Page 204 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 204

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                         4-16





                                 (4)ส่งเสริมการทําสัญญาข้อตกลงระหว่างเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรกับ
                      ผู้ประกอบการที่ใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบ เช่น ผู้ส่งออก โรงสี โรงงานแปรรูป ผู้ค้าข้าวถุง และ Modern Trade

                                 (5)การผลักดันให้ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้เป็นกลไกสําคัญ เพื่อเป็น

                      ศูนย์กลางในการซื้อขายข้าวในตลาดอาเซียน เพื่อให้มีบทบาทในการใช้เป็นเครื่องมือที่สะท้อนราคา
                      ข้าวจากประเทศไทยที่น่าเชื่อถือ

                                 (6) ส่งเสริมการเปิดตลาดล่วงหน้าข้าวเปลือกควบคู่ไปกับตลาดล่วงหน้าข้าวสาร เพื่อสร้าง

                      การเชื่อมโยงเรื่องราคาในตลาดล่วงหน้าไปสู่เกษตรกรโดยตรง
                                 (7)ส่งเสริมและพัฒนาระบบตลาดกลางข้าวเปลือกและตลาดกลางประมูลข้าวสาร


                                 (8)กําหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษการค้าข้าวบริเวณชายแดน ที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
                      หรือโรงสีในเขตภาคเดียวกัน เพื่อรวบรวม แปรรูป และส่งออกไปต่างประเทศ โดยมีการรับฟังความ
                      คิดเห็นจากผู้ค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อนมีการเปลี่ยนแปลงกฎ ระเบียบที่กระทบต่อสภาพการค้า

                      และการเปิดตลาด AEC และเขตเศรษฐกิจพิเศษ

                                 (9)ส่งเสริมการพัฒนาระบบใบประทวนสินค้า (Warehouse Receipt) ให้สามารถใช้เป็น
                      ตราสารที่ได้รับความเชื่อถือและใช้แทนการส่งมอบรับมอบจริง

                              5) สร้างค่านิยมการบริโภคข้าว

                                 แนวทางดําเนินการ
                                 1) รณรงค์ ปลูกฝัง สร้างค่านิยมการบริโภคข้าวไทย

                                 2) รวบรวมองค์ความรู้เรื่องข้าวและจัดให้มีระบบการเปิดเผยข้อมูลทั้งการผลิตและ

                      การค้าที่ภาครัฐมีอยู่ให้เป็นสาธารณะและเข้าถึงได้ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมและกระตุ้น
                      การบริโภคข้าวทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตลาดข้าวลักษณะพิเศษ (Niche

                      Market)  เช่น ข้าวอินทรีย์ ข้าวที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) และข้าวที่มีคุณค่า
                      ทางโภชนาการสูง

                                 3) ส่งเสริมการตลาดส่งออก โดยจัดคณะผู้แทนร่วมภาครัฐและเอกชนไปเจรจาขยาย
                      ตลาดทั้งในรูปแบบรัฐต่อรัฐและเอกชน ตลอดจนผลิตและวางสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง

                      ในประเทศและต่างประเทศ เช่น โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ป้ ายโฆษณาในสนามบิน ฯลฯ หรือจัด
                      กิจกรรมอื่นๆ ที่ทําร่วมกับสมาคมผู้ค้าข้าวภาคเอกชน เพื่อรักษาตลาดเดิม และแสวงหาตลาดใหม่ทุก

                      ชนิดข้าว
                                 4) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์คุณภาพมาตรฐานข้าวไทยและข้าวหอมมะลิไทยให้เข้าถึง

                      กลุ่มผู้นําเข้า ผู้ซื้อ ผู้บริโภคทั้งในประเทศ และต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209