Page 196 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 196

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          4-8





                      ปริมาณ และเวลาสร้างความเข้มแข็งของผู้ผลิตและจําหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว เพิ่มช่องทางการเข้าถึงเมล็ด
                      พันธุ์คุณภาพดีของชาวนาควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตและจําหน่ายให้ได้มาตรฐาน สร้างกลไก

                      กําหนดราคาจําหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวให้เพียงพอ ทั่วถึง และทันเวลา
                                      ผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุนให้

                      ชาวนาได้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี
                                    (2)ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิตข้าว และปรับเปลี่ยนกรรมวิธีการ

                      ผลิตข้าวมาเป็นแบบประณีต

                                      ส่งเสริมให้ชาวนาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ (Modern Technology) ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
                      กับพื้นที่เพาะปลูก (Site Specific Technology) และใช้เทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิตข้าวด้วยกระบวนการ

                      ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
                                      ส่งเสริมให้ชาวนาปรับเปลี่ยนกรรมวิธีผลิตข้าวมาเป็นการทํานาแบบประณีต (Intensive

                      Farming) เช่นการเปลี่ยนจากการหว่านมาเป็นการปักดํา หรือหยอด ให้หมั่นดูแลแปลงนาอย่างใกล้ชิด
                      และสมํ่าเสมอโดยเฉพาะพื้นที่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ให้ผลผลิตต่อไร่เพียง 350 กิโลกรัม

                                    (3)สนับสนุนการทํานาแปลงรวมเชิงอุตสาหกรรมครบวงจร
                                      สนับสนุนให้ชาวนารวมกลุ่มทํานาแบบแปลงรวม หรือแปลงขนาดใหญ่ โดยมี

                      การคัดเลือกพื้นที่และกลุ่มชาวนาที่เหมาะสมและมีศักยภาพมีการรวมแปลงนาและปรับปรุงพื้นที่นาที่
                      อยู่ติดต่อกันให้เป็นพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่ ทําให้สามารถใช้เครื่องจักรกลการเกษตร (Mechanization)ได้

                      สะดวก สามารถจัดการผลิตข้าวได้ตั้งแต่การปลูกข้าว การดูแลรักษา จนถึงการเก็บเกี่ยว รวมทั้งมีการ

                      จัดการแรงงานได้อย่างเป็นระบบมากขึ้นส่งผลให้การผลิตมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิต
                      ลดลง ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ตลอดจนมีการกําหนดรูปแบบการเชื่อมโยงการผลิต การแปรรูป และ
                      การตลาดอย่างเป็นระบบในเชิงอุตสาหกรรมแบบครบวงจรเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในการ

                      เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และตลาดโลก

                                      การรวมกลุ่มทํานาแบบแปลงรวมต้องให้ชาวนาเห็นถึงประโยชน์ ผลตอบแทน ที่มากกว่า
                      การทํานาแบบเดิม โดยไม่มีการบังคับการรวมกลุ่ม การสนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตร เมล็ดพันธุ์ข้าว

                      ค่าปรับปรุงแปลงนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
                                    (4)ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร

                                      ส่งเสริมสนับสนุนให้ชาวนา กลุ่มชาวนา ผู้ประกอบการรับจ้างทํานา สามารถจัดหา
                      จัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในการทํานาได้ในราคาตํ่าหรือการให้สินเชื่อปลอดดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยราคา

                      ถูกรวมทั้งสนับสนุนการให้มีการจัดตั้งศูนย์เครื่องจักรกลการเกษตรในชุมชน เพื่อให้บริการชาวนาใน
                      ชุมชน
   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201