Page 198 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 198

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                         4-10





                                  (10) เร่งรัดการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว เทคโนโลยี และเพิ่มศักยภาพการวิจัย
                                      ปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี ตรงตามความต้องการของตลาด โดยปรับปรุง

                      พันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ข้าวไทยปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงศักยภาพ
                      ผลผลิต 1,500 กิโลกรัมต่อไร่ พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสงศักยภาพผลผลิต 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ พันธุ์ข้าว

                      ลูกผสมที่ตอบสนองต่อปัจจัยการผลิตดี ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ผสมอย่างน้อยร้อยละ20 พันธุ์ข้าวที่
                      เหมาะสมกับพื้นที่ปรับตัวเข้ากับ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Smart Variety) พันธุ์ข้าวที่

                      ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สําคัญเพื่อรักษาเสถียรภาพผลผลิต พันธุ์ข้าวหอมที่มีปริมาณ อมิ
                      โลสปานกลาง ตรงตามความต้องการของตลาดผลผลิตสูงปลูกได้ทุกฤดู พันธุ์ข้าวที่มีคุณค่าทาง

                      โภชนาการสูง และพันธุ์ข้าวที่มีคุณสมบัติเฉพาะเพื่อการแปรรูปเป็นอาหารเสริมสุขภาพ เวชภัณฑ์เวช
                      สําอาง
                                      เร่งรัดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และ

                      รักษาเสถียรภาพการผลิตข้าว ในด้านต่างๆ ได้แก่ การใช้อัตราเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีเหมาะสมกับแต่ละ

                      วิธีปลูก การผลิตและการกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว การจัดการดิน นํ้า และปุ๋ ย ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
                      การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน การลดการใช้สารเคมี การลดการสูญเสียในกระบวนการเก็บเกี่ยว
                      การเก็บรักษาและการขนส่ง พัฒนาเครื่องต้นแบบเครื่องจักรกลการเกษตร และการผลิตข้าวเฉพาะ

                      พื้นที่

                                      เพิ่มศักยภาพการวิจัยและพัฒนาข้าว โดยการสร้างโจทย์การวิจัยจากผู้มีส่วนได้
                      ส่วนเสีย ต่อยอดงานวิจัยเชิงพาณิชย์ พัฒนางานวิจัยเชิงบูรณาการ การนําเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ใน
                      การวิจัย สร้างพันธมิตร การวิจัยและร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศ สร้างนักวิจัยข้าวรุ่นใหม่

                      รวมทั้งเร่งรัด การจัดตั้ง สถาบันด้านการพัฒนาข้าวแห่งชาติ ให้มีอัตรากําลังตามโครงสร้าง ครอบคลุม

                      ทุกสาขา สนับสนุนให้มีเครื่องมืออุปกรณ์การวิจัยที่ทันสมัยอย่างเพียบพร้อม เพื่อเป็นศูนย์กลางวิจัย
                      ข้าว ผลิตภัณฑ์ และพัฒนานักวิจัยในระดับโลก
                                 3) การยกระดับคุณภาพและการเพิ่มมูลค่าข้าว

                                    แนวทางดําเนินการ

                                    (1)เร่งรัดส่งเสริมการผลิตข้าวคุณภาพสูง
                                      เร่งรัดส่งเสริมให้ชาวนาปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพสูง ตรงตามความ
                      ต้องการของตลาด โดยใช้พันธุ์ดีที่ผ่านการรับรองพันธุ์ของกรมการข้าว เช่น การผลิตข้าวหอมมะลิ

                      ข้าวขาว 100%เป็นต้น
                                      ควบคุมไม่ให้ชาวนาปลูกข้าวโดยใช้พันธุ์ข้าวอายุสั้นที่ให้ข้าวสารคุณภาพตํ่า โดย

                      ภาครัฐออกประกาศไม่ให้ชาวนาปลูกข้าวโดยใช้พันธุ์ข้าวอายุสั้นที่ให้ข้าวสารคุณภาพตํ่า จํานวน 18 พันธุ์
                      และขอความร่วมมือจากโรงสีไม่ให้รับซื้อผลผลิตข้าวเปลือกที่ปลูกมาจากข้าวอายุสั้นของชาวนา
   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203