Page 199 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 199

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                         4-11





                                    (2)ส่งเสริม สนับสนุนการผลิตสินค้าข้าวและผลิตภัณฑ์เพื่อตลาดเฉพาะ
                                      ส่งเสริม สนับสนุนการผลิตสินค้าข้าวเพื่อตลาดเฉพาะ (Niche Market) เช่น ข้าวอินทรีย์

                      ข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI)ข้าวมูลค่าสูงเฉพาะถิ่น สร้างตราสินค้าข้าวและ
                      ผลิตภัณฑ์ พร้อมสร้างตลาดรองรับควบคู่กันไป

                                      สนับสนุนโรงสีข้าวให้แก่ชุมชน และส่งเสริมให้ชุมชนสีแปรสภาพข้าวเปลือก
                      เป็นข้าวสาร และแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวทั้งที่เป็นอาหารและไม่เป็นอาหาร

                                    (3) ยกระดับการผลิตข้าวให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน และเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบ

                      และรับรองคุณภาพข้าวและผลิตภัณฑ์
                                      ส่งเสริมให้ชาวนาผลิตข้าวให้มีคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐานการผลิต ได้แก่Pre-

                      GAP GAP GI และอินทรีย์ และปลอดการดัดแปรพันธุ์กรรม (Non-GMOs) รวมทั้งส่งเสริมโรงสีข้าว
                      พัฒนาการผลิตให้ได้มาตรฐานการผลิตที่ดีสําหรับอาหาร (Good Manufacturing Practices)

                                      นําระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) มาใช้แก้ไขปัญหาและสร้างความเชื่อมั่น
                      ให้กับผู้บริโภค รวมทั้งให้มีการสร้างแรงจูงใจ (Incentive) ให้กับชาวนาที่ผลิตข้าวมีคุณภาพได้มาตรฐาน

                                      กําหนดมาตรฐานข้าวเปลือก และทบทวนปรับปรุงมาตรฐานสินค้าข้าวสาร ที่กําหนด
                      โดยกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้สอดรับกัน และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย

                                      พัฒนาระบบและเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบและรับรองคุณภาพข้าวและ
                      ผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานสากล สามารถบริการชาวนาได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง

                                    (4)สร้างระบบการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต ผู้จําหน่าย และผู้บริโภค

                                      สร้างความเชื่อมโยงระหว่างชาวนา (ต้นนํ้า) โรงสีและผู้ประกอบการค้าข้าว และ
                      ผู้จําหน่าย (กลางนํ้า) และผู้บริโภค (ปลายนํ้า) ในรูปแบบของการจัดการห่วงโซ่อุปทานร่วมกัน
                                    (5)วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

                                      วิจัยและพัฒนาการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากข้าวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ทั้งที่เป็น

                      ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร เช่น อาหารพร้อมทาน อาหาร
                      และเครื่องดื่มบํารุงสุขภาพ เครื่องสําอาง เวชภัณฑ์ สุรา รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตพลังงานจาก

                      วัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตข้าว และพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อคงสภาพของผลิตภัณฑ์ข้าว
                                    (6)เผยแพร่ประชาสัมพันธ์คุณค่าของข้าวและผลิตภัณฑ์

                                      เผยแพร่ประชาสัมพันธ์เชิงรุก ผ่านช่องทางสื่อสารประชาสัมพันธ์ต่างๆ ทุกรูปแบบ
                      ให้ผู้บริโภคเห็นถึงความสําคัญ คุณค่า และประโยชน์ของข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว
   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204