปรับปรุงสมบัติทางเคมีและความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืชในดิน ดังนั้นสาร
                       ปรับปรุงดินส่วนมากจึงไม่ใช่สารบ ารุงดินที่จะมีผลต่อการเพิ่มพูนธาตุอาหารพืชโดยตรง แต่บางชนิดก็

                       อาจมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน และบ ารุงความอุดมสมบูรณ์
                       ของดินไปพร้อมกัน เช่น สารปรับปรุงดินในรูปของสารอินทรีย์ที่เป็นผลพลอยได้ทางการเกษตรและ
                       อยู่ในรูปที่สลายตัวง่ายและเร็ว มีธาตุอาหารพืชสูง เช่น กากากเมล็ดนุ่น กากเมล็ดฝ้าย กากาละหุ่ง
                       กระดูกป่น ฯลฯ หรือเป็นสารอินทรีย์ที่มีธาตุอาหารพืชต่ า แต่มีการใช้ในปริมาณมาก เช่นเปลือกมัน

                       ค้างปี กากาอ้อย กากส่าเหล้า เป็นต้น
                              การจ าแนกประเภทของสารปรับปรุงดินขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ก าหนดในการจ าแนกเป็นส าคัญ
                       ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าจะจ าแนกประเภทของสารปรับปรุงดินตามลักษณะองค์ ประกอบของตัวสาร สาร
                       ปรับปรุงดินอาจจ าแนกออกไดเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

                                      1) สารอนินทรีย์หรือสารเคมี ได้แก่ สารปรับปรุงดินในรูปหินหรือแร่ตามธรรมชาติที่
                       ไม่มีการปรุงแต่งหรือการปรุงแต่งโดยใช้ความร้อน เช่น วัสดุปูนไลม์ ยิปซั่ม แร่พูไมซ์ แร่ซีโอไลท์
                       รวมทั้งสารเคมีที่สังเคราะห์ขึ้น เช่น สารประกอบแคลเซียม โพลีซัลไฟท์ หรือสารที่เป็นผลพลอยได้

                       จากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ฟอสโพยิปซั่ม เป็นต้น
                                      2) สารอินทรีย์ ได้แก่ สารอินทรีย์ธรรมชาติที่ไม่มีการปรุงแต่งหรือมีการ   ปรุงแต่ง
                       เช่น เศษซากพืช ปุ๋ยหมัก ฯลฯ ผลพลอยได้ทางการเกษตรโดยตรงและจากโรงงานอุตสาหกรรมทั้งใน
                       และนอกภาคเกษตร เช่น ขุยมะพร้าว แกลบดิน กากาอ้อย กากน้ าตาล สารฮิวมัสและจีเอ็มแอลจาก
                       โรงงานผงชูรส กากากระดาษ ฯลฯ รวมทั้งสารอินทรีย์สังเคราะห์ที่สังเคราะห์ขึ้นโดยขบวนการทาง

                       เคมี เช่น สารโพลีเมอร์ที่ละลายน้ าได้ เช่น สารโพลีครีลามีด สารดูดน้ าโพลิเมอร์ สารประกอบ
                       แอมโมเนียลลอเร็ชซัลเฟต เป็นต้น
                                      3)  สารอนินทรีย์ผสมสารอินทรีย์ ไดแกสารปรับปรุงดินที่ผลิตขึ้นโดยการผสมวัสดุ

                       ปรับปรุงดินในรูปสารอนินทรีย์ลงในสารอินทรีย์เพื่อเพิ่มคุณค่าของตัวสารหรือเพื่อการใช้ประโยชน
                       แบบผสมผสาน เช่น การผลิตปุ๋ยหมักโดยการผสมปุ๋ยเคมีและแรพูไมซ์เข้าด้วยกัน หรือการผลิตสาร
                       ปรับปรุงและบ ารุงดินเพื่อใช้ประโยชนในลักษณะอเนกประสงค์ เช่น สารปรับปรุงดินที่มีชื่อว่า เทอรา
                       คอตเต็ม (Terracottem) ที่มีองค์ประกอบส าคัญประกอบด้วยสารดูดน้ าโพลิเมอรปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์

                       และสารเร่งการเจริญเติบโตของพืช เป็นต้น
                              ถ้าพิจารณาจ าแนกประเภทตามลักษณะการใช้ประโยชน์เพื่อการปรับปรุงดิน เราอาจจ าแนก
                       สารปรับปรุงดินออกได้ดังนี้
                                      1)  สารปรับปรุงดินทางด้านกายภาพเป็นหลัก ได้แก่ สารปรับปรุงดินที่ในรูป

                       สารอินทรีย์ต่างๆ เช่น เปลือกมันค้างปี กากาอ้อย ขุยมะพร้าว แกลบดิน ฟอสโฟยิปซั่มPAM สารดูด
                       น้ าโพลิเมอร์ ฯลฯ
                                      2)  สารปรับปรุงสมบัติทางเคมีเป็นหลัก ส่วนใหญ่ได้แก่ สารปรับปรุงดินในรูป
                       สารประกอบอนินทรีย์หรือสารเคมี เช่น สารปูนไลม์ (ปูนสุก ปูนขาว หินปูน ปูนมาร์ล) ก ามะถันผง

                       และรวมทั้งแร่ต่างๆ เช่น แร่พูไมซ์ ซีโอไลท์ เพื่อเพิ่มสมบัติความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก ละ
                       ความจุบัฟเฟอร์ของดินเนื้อหยาบ เป็นต้น
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109